อนามัยโลกรับกังวลโควิดระบาดในจีนอย่างมาก

เจนีวา 22 ธ.ค. – ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า เขารู้สึกวิตกกังวลอย่างมากต่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีนที่พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดร. ทีโดรส กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ว่า เขารู้สึกวิตกกังวลอย่างมากต่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิดในจีน และองค์การอนามัยโลกก็รู้สึกเช่นเดียวกันต่อการระบาดของโรคโควิดที่รุนแรงขึ้นในจีน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการจีนเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตัวเลขผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล และผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต ขณะที่ นพ. ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า จีนรายงานตัวเลขผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยเกินจริง ทั้งที่มีผู้ป่วยรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีนรายงานวันนี้ว่า จีนพบผู้ป่วยโควิดรายใหม่ 3,030 คนเมื่อวันพุธ ลดลงจากวันอังคารที่มี 3,101 คน และไม่พบผู้เสียชีวิตรายใหม่จากโรคโควิด ทั้งยังระบุว่า มีผู้ป่วยโควิดอาการรุนแรงเพียง 45 คนทั่วประเทศ ลดลงจากวันอังคารที่มี 53 คน ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์สตั้งข้อสังเกตว่า ทางการจีนอาจรายงานยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดและผู้ป่วยอาการหนักน้อยเกินจริงนับตั้งแต่จีนยกเลิกมาตรการตรวจหาเชื้อโควิดในประชาชนทั่วประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า จีนมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 10.11 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 31,400 คน.-สำนักข่าวไทย  

อนามัยโลกเผยยอดผู้ป่วยฝีดาษลิงทั่วโลกลดลง 21%

เจนีวา 26 ส.ค. – องค์การอนามัยโลก เผยทั่วโลกมียอดผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง ลดลงร้อยละ 21 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ว่าการระบาดของโรคดังกล่าวในทวีปยุโรปอาจเริ่มมีแนวโน้มลดลง หลังพบการระบาดเพิ่มขึ้นติดต่อกันนานนับเดือน องค์การอนามัยโลก ระบุในรายงานอัปเดตสถานการณ์ระบาดของโรคฝีดาษลิงประจำสัปดาห์ เมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเพิ่มขึ้น 5,907 คน ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา และมี 2 ประเทศที่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรก ได้แก่ อิหร่าน และอินโดนีเซีย ขณะนี้ทั่วโลกมียอดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงกว่า 45,000 คน ใน 98 ประเทศ นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน ทั้งยังระบุว่าสหรัฐพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงสูงสุดร้อยละ 60 จากยอดผู้ป่วยทั้งหมดในรอบเดือนที่ผ่านมา และทวีปยุโรปพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงร้อยละ 38 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายอดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในสหรัฐยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ร้อยละ 98 ของผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นผู้ชาย และร้อยละ 96 เป็นผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ในขณะเดียวกัน ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุในงานแถลงข่าวประจำสัปดาห์ว่า แม้มีข้อบ่งชี้ว่าการระบาดของโรคฝีดาษลิงในทวีปยุโรป ซึ่งเคยพบผู้ป่วยฝีดาษลิงมากถึงร้อยละ 90 ของยอดผู้ป่วยทั้งหมด […]

อนามัยโลกห่วงโควิดระบาดหนักในเกาหลีเหนือ

เจนีวา 18 พ.ค. – องค์การอนามัยโลกแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ในเกาหลีเหนือที่อาจทำให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดตกอยู่ในความเสี่ยง และพร้อมให้ความช่วยเหลือเกาหลีเหนือ รวมถึงวัคซีนโควิด ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เผยเมื่อวันอังคารตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า องค์การอนามัยโลกรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิดในเกาหลีเหนือเป็นพิเศษ เพราะชาวเกาหลีเหนือยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงต่ออาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตหลังติดเชื้อโควิด องค์การอนามัยโลกขอให้เกาหลีเหนือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดในครั้งนี้โดยเร็วที่สุด ทั้งยังระบุว่า องค์การอนามัยโลกพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่เกาหลีเหนือในด้านต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนด้านเทคนิคและเวชภัณฑ์ ชุดตรวจหาเชื้อโควิด ยารักษาโรค และวัคซีนโควิด เพื่อควบคุมการระบาดในครั้งนี้ ในขณะเดียวกัน นพ. ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ที่ไม่เคยพบการระบาดมาก่อน องค์การอนามัยโลกจึงรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากมีหลายประเทศยังไม่ยอมรับการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ด้าน พญ. มาเรีย แวน เคอร์โคฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า แนวคิดที่ว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ผู้ป่วยโควิดมีอาการป่วยเล็กน้อยเป็นความเชื่อที่ผิดและเป็นอันตราย เพราะจะทำให้ประชาชนการ์ดตก ทั้งยังระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังคงทำให้ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมีอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว จนถึงขณะนี้เกาหลีเหนือยังคงไม่แสดงท่าทีตอบรับความช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก สำนักข่าวกลางเกาหลี หรือเคซีเอ็นเอ ของทางการเกาหลีเหนือ รายงานว่า เกาหลีเหนือพบผู้ป่วยมีไข้เกือบ 1.5 […]

อนามัยโลกชี้ยุทธศาสตร์โควิดเป็นศูนย์ของจีนไม่ยั่งยืน

เจนีวา 11 พ.ค. – ดร. ทีโดส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ยุทธศาสตร์ทำให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์ของจีนไม่ยั่งยืน เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการระบาดของเชื้อโควิดในอนาคต ดร. ทีโดรส กล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันอังคารตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า องค์การอนามัยโลกมองว่ายุทธศาสตร์ทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ไม่ยั่งยืน เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการระบาดของเชื้อโควิดในอนาคต องค์การอนามัยโลกได้หารือเรื่องนี้กับผู้เชี่ยวชาญของจีนและชี้ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ที่จีนใช้อยู่นั้นไม่ยั่งยืน เขาคิดว่าการเปลี่ยนแนวทางควบคุมโรคโควิดในจีนเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิดและเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มขึ้นในการรับมือกับการระบาด ในขณะเดียวกัน นพ. ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก เผยในงานเดียวกันว่า องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำมาโดยตลอดว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการควบคุมโรคโควิดอย่างสมดุลเพื่อลดผลกระทบต่อสังคม เช่น ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ยุทธศาสตร์ทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ในจีนกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนักวิทยาศาสตร์และประชาชน เนื่องจากทางการจีนได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดในหลายเมืองจนทำให้ประชาชนหลายล้านคนไม่พอใจอย่างมาก ในขณะที่หลายประเทศที่เคยใช้ยุทธศาสตร์เดียวกับจีนต่างหันไปใช้แนวทางใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อโควิดกันหมดแล้ว ขณะนี้ จีนมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 220,700 คน และผู้เสียชีวิตเกือบ 5,200 คน. -สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกชี้ทั่วโลกอยู่ในช่วงรอยต่อสำคัญของโรคโควิด

เจนีวา 24 ม.ค. – องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันเพื่อยุติการระบาดของโรคโควิด-19 ระยะเฉียบพลัน ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ปีที่สามของการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งถือเป็นช่วงระยะรอยต่อสำคัญ ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แถลงเคียงข้างนางสเวนเนีย ชูลเซอ รัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของเยอรมนีในวันนี้ว่า ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ปีที่สามของการระบาดของโรคโควิด-19 และถือเป็นช่วงระยะรอยต่อสำคัญ ทุกประเทศต้องร่วมมือกันเพื่อยุติการระบาดของโรคโควิด-19 ระยะเฉียบพลัน และไม่ปล่อยให้การระบาดลากยาวต่อไปจนทำให้เกิดความตื่นตระหนกและการเพิกเฉยที่ไม่จบสิ้น ทั้งยังระบุว่า เยอรมนีได้กลายเป็นประเทศผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดขององค์การอนามัยโลก แต่ไม่ได้เผยรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้ สหรัฐเคยเป็นประเทศผู้สนับสนุนทางการเงินรายใหญ่ที่สุดขององค์การอนามัยโลกมาก่อน ในขณะเดียวกัน นางชูลเซอ กล่าวว่า หน้าที่สำคัญที่สุดของเยอรมนี ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือจี 7 คือการยุติการระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก และเรียกร้องให้ทั่วโลกเร่งเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนโควิดโดยด่วน ทั้งนี้ งานประชุมคณะกรรมการบริหารขององค์การอนามัยโลกได้เริ่มขึ้นที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ โดยจะใช้เวลา 1 สัปดาห์เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการดำเนินงานในอนาคต เช่น การดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของ ดร. ทีโดรส เป็นสมัยที่สอง และข้อเสนอที่ทำให้องค์การอนามัยโลกมีอิสระทางการเงินมากขึ้น. -สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกเตือนโอไมครอนอันตรายต่อคนไม่ฉีดวัคซีนโควิด

