ออสเตรเลียสั่งแบน “ติ๊กต็อก” ในอุปกรณ์ของรัฐ
ออสเตรเลียกล่าววันนี้ว่า จะสั่งห้ามใช้งาน “ติ๊กต็อก” แอปพลิเคชันแชร์คลิปวิดีโอสั้นยอดนิยม ในอุปกรณ์ของรัฐบาล
ออสเตรเลียกล่าววันนี้ว่า จะสั่งห้ามใช้งาน “ติ๊กต็อก” แอปพลิเคชันแชร์คลิปวิดีโอสั้นยอดนิยม ในอุปกรณ์ของรัฐบาล
วอชิงตัน 25 มี.ค.- ติ๊กต็อก (TikTok) แอปพลิเคชันวิดีโอสั้นยอดนิยมมีแนวโน้มจะถูกสหรัฐห้ามใช้งานมากยิ่งขึ้น หลังจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ถูกคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐซักถามอย่างหนัก นายโซว จื่อ โจว ซีอีโอชาวสิงคโปร์วัย 40 ปี เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการพลังงานและพาณิชย์ในสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาสหรัฐ เขาถูกกรรมาธิการที่มาจากพรรครีพับลิกันและเดโมแครตยิงคำถามใส่อย่างไม่ยั้งและมักถูกตัดบทขณะชี้แจง ทำให้วาเนสซา พับพาส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหรือซีโอโอ (COO) ของติ๊กต็อกประณามว่า การเรียกเข้าชี้แจงดังกล่าวหยั่งรากลึกมาจากความรู้สึกเกลียดกลัวต่างชาติ รัฐบาลสหรัฐได้ยื่นคำขาดให้ติ๊กต็อกตัดขาดจากไบแดนซ์ (ByteDance) บริษัทแม่ที่เป็นของจีนด้วยการขายกิจการหรือแยกตัวออกมา ไม่เช่นนั้นจะถูกห้ามใช้งานอย่างเด็ดขาดในสหรัฐ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการผ่านร่างกฎหมายรีสทริกต์ แอกต์ (RESTRICT ACT) ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในเดือนนี้ เพราะให้อำนาจกระทรวงพาณิชย์สั่งห้ามใช้เทคโนโลยีต่างชาติที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ โฆษกทำเนียบขาวยืนยันว่า รัฐบาลสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐและติ๊กต็อกเจรจากันมานานถึง 2 ปี 6 เดือน ติ๊กต็อกเสนอจะดำเนินโครงการโปรเจกต์เทกซัส (Project Texas) เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานในสหรัฐไว้ในสหรัฐเท่านั้น โดยที่กฎหมายจีนหรือทางการจีนไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ถูกรัฐบาลสหรัฐบอกปัด หลังจากสำนักสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐระบุว่า ติ๊กต็อกยังมีความเสี่ยงในเรื่องจีนอยู่ ด้านจีนยืนกรานไม่ขายติ๊กต็อกโดยอ้างกฎหมายจีนเรื่องการคุ้มครองเทคโนโลยีสำคัญไม่ให้ตกไปอยู่ในมือต่างชาติ ทั้งนี้หากติ๊กต็อก ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมที่สุดในสหรัฐ มีคนหนุ่มสาวใช้งาน 150 […]
รัฐบาลจีนกล่าววันนี้ว่า ไม่เคยขอให้บริษัทต่าง ๆ ส่งมอบข้อมูลที่รวบรวมมาจากต่างประเทศ ในขณะที่แอปพลิเคชันติ๊กต็อก ที่มีบริษัทจีนเป็นเจ้าของกำลังจะถูกสั่งห้ามใช้งานในสหรัฐ
วอชิงตัน 23 มี.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอของติ๊กต็อก (TikTok) แอปพลิเคชันวิดีโอสั้นยอดนิยมจะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการในรัฐสภาสหรัฐในวันนี้ หลังจากบริษัทถูกกล่าวหาว่ามีความสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน นายโซว จื่อ โจว ซีอีโอชาวสิงคโปร์วัย 40 ปี จะเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการพลังงานและพาณิชย์ในสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐในเวลา 10:00 น.วันนี้ตามเวลาสหรัฐ ตรงกับเวลา 21:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย และจะถูกซักถามอย่างเคร่งเครียดนานหลายชั่วโมงโดยสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตที่เกรงว่ารัฐบาลจีนอาจนำแอปฯ นี้ไปใช้สอดแนมหรือโฆษณาชวนเชื่อ ถ้อยแถลงที่นายโจวจะชี้แจงและมีการเผยแพร่ล่วงหน้าระบุว่า เขาขอย้ำอย่างชัดเจนว่า ไบต์แดนซ์ (ByteDance) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของติ๊กต็อกไม่ใช่สายลับของจีนหรือประเทศใด ติ๊กต็อกไม่เคยแบ่งปัน หรือได้รับคำขอให้แบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐให้แก่รัฐบาลจีน และจะไม่มีวันทำเช่นนั้นหากได้รับคำขอ ซีอีโอติ๊กต็อกจะใช้โอกาสนี้แจ้งคณะกรรมาธิการฯ ว่า ได้ดำเนินโครงการที่มีชื่อว่า โปรเจ็กต์เทกซัส (Project Texas) เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ ด้วยการให้ข้อมูลในสหรัฐอยู่ในความดูแลของแผนกที่อยู่ในสหรัฐเท่านั้น ติ๊กต็อกได้ใช้เงินไปกับโครงการนี้แล้ว 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 51,142 ล้านบาท) และจ้างงานคนในสหรัฐ 1,500 คนดำเนินโครงการนี้ รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐยื่นคำขาดให้ติ๊กต็อกแยกตัวออกจากไบแดนซ์ ไม่เช่นนั้นจะถูกสั่งห้ามใช้งานในสหรัฐอย่างเด็ดขาด ซึ่งจะกระทบต่อผู้ใช้งานที่มีเดือนละ 150 ล้านราย ส.ส.แคที แมคมอร์ริส […]
