ชัวร์ก่อนแชร์: ถ้าทุกคนเป็นมังสวิรัติ โรคระบาดจากสัตว์จะหมดไปจากโลก จริงหรือ?

29 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เชื้อโรคจากสัตว์สู่คนก่อให้เกิดโรคระบาดถึง 60.3% แต่มีโรคระบาดอีกหลายชนิดที่ไม่มีสัตว์เป็นพาหะ การติดเชื้อจากสัตว์สู่คนไม่ได้มาจากการบริโภคเนื้อสัตว์เท่านั้น การสัมผัสสัตว์ป่วยหรือถูกแมลงกัดก็ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นความเข้าใจผิดที่เผยแพร่ทาง Facebook ของ Moby ศิลปินแนวอิเล็กทรอนิก มิวสิคและนักเรียกร้องสิทธิสัตว์ชาวอเมริกัน โดยอ้างว่า ถ้าคนทั่วโลกหันมาเป็นมังสวิรัติ โรคระบาดจะหมดไปจากโลก เพราะโรคระบาดทั้งหมดมาจากการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ว่าสาเหตุของโรคระบาดส่วนใหญ่จะมาจากเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน (60.3%) เช่นเดียวกับการอุบัติของโควิด 19 แต่ยังมีโรคระบาดอีกหลายชนิดที่ไม่ได้มีสัตว์เป็นพาหะ อหิวาตกโรค ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำปนเปื้อนแบคทีเรีย และนำไปสู่การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้งระหว่างปี 1817 ถึงปัจจุบัน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าเชื้ออหิวาตกโรคไม่ได้มาจากสัตว์ การกินเนื้อสัตว์ไม่ใช่ช่องทางเดียวที่นำไปสู่การติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน (zoonotic disease) โอกาสติดเชื้อยังรวมถึงการใกล้ชิดกับสัตว์ป่วยหรือการถูกแมลงกัดต่อย ไวรัสเฮนดรา ซึ่งก่อให้เกิดอาการทางระบบหายใจและสมองอักเสบ มีต้นเหตุการระบาดจากไวรัสที่อยู่ในตัวค้างคาวกินผลไม้ ที่มีสถานะเป็นสัตว์รังโรค […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การทดลองวัคซีนโควิด 19 ในสัตว์ล้มเหลวและเสียชีวิตทุกตัว จริงหรือ?

28 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นรายงานการทดลองวัคซีนโรคซาร์สในสัตว์เมื่อปี 2012 ไม่ใช่วัคซีนโควิด 19 การทดลองวัคซีนโควิด 19 ในสัตว์ทดลองและมนุษย์ประสบความสำเร็จด้วยดี ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทาง Facebook ในประเทศอินโดนีเซียว่า การทดลองวัคซีนโควิด 19 ในสัตว์ประสบความล้มเหลว และสัตว์ทดลองเสียชีวิตกันหมด โดยมีผู้นำข้อความไปแชร์อีกเกือบ 3 ร้อยครั้ง โดยข้อความระบุว่า สัตว์ทดลองวัคซีนทุกตัวเสียชีวิต แต่ไม่ใช่การตายโดยฉับพลัน หลายตัวเสียชีวิตในอีกหลายเดือนต่อมาด้วยอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง, การติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย และภาวะหัวใจล้มเหลว การทดลองวัคซีนไวรัสโคโรนาในสัตว์ทดลองประสบความล้มเหลว นอกจากนี้วัคซีนยังทำให้สัตว์ทดลองเกิดอาการตับอักเสบอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Tempo พบว่าข้อความดังกล่าว นำมาจากผลวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2012 เกี่ยวกับผลการทดลองวัคซีนโรคซาร์สในสัตว์ ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลองวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด ดรูว์ ไวส์แมน ศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย University […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ใกล้ชิดคนฉีดวัคซีนโควิด ประจำเดือนจะไม่ปกติและเป็นหมัน จริงหรือ?

26 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนชนิด mRNA หรือชนิดไวรัสเวคเตอร์ไม่มีผลต่อการเกิดประจำเดือนไม่ปกติหรือความเสี่ยงต่อการเป็นหมันในสตรี อาการข้างเคียงของผู้ฉีดวัคซีนไม่สามารถส่งผ่านไปยังคนที่อยู่ใกล้ชิดได้เช่นกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่แชร์ผ่านทาง Facebook และ Instagram เมื่อวันที่ 15 เมษายนก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาอ้างว่าหญิงสาวที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์หลายคนที่รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนฉีดวัคซีน ต่างประสบปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ, ประจำเดือนมาช้า, ปัญหาระดูยาว, เกิดอาการตกเลือด, เกิดลิ่มเลือดในประจำเดือน, เกิดภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู, แท้งบุตร, ตั้งครรภ์นอกมดลูก, และอาการปวดประจำเดือนรุนแรง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนมีผลต่อประจำเดือนหรือความเป็นหมันในสตรี ยิ่งไปกว่านั้น อาการข้างเคียงของผู้ฉีดวัคซีนไม่สามารถส่งผ่านไปยังคนที่อยู่ใกล้ชิดได้เช่นกัน ดร.เจนนิเฟอร์ กันเทอร์ นรีแพทย์เจ้าของบทความเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนและอนามัยเจริญพันธุ์ในสตรี กล่าวว่าวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA หรือชนิดไวรัสเวคเตอร์ที่ใช้ในสหรัฐฯ ก็ไม่ส่งผลต่อการเกิดประจำเดือน, การเป็นหมัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามมีเพศสัมพันธ์กับผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

25 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: CDC ไม่มีข้อเสนอแนะหรือข้อห้ามเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ได้รับวัคซีนโควิด 19 การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 มากไปกว่ากิจกรรมอื่นๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จในประเทศจอร์เจียว่า ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพราะจะเป็นอันตรายต่อคนใกล้ชิดที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) มีการระบุข้อแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมที่ควรทำและไม่ควรทำสำหรับผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ไม่มีข้อไหนที่กล่าวถึงการมีเพศสัมพันธ์ แอน หลิว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ โรงพยาบาล Stanford Health Care เคยให้ทัศนะกับเว็บไซต์ Vice ว่า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ผ่านการฉีดวัคซีนมาแล้วทั้งคู่ โอกาสจะเกิดการติดเชื้อโควิด 19 เป็นไปได้น้อย แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วไปมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนและเป็นคนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในชายคาเดียวกัน โอกาสการติดเชื้อโควิด 19 ยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ดี แอน หลิว ย้ำว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 […]

1 2 3 4 8
...