ออสเตรเลียเสนอร่าง ก.ม. ห้ามเด็กใช้โซเชียล

รัฐบาลออสเตรเลียได้เสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาในวันนี้ ที่มีเป้าหมายในการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย0

ชนเผ่าเมารีประท้วงหน้ารัฐสภานิวซีแลนด์

กลุ่มชนเผ่าเมารีและผู้สนับสนุนสิทธิของชนพื้นเมืองได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงไปยังด้านหน้าของอาคารรัฐสภาในกรุงเวลลิงตันเพื่อประท้วงต่อต้านร่างกฎหมาย

“พ.ต.อ.ทวี” ชี้ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย ปัด “ทักษิณโมเดล”

“พ.ต.อ.ทวี” รมว.ยุติธรรม ชี้ “ยิ่งลักษณ์” กลับไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เริ่มที่ศาลออกหมาย ก่อนขอพระราชทานอภัยโทษ ยันไร้ “ทักษิณโมเดล”

person uses social media

ออสเตรเลียจะห้ามเด็กใช้โซเชียลมีเดีย

แคนเบอร์รา 7 พ.ย.- ออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีเข้าถึงการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีของออสเตรเลียแถลงวันนี้ว่า รัฐบาลจะออกกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบตรวจสอบอายุผู้ใช้งานเพื่อเป็นตัวช่วยในการปิดกั้นเด็กจากการเข้าถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย คาดว่ากฎหมายนี้น่าจะมีผลบังคับใช้ได้เร็วที่สุดในราวปลายปีหน้า ผู้นำออสเตรเลียให้เหตุผลว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียกำลังส่งผลร้ายต่อเด็ก ๆ  โดยอ้างว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียที่มากเกินไปในเด็กมีความเสี่ยงทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยเฉพาะความเสี่ยงในเด็กผู้หญิงที่อาจถูกล่อลวงให้เปิดเผยภาพของร่างกายที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้เด็กๆ ยังอาจเจอปัญหาการถูกบุลลี่จากโซเชียลมีเดียอีกด้วย รัฐบาลออสเตรเลียจะนำเสนอร่างกฎหมายนี้ต่อรัฐสภาในปีนี้ ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบก็จะมีผลบังคับใช้ในอีก 12 เดือนหลังจากรัฐสภาให้สัตยาบันรับรองแล้ว คาดว่าการออกหมายนี้น่าจะผ่านสภาได้ไม่ยาก เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านก็ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน ขณะนี้มีหลายประเทศที่มีกฎหมายควบคุมการใช้งานโซเชียลมีเดียของเด็ก แต่ออสเตรเลียนั้นถือว่ามีความเข้มงวดมากเพราะจะไม่มีข้อยกเว้นการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของเด็ก แม้ว่าเด็กจะได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครองก็ตาม โดยเมื่อปีที่แล้วฝรั่งเศสได้เสนอให้ห้ามเด็กต่ำกว่า 15 ปีใช้โซเชียลมีเดีย แต่มีข้อยกเว้นให้ใช้ได้ถ้าพ่อแม่อนุญาต ขณะที่สหรัฐใช้เวลานับสิบปีเรียกร้องให้บริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มต่าง ๆ จัดหาเทคโนโลยีปิดกั้นการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปีหากไม่ได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ ทำให้แพลตฟอร์มส่วนใหญ่ต้องปิดกั้นการเข้าถึงบริการของเด็กที่อายุน้อยกว่า 13 ปี.-816(814).-สำนักข่าวไทย  

“ภูมิธรรม” ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจคดีตากใบ

“ภูมิธรรม” เผย ให้ฝ่ายกฎหมายศึกษา พ.ร.ก. แก้ไขอายุความ หลังคดีตากใบจะหมดอายุความ ชี้ เป็นเรื่องเก่า 20 ปีมาแล้ว ยัน รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ มีการเยียวยา ลั่น เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐไทย อย่าเอามาเคลื่อนไหวทางการเมือง