บีบีซี สื่อสาธารณะของอังกฤษ กล่าววานนี้ว่า ได้ขอให้พนักงานลบแอปพลิเคชัน “ติ๊กต็อก” แอปสำหรับแชร์วิดิโอสั้นยอดนิยม ซึ่งมีบริษัทจีนเป็นเจ้าของออกจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นต้องใช้งานเพื่อเหตุผลทางด้านธุรกิจ
นิวซีแลนด์จะห้ามใช้งานแอปพลิเคชัน “ติ๊กต็อก” ที่จีนเป็นเจ้าของในโทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสารของสมาชิกรัฐสภา ทำให้นิวซีแลนด์เป็นชาติตะวันตกรายล่าสุดที่ดำเนินการกับแอปแชร์วิดีโอสั้นยอดนิยมนี้ด้วยความหวั่นเกรงในเรื่องความมั่นคง
ติ๊กต็อก แอปพลิเคชั่นแชร์วิดีโอสั้นยอดนิยมยืนยันวานนี้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐแนะนำให้ติ๊กต็อกแยกกิจการจากไบต์แดนซ์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ติ๊กต็อกต้องถูกแบนในสหรัฐ
รัฐสภายุโรปแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ลบแอปพลิเคชัน “ติ๊กต็อก” บนอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ใช้ทำงานเนื่องจากกังวลเรื่องการปกป้องข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับหน่วยงานอื่น ๆ ของอียูที่ประกาศมาตรการลักษณะเดียวกันนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
วอชิงตัน 28 ก.พ.- ทำเนียบขาวของสหรัฐขีดเส้นตายให้หน่วยงานรัฐบาลทุกแห่งบังคับใช้ระเบียบภายใน 30 วัน เรื่องห้ามมีแอปพลิเคชันติ๊กต็อก (TikTok) ของจีนบนอุปกรณ์และระบบของหน่วยงานรัฐบาล รอยเตอร์อ้างบันทึกคำแนะนำที่ผู้อำนวยการสำนักงานการบริหารจัดการและงบประมาณของทำเนียบขาวส่งถึงหน่วยงานรัฐบาลว่า หน่วยงานรัฐบาลกลางทุกแห่งต้องลบติ๊กต็อกออกจากสมาร์ทโฟนและระบบภายใน 30 วัน และห้ามใช้อินเทอร์เน็ตเข้าถึงเว็บไซต์ของแอปนี้ ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลของสหรัฐมีความปลอดภัย คำสั่งนี้จะยกเว้นให้สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ การบังคับใช้กฎหมาย หรือการวิจัยด้านความมั่นคง โดยที่ผู้บริหารของหน่วยงานนั้น ๆ ต้องเป็นผู้อนุมัติเป็นกรณีไป ห้ามยกเว้นให้ทั้งหน่วยงาน รัฐสภาสหรัฐผ่านความเห็นชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 เรื่องห้ามพนักงานของหน่วยงานรัฐบาลกลางใช้ติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ของรัฐ และให้รัฐบาลมีคำสั่งไปยังหน่วยงานรัฐบาลกลางภายใน 60 วัน คำสั่งนี้กระทบกับผู้ใช้จำนวนน้อย เนื่องจากไม่ครอบคลุมชาวอเมริกันมากกว่า 100 ล้านคนที่ใช้ติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ส่วนตัวหรือของบริษัทเอกชน แต่เพิ่มกระแสเรียกร้องให้สหรัฐห้ามติ๊กต็อกโดยสิ้นเชิง คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศในสภาผู้แทนราษฎรเตรียมลงมติร่างกฎหมายในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ ซึ่งจะให้อำนาจประธานาธิบดีสั่งห้ามใช้ติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ในสหรัฐทั้งหมด ด้านแคนาดาประกาศเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ห้ามใช้ติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ของรัฐบาลทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่าแอปนี้มีความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้ ขณะที่หน่วยงานใหญ่ 2 แห่งของสหภาพยุโรปหรืออียูสั่งห้ามใช้ติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่เมื่อสัปดาห์ก่อนด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์.-สำนักข่าวไทย
กุ้ยหลิน 23 ก.พ.- นักไลฟ์สตรีมเมอร์ชาวจีนกลุ่มหนึ่งหันมาไลฟ์สดบนสะพานกลางดึกในเมืองทางตอนใต้ของประเทศ โดยหวังว่า การไลฟ์ในสถานที่ที่ไม่สะดวกสบายจะทำให้ผู้ชