ห่วงการจับ “ฉลามหนาม-ปลานกแก้ว” ทำลายสมดุลระบบนิเวศ

กรุงเทพฯ 18 พ.ค. – “กรมทะเลและชายฝั่ง” สั่งตรวจสอบการโพสต์ขายปลาฉลามหนาม-ปลานกแก้ว วอนหยุดสนับสนุน ซื้อ-ขาย เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยถึงข่าวการซื้อขายปลาฉลามหนาม Echinorhinus brucus ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “แพปลาลุงนิล ภูเก็ต” ที่ทำให้นักอนุรักษ์แสดงความเป็นห่วงสัตว์ทะเลหายากซึ่งถูกจับมาบริโภรค แทนที่จะอวดความสวยงามอยู่ในท้องทะเล จึงมอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อมูล พบว่า ชาวประมงจับปลาฉลามหนามในเขตทะเลที่ห่างฝั่งไป 40 ไมล์ทะเล จึงไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งเชิงพื้นที่และชนิดพันธุ์ แต่แนะนำว่า ไม่ควรบริโภคปลาฉลามหนามเพื่ออนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ใกล้สูญพันธุ์ และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ สำหรับ “ปลาฉลามหนาม” จะหากินบริเวณพื้นทะเลน้ำลึก 400-900 เมตร แต่อาจพบเข้ามาหากินบริเวณน้ำตื้นเป็นครั้งคราว พบแพร่กระจายทั่วโลกในเขตร้อนถึงเขตอบอุ่น บริเวณลำตัวมีสีม่วงน้ำตาลหรือดำ ขนาดโตเต็มวัยยาว 3.1 เมตร ในระดับโลกพบประชากรปลาฉลามชนิดนี้ มีจำนวนลดลงจนใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งจึงจัดเป็นสัตว์ทะเลหายากที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เป็นนักล่าสัตว์น้ำในอันดับต้นๆ จะกินสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กซึ่ง ทำให้เกิดความสมดุลของความหลากหลายในระบบนิเวศในบริเวณนั้นๆ การมีอยู่ของฉลามจึงเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในบริเวณนั้น อย่างไรก็ดี กรมฯ พร้อมจะร่วมมือกับกรมประมงในการหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์ปลาฉลามหนาม […]

...