ระดมแก้โรคใบร่วงในยางพารา หนุนทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำใช้ฟื้นฟูสวน

หนองบัวลำภู 29 ม.ค. – กระทรวงเกษตรฯ หนุน กยท.ใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ สู้ศึกโรคใบร่วงในยางพารา ตั้งเป้าฟื้นฟูสวนยางควบคู่การลดปริมาณปลาหมอคางดำ


ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อฟื้นฟูสวนยางพาราที่เป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense (ใบร่วงชนิดใหม่) ประจำปี 2568 โดยมีคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิทยากร และเกษตรกรชาวสวนยางพารา เข้าร่วมอบรม

ทั้งนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้จัดทำโครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อฟื้นฟูสวนยางพาราที่เป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense (ใบร่วงชนิดใหม่) ประจำปี 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ในการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยฟื้นฟูต้นยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงชนิดใหม่


ทัังนี้ โครงการอบรมดังกล่าวยังการเป็นสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถสำรวจต้นยางและประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคระบาดในสวนยางพาราของตนเองได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนยาง โดยเฉพาะโรคใบร่วงชนิดใหม่ ปัจจุบันเรียกว่า โรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กยท. ได้ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้ดำเนินการศึกษาและทบทวนแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว รวมถึงดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยาง อาทิ การสนับสนุนปัจจัยการผลิต และพันธุ์ยางต้านทานโรคให้แก่เกษตรกร โดยการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกรชาวสวนยางพาราแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรภาคประมง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำด้วย

สำหรับโรคใบร่วงชนิดใหม่ยางพารา มีการแพร่ระบาดครั้งแรกในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญโดยเฝ้าติดตามสถานการณ์และกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมและจัดการโรคมาอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ กยท. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และกำจัดโรค พร้อมให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยางมาโดยตลอด มีการทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเชื้อรา การสนับสนุนเครื่องพ่น ค่าแรงในการพ่น และปุ๋ย รวมถึงพัฒนาพันธุ์ยางต้านทานโรคใบร่วงชนิดใหม่ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่โรคระบาดรุนแรง การสร้างการรับรู้ เฝ้าระวังและเตือนภัย รวมถึงมาตรการที่ช่วยในการยับยั้งเชื้อ ด้วยการใช้สารเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชีวภัณฑ์หรือสารอื่นๆ เพื่อป้องกัน กำจัด และควบคุมโรค ปรับปรุงสภาพดิน สร้างความแข็งแรงให้ต้นยาง ตลอดจนการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทั้งกรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน และ กยท. ในการรวบรวมปลาหมอคางดำมาเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพมาตรฐาน พด. ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยฟื้นฟูสวนยาง

นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า กยท.ตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนยาง โดยเฉพาะโรคใบร่วงชนิดใหม่ ปัจจุบันเรียกว่า โรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบใน จ.หนองคาย จ.อุดรธานี จ.บึงกาฬ และ จ.เลย เป็นพื้นที่รวม 3,215 ไร่ ดังนั้น การส่งเสริมความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับชาวสวนยางในพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่ กยท. ให้ความสำคัญ การจัดโครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ เพื่อฟื้นฟูสวนยางพาราที่เป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อ Colletotrichum siamense (ใบร่วงชนิดใหม่) ประจำปี 2568 เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ในการนำเอาน้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยฟื้นฟูต้นยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงชนิดใหม่ และหวังว่าความรู้ที่เกษตรกรฯ ได้ความรู้จากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญในครั้งนี้ จะช่วยให้เกษตรกรฯ สามารถสำรวจต้นยางในสวนยางที่อาจจะเกิดโรค พร้อมสามารถรับมือและจัดการกับโรคใบร่วงในสวนยางของตนเองได้ นอกจากนี้ กยท. ยังมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแนวทางบริหารจัดการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในระยะยาว โดยพนักงานของ กยท. ที่ปฏิบัติงานทั้ง 7 เขตทั่วประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับชาวสวนยาง จะสามารถส่งต่อข้อมูลความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ และพร้อมเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำเพื่อนำไปรับมือกับโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราต่อไป. -512 – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จับมือปืน

ล้อมจับมือปืนอันดับ 1 ประวัติร้ายกาจที่สุดในพื้นที่ภาค 9

ตำรวจล้อมจับมือปืนอันดับ 1 มีประวัติร้ายกาจที่สุดในพื้นที่ภาค 9 มีหมายจับติดตัว 9 หมาย ทั้งคดีฆ่า รับจ้างทวงหนี้ ยิงบ้าน และค้ายาเสพติด

สู้งูจงอาง

สาวใจเด็ด! สู้งูจงอางด้วยมือเปล่าจนรอดตาย

สาวใจเด็ด! เข้าไปหาเห็ดเจองูจงอาง ถูกฉกเป็นแผลเหวอะ ตัดสินใจฮึดสู้ด้วยมือเปล่า เตะก้านคองูแล้วกระทืบซ้ำ ก่อนจับกดพื้นลากไปหาหมอพร้อมกัน ล่าสุดอาการดีขึ้นแล้ว

บริจาคอวัยวะ

หนุ่มวัย 26 ปี บริจาคอวัยวะช่วยต่ออายุ 9 ชีวิต

ชื่นชมหนุ่มพนักงานช่วยเหลือคนไข้ รพ.ภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ บริจาคอวัยวะ แม้ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อายุเพียง 26 ปี แต่อวัยวะสามารถต่อชีวิตให้กับผู้อื่นได้อีก 9 ชีวิต

ข่าวแนะนำ

เปิดแรงจูงใจไรเดอร์โหดทวงหนี้ ยิงสาวใหญ่ดับ

เมื่อเช้าที่ผ่านมามีเหตุระทึกขวัญ เจ้าหนี้บุกยิงลูกหนี้ใน อ.เมืองนครปฐม จนเสียชีวิต แล้วหนีไปกบดานในห้องเช่าพื้นที่ อ.สามพราน โดยมีตัวประกันถูกขังไว้ภายในห้องด้วย อะไรคือแรงจูงใจในการก่อเหตุครั้งนี้ ติดตามจากรายงาน

เร่งหาสาเหตุไฟไหม้สปา “ดาราเทวี”

เจ้าหน้าที่ยังเร่งหาสาเหตุไฟไหม้เทวาสปา โรงแรมดาราเทวี หลังเจอจุดต้นเพลิง ด้านเจ้าของเผยไม่ได้ทำประกันอัคคีภัย เป็นไปไม่ได้ที่จะเผาเอาเงินประกัน

ตำรวจคุมตัวทำแผนโจรบุกร้านทอง บอกผิดเองขอ 5 บาท

“โจร 5 บาท” ถูกจับหลังบุกร้านทอง ยอมรับตกใจกลัวหลังเจอเจ้าของร้านตวาดใส่ให้วางปืนตอนบุกชิงทอง พร้อมโทษตัวเองไม่บอกให้ชัด หวังทอง 5 บาท แต่ได้เงิน 5 บาท

ลูกพีช

ผบ.ตร. ย้ำภาพชัด “ลูกพีช” ขับปาดหน้ากระบะ แทบไม่ต้องสอบเพิ่ม

ผบ.ตร. ย้ำชัด “ลูกพีช” ขับปาดหน้ากระบะ อ้างเป็นญาติ ย้ำพฤติกรรมไม่เหมาะสม ชี้ภาพชัดเจน แทบไม่ต้องสอบเพิ่ม