“สนธิญา​” ยื่น ปธ.รัฐสภา​ ค้านรับร่างแก้ รธน. ปมจริยธรรม​

“สนธิญา​” ยื่นประธานรัฐสภา​ ค้านรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ​ ปมจริยธรรม​ของพรรคเพื่อไทย-ประชาชน​ ชี้ละเมิดสิทธิ์ประชาชนที่เห็นชอบกว่า 16 ล้านคน อีกทั้ง 2 พรรค มีปัญหาเรื่องจริยธรรมมากที่สุด หวั่น หากรับแก้แตกแยกแน่

“เอ็กซ์” แต่งตั้งตัวแทนทางกฎหมายในบราซิล

แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ “เอ็กซ์” ของอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของเทสลาและสเปซ เอ็กซ์ ได้แต่งตั้งตัวแทนทางกฎหมายในประเทศบราซิลแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อเรียกร้องของศาลสูงสุดของบราซิล

“ชูศักดิ์” คาดได้ดูเรื่องกฎหมาย ยันนายกฯ ไม่สุ่มเสี่ยง

“ชูศักดิ์” ว่าที่ รมต.ประจำสำนักนายกฯ เผยยังไม่คุยมอบหมายงาน คาดได้ดูเรื่องกฎหมาย ยันนายกฯ ไม่มีอะไรสุ่มเสี่ยงเรื่องจริยธรรม เตรียมแก้ประเด็นด้านกฎหมายไว้หมดแล้ว

ออสเตรเลียห้ามติดต่อ พนง.นอกเวลางาน

ซิดนีย์ 27 ส.ค.- ออสเตรเลียเริ่มบังคับใช้กฎหมายสิทธิตัดขาดการติดต่อสื่อสาร เปิดทางให้พนักงานและลูกจ้างไม่ต้องตอบข้อความหรือรับโทรศัพท์จากหัวหน้าในช่วงนอกเวลาทำงาน กฎหมายนี้มีชื่อว่า “สิทธิการตัดขาดการติดต่อสื่อสาร” (Right to Disconnect) ที่เริ่มใช้ในออสเตรเลียอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม เปิดทางให้พนักงานและลูกจ้างสามารถปฏิเสธการตอบข้อความ ตอบอีเมล หรือรับโทรศัพท์ จากหัวหน้าหรือนายจ้าง ที่ส่งมานอกเวลาทำงาน โดยไม่ถูกลงโทษหรือตัดเงินเดือน เพื่อแก้ปัญหาการทำงานรุกล้ำเข้ามาในเวลาส่วนตัวมากขึ้น ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ เพราะทุกคนต้องการเวลาส่วนตัวหลังเลิกงานเพื่อพักผ่อน ใช้เวลากับครอบครัว หรือได้ทำสิ่งที่ตัวเองชอบอย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยพะวงว่า จะต้องตอบข้อความเรื่องงานตลอดเวลา ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกเครียดสะสม จนอาจเกิดอาการหมดไฟ (burn out) และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ผลสำรวจในออสเตรเลียที่จัดทำในปีนี้ พบว่าพนักงาน 1 คน ทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้ค่าตอบแทน เฉลี่ยคนละ 281 ชั่วโมง คิดเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ 130,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 3 ล้านล้านบาท) รัฐบาลออสเตรเลียจึงตัดสินใจผ่านกฎหมายนี้ และเริ่มบังคับใช้แล้ว ขณะที่ปัจจุบัน มีหลายสิบประเทศทั่วโลกที่ใช้กฎหมายนี้เพื่อปกป้องสิทธิของพนักงาน ส่วนมากเป็นประเทศในยุโรปและอเมริกาใต้.-815(814).-สำนักข่าวไทย