เจนีวา 13 ม.ค. – องค์การอนามัยโลกระบุว่า แม้เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา แต่สายพันธุ์โอไมครอนก็ยังคงจัดเป็นเชื้อไวรัสระดับอันตราย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แถลงเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นในสวิตเซอร์แลนด์ว่า มีอีกกว่า 90 ประเทศทั่วโลกที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายฉีดวัคซีนโควิดให้ประชาชนร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดในแต่ละประเทศ และมีประชากรกว่าร้อยละ 85 ในทวีปแอฟริกาที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิดแม้แต่เข็มเดียว ทั่วโลกต้องไม่ยอมให้เชื้อโควิดแพร่ระบาดได้อย่างอิสระหรือยอมแพ้ต่อการควบคุมโรคนี้ โดยเฉพาะในขณะที่ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ดร. ทีโดรส ยังระบุว่า ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในหลายประเทศทั่วโลกเป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่เข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลตา ผู้ป่วยติดเชื้อส่วนใหญ่ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ทั้งนี้ หากทั่วโลกยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิดได้ ก็มีโอกาสสูงมากที่จะทำให้เกิดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่อาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งอาจรุนแรงกว่าสายพันธุ์โอไมครอน ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลกระบุในรายงานอัปเดตสถานการณ์ด้านระบาดวิทยารายสัปดาห์เมื่อวันอังคารว่า ทั่วโลกพบยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 15 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ในช่วงรอบสัปดาห์ก่อนถึงวันที่ 9 มกราคม ซึ่งทำสถิติผู้ป่วยติดเชื้อสูงสุดเมื่อเทียบกับหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกเตือนทั่วโลกอย่าคิดว่าโอไมครอนไม่รุนแรง

องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ทุกคนไม่ควรคิดว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนไม่รุนแรง เพราะสายพันธุ์ดังกล่าวกำลังทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทั่วโล

อนามัยโลกชี้ไม่มีประเทศใดรอดพ้นโควิดระบาด

เจนีวา 23 ธ.ค. – องค์การอนามัยโลกเตือนเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า การที่ประเทศร่ำรวยเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดเข็มที่สามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ประชาชนของตนเองยิ่งตอกย้ำปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านวัคซีนโควิดที่อาจทำให้การระบาดของโรคโควิดไม่จบสิ้น และไม่มีประเทศใดสามารถรอดพ้นจากการระบาดของโรคโควิดได้ ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวย้ำว่า ทั่วโลกยังคงต้องให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูงมากกว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดสแล้ว และไม่มีประเทศใดสามารถรอดพ้นจากการระบาดของโรคโควิดได้ การเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบครอบคลุมของประเทศร่ำรวยมีแนวโน้มที่จะยืดเวลาการระบาดออกไปมากกว่าทำให้การระบาดยุติลง การส่งวัคซีนโควิดไปยังประเทศที่มีอัตราฉีดวัคซีนครบสองโดสในระดับสูงจะยิ่งทำให้เชื้อโควิดมีโอกาสแพร่ระบาดและกลายพันธุ์มากขึ้น ดร. ทีโดรส ยังระบุว่า เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจอย่างยิ่งเมื่อยังคงมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในทวีปแอฟริกามากถึงร้อยละ 75 ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ทั้งที่ทั่วโลกได้เริ่มฉีดวัคซีนโควิดมาปีหนึ่งแล้ว ขณะที่ข้อมูลของสหประชาชาชาติ หรือยูเอ็น ระบุว่า ประเทศที่มีรายได้สูงฉีดวัคซีนโควิดโดสแรกให้ประชาชนร้อยละ 67 ส่วนประเทศที่มีรายได้ต่ำยังฉีดวัคซีนโดสแรกได้ไม่ถึงร้อยละ 10 ทั้งนี้ การแสดงความเห็นของ ดร. ทีโดรส มีขึ้นในขณะที่เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน โดยพบแล้วใน 106 ประเทศทั่วโลก. -สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกเตือนเลิกจัดงานคริสต์มาส-ปีใหม่สกัดโอไมครอน

