
ศาลแพ่งฯ ให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มคดี “ปลาหมอคางดำ” ยังไม่ชี้ขาดความผิด
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ในกรณีที่กลุ่มเกษตรกรยื่นฟ้อง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ แต่ยังไม่ชี้ขาดความผิด
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ในกรณีที่กลุ่มเกษตรกรยื่นฟ้อง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ แต่ยังไม่ชี้ขาดความผิด
สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรตำบลน้ำเค็ม อำเภอเขาย้อย จัดตั้ง “กองทุนปลากะพง” เพิ่มปลานักล่าเพื่อจัดการปลาหมอคางดำ
อธิบดีกรมประมง เผยนักวิจัยของกรมประมงวิจัยเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำเพื่อให้ได้ลูกปลาหมอคางดำเพศผู้ที่มีพันธุกรรมหมัน ปล่อยทดสอบครั้งแรกให้เข้าผสมกับปลาหมอคางดำเพศเมียที่มีโครโมโซม 2n ในหน่วยทดลองเพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีชุดโครโมโซม 3n จากนั้นจะเพิ่มจำนวนปลาหมอคางดำโครโมโซม 4n สำหรับปล่อยในธรรมชาติต่อไป
กระทรวงเกษตรฯ หนุน กยท.ใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้ศึกโรคใบร่วงในยางพารา ตั้งเป้าฟื้นฟูสวนยางควบคู่การลดปริมาณปลาหมอคางดำ
กรมประมงขยายระยะเวลาการผ่อนผันให้ใช้อวนรุนกำจัดปลาหมอคางดำ จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เป็นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2568 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ บรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
ตัวแทนประชาชน 19 จังหวัดเรียกร้องรัฐบาลกำจัดปลาหมอคางดำให้เป็นศูนย์ ตั้งคณะกรรมการกลางสอบสวน ฟ้องเรียกค่าเสียหาย และเร่งประกาศเขตภัยพิบัติ เยียวยาผู้เสียหาย
อธิบดีกรมประมง เผยเตรียมขอกลางเพื่อนำมาแก้ไขปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ต่อเนื่อง ยืนยันสถานการณ์การระบาดลดระดับเป็นสีเหลืองและเขียว ไม่วิกฤตเหมือนก่อนแล้ว แต่จะขอใช้งบประมาณในการกำจัดในระยะต่อไป หลังจากที่การแพร่ระบาดเบาบางลง
เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา ‘ปลาหมอคางดำ’ ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้านกิโลกรัม หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม ‘ชุดโครโมโซม 4N’ ทำหมันปลา
“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ” เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 10 ต.ค.- “อนุทิน” นำประชุม บกปภ.ช. หาข้อสรุปมอบอำนาจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำคำให้การแก้คำฟ้องเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ เพื่อยื่นต่อศาลฯ ตามกรอบเวลาที่กำหนด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่มาจากปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางคำ ที่สร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในวันนี้จะเป็นการหาข้อสรุปเรื่องการมอบอำนาจให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถทำคำให้การแก้คำฟ้องยื่นต่อศาลได้ทันภายในเวลาที่กำหนด ตามที่ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งเรียกให้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ทำคำให้การแก้คำฟ้องในคดีปกครอง หมายเลขคดีที่ ส.14/2567 ที่ฟ้องคดีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และจะต้องจัดทำคำให้การแก้คำฟ้องต่อศาลปกครองกลางภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันได้รับคำสั่ง (วันที่ 23 กันยายน 2567) ส่วนในเรื่องของความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ต้องไปสอบถามความคืบหน้าจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มีบทบาทหน้าที่หลักในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติตามชื่อ ซึ่งเรื่องการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ มีจุดกำเนิดมาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งถือว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตการรับผิดชอบของ ปภ..-317 -สำนักข่าวไทย
รัฐสภา 25 ก.ย.- อนุ กมธ.ศึกษา การแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ สรุปผลการศึกษา พบ บ.เอกชนนำเข้าเพียง 1 ราย ขณะกรมประมงชี้การแพร่ระบาด คาดสาเหตุจากการเคลื่อนย้าย พร้อมแนะเร่งฟื้นฟูเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาด ย้ำ พอใจผลการศึกษาในระดับหนึ่ง ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ แต่มีอำนาจตัดสินถูกผิด เตรียมตรวจการบ้านอย่างต่อเนื่อง แม้อนุ กมธ.หมดหน้าที่ นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย พร้อมคณะ แถลงสรุปผลโดยไล่เลียงผลการศึกษา ตั้งแต่การนำเข้าปลาหมอคางดำมาในประเทศไทย ซึ่งพบว่า มีเอกชนเพียงรายเดียวที่ดำเนินการขออนุญาตเพื่อนำเข้าปลาหมอคางดำ เข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2549 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการขออนุญาตเพื่อนำเข้ามากับกรมประมง ซึ่งกรมประมงได้มอบหมายให้คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือไอบีซี เป็นผู้พิจารณา จากนั้น ปี 2553 บริษัทขออนุญาตกรมประมงอีกครั้ง และได้อนุญาตนำเข้าประหมอคางดำ 2,000 ตัว จากสาธารณะรัฐกานา โดยแจ้งว่ามีเป้าประสงค์เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล ที่ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และได้ทำข้อตกลงกับไอบีซี […]
บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ย้ำได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วไม่ใช่สาเหตุการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ไม่กังวลกรณีการร้องค่าเสียหาย