“อนุทิน” เห็นด้วยแก้กฎหมายยุบพรรคการเมือง

“อนุทิน” งง! งูเห่าหนังเลี่ยมทอง ราคา 20-30 ล้านบาท มองการเมืองจากนี้จะเย็นลง เห็นด้วยแก้กฎหมายยุบพรรคการเมือง ควรเชือดรายบุคคล ขออย่ามองจองตำแหน่งรองประธานสภาฯ ยึดตามกติกามารยาท ยันยังไม่มีใครในใจส่งชิง

ญี่ปุ่นเตือนชาวต่างชาติเรื่องกระเป๋าเดินทางไฟฟ้า

โตเกียว 28 ก.ค.- ความนิยมใช้กระเป๋าเดินทางไฟฟ้าที่ผู้ใช้สามารถนั่งบนกระเป๋าสัมภาระติดเครื่องยนต์ ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่ทางการญี่ปุ่น หลังจากเกิดกรณีนักเดินทางต่างชาตินำมาใช้ตามถนนสาธารณะอย่างผิดกฎหมาย ปัจจุบันญี่ปุ่นจัดประเภทกระเป๋าเดินทางไฟฟ้าเป็นจักรยานติดเครื่องยนต์ ซึ่งครอบคลุมถึงจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ไม่เกิน 50 ซีซี สามารถใช้งานบนถนนได้ต่อเมื่อผู้ใช้มีใบอนุญาต มีการจดทะเบียนกระเป๋า และมีอุปกรณ์ความปลอดภัย คือ กระจกมองหลัง สัญญาณไฟเลี้ยว หมวกนิรภัย และประกันภัย ท่าอากาศยานหลัก 2 แห่งในญี่ปุ่น คือ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะใกล้กรุงโตเกียวกับท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซนแทร์ จังหวัดไอจิ ได้ขอให้ผู้เดินทางงดการขับกระเป๋าเดินทางไฟฟ้าในบริเวณท่าอากาศยาน ขณะที่ตำรวจขอให้ร้านค้าปลีกเตือนลูกค้าให้ปฏิบัติตามกฎหมายการใช้งานที่เคร่งครัด เนื่องจากชาวต่างชาติอาจไม่คุ้นเคยกับกฎหมายนี้ สตรีจีนเป็นบุคคลแรกที่ถูกทางการญี่ปุ่นฟ้องร้องดำเนินคดีในเรื่องนี้เมื่อเดือนมิถุนายน ข้อหาขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาต หลังจากมีผู้พบเห็นเธอขับกระเป๋าเดินทางไฟฟ้า 3 ล้อบนทางเดินเท้าในนครโอซากา และเมื่อเดือนต้นนี้มีผู้พบเห็นเด็กชายชาวอินโดนีเซียขับกระเป๋าเดินทางไฟฟ้าฝ่าฝูงชนที่หนาแน่นบนทางเดินเท้าในนครโอซากา บิดามารดาของเด็กตกใจเมื่อมีผู้แจ้งว่า เป็นเรื่องผิดกฎหมายในญี่ปุ่น เพราะที่อินโดนีเซียสามารถขับกระเป๋าเดินทางไฟฟ้าไปได้ทุกแห่ง กระเป๋าเดินทางไฟฟ้ามีแบตเตอรีในตัวและมีเครื่องยนต์ สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ราคาจำหน่ายในญี่ปุ่นตกคันละ 100,000 เยน (ราว 23,430บาท).-814.-สำนักข่าวไทย

“พัชรินทร์” ขอบคุณสภาฯ รับหลักการแก้นิยาม “กระทำชำเรา”

“พัชรินทร์” มือทำคลอดกฎหมายฉีดไข่ฝ่อ ขอบคุณสภาฯ รับหลักการ แก้นิยาม “กระทำชำเรา” เพิ่มบทลงโทษการคุกคามทางเพศ สะท้อนพรรคภูมิใจไทยจริงใจกับประชาชนทุกกลุ่ม ฉีดวัคซีนป้องกันอาชญากรรมทางเพศ

1 2 3 28
...