เจนีวา 21 ธ.ค. – องค์การอนามัยโลกเตือนให้ยกเลิกจัดงานสังสรรค์หรือการเดินทางในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่เพื่อปกป้องระบบสาธารณสุขท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทั่วโลก ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แถลงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ผู้คนทั่วโลกรู้สึกเบื่อหน่ายกับการระบาดของเชื้อโควิด ทุกคนต้องการใช้เวลาอยู่ร่วมกับเพื่อนฝูงและครอบครัว รวมถึงการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติดังเดิม แนวทางที่รวดเร็วที่สุดในตอนนี้เพื่อให้ทุกคนไปถึงจุดหมายนั้นก็คือ ผู้นำประเทศต้องตัดสินใจยกเลิกการจัดงานช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ส่วนประชาชนต้องยกเลิกแผนการเดินทางในช่วงดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ก็จำเป็นต้องทำเพื่อปกป้องชีวิตของทุกคน เขามองว่า การประกาศยกเลิกหรือเลื่อนการจัดงานในตอนนี้ยังดีกว่าต้องมานั่งเสียใจเรื่องยอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดในภายหลัง ดร. ทีโดรส ยังระบุว่า การระบาดของโรคโควิดอาจยุติลงภายในปีหน้า เนื่องจากจะมีประชากรร้อยละ 70 ของทุกประเทศทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนโควิดครบโดสในช่วงกลางปีหน้า นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้จีนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิดมากขึ้น องค์การอนามัยโลกจำเป็นต้องเดินหน้าสืบสวนเรื่องนี้ต่อไปจนกว่าจะรู้ที่มาของโรคโควิดเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับการป้องกันโรคภัยอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกัน โซเมีย สวามินาตัน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การด่วนสรุปจากหลักฐานเบื้องต้นว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก พร้อมทั้งเตือนว่า ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ระบบสาธารณสุขทั่วโลกเผชิญกับภาวะตึงตัวอีกครั้ง. -สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกเตือนโอไมครอนแพร่เร็วอย่างไม่เคยพบมาก่อน

เจนีวา 15 ธ.ค. – องค์การอนามัยโลกเตือนเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนกำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวใน 77 ประเทศแล้ว ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกแถลงว่า เขารู้สึกวิตกกังวลว่าประเทศต่าง ๆ ยังรับมือกับการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ไม่ดีนัก ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าได้ประเมินความอันตรายของเชื้อดังกล่าวต่ำเกินไป แม้เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะทำให้เกิดอาการป่วยไม่รุนแรง แต่ก็อาจทำให้ยอดผู้ป่วยติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งจนระบบสาธารณสุขต้องเผชิญกับภาวะตึงตัว เขายังระบุเพิ่มเติมว่า การฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่สามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันอาจมีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ควรคำนึงถึงการจัดลำดับความสำคัญด้วย การฉีดวัคซีนเข็มที่สามให้แก่กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่ำต่ออาการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจะทำให้ชีวิตของคนจำนวนมากที่มีความเสี่ยงสูงและยังไม่มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนโควิดต้องตกอยู่ในอันตราย เนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัคซีน บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า หลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศใช้คำสั่งระงับการเดินทางจากแอฟริกาใต้และประเทศใกล้เคียงหลังพบเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรกในแอฟริกาใต้ แต่แนวทางดังกล่าวกลับประสบความล้มเหลวในการพยายามควบคุมการระบาด ขณะที่ผลการศึกษาล่าสุดของไฟเซอร์ระบุว่า วัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนลดลงเมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่การฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่สามจะช่วยกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกเตือนคำสั่งห้ามเดินทางไม่ช่วยสกัดโอไมครอน

เจนีวา 1 ธ.ค. – องค์การอนามัยโลกเตือนว่า การใช้มาตรการห้ามการเดินทางแบบปูพรมกว้างขวางไปทั่วจะไม่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนท่ามกลางสถานการณ์ที่หลายประเทศรีบประกาศใช้มาตรการดังกล่าวมากขึ้น ในขณะที่ภูมิภาคลาตินอเมริกาพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน 2 รายแรกแล้ว องค์การอนามัยโลกระบุเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า การใช้มาตรการห้ามการเดินทางที่ครอบคลุมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี หลังแคนาดาประกาศห้ามอีก 3 ประเทศจากทวีปแอฟริกาเดินทางเข้าประเทศ ได้แก่ ไนจีเรีย มาลาวี และอียิปต์ องค์การอนามัยโลกยังระบุในประกาศคำแนะนำการเดินทางว่า การใช้มาตรการดังกล่าวจะทำให้เกิดอุปสรรคระหว่างประเทศต่าง ๆ ในด้านการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูงและยังไม่ฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เขาเข้าใจว่าประเทศต่าง ๆ ต้องหาทางปกป้องพลเมืองของตนจากเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่ยังไม่มีข้อมูลอธิบายอย่างชัดเจน แต่เขาขอให้ทั่วโลกอย่าตื่นตระหนก ให้ความร่วมมือ และทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ใช้มาตรการควบคุมเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอย่างสมเหตุสมผล ในขณะเดียวกัน ภูมิภาคลาตินอเมริการะบุเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน 2 รายแรกที่เดินทางจากแอฟริกาใต้ไปยังบราซิล ขณะที่ญี่ปุ่นเผยว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกเมื่อวานนี้หลังใช้มาตรการห้ามผู้เดินทางต่างชาติเข้าประเทศได้เพียงวันเดียว ขณะนี้ มีหลายสิบประเทศและดินแดนทั่วโลกที่พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ […]

1 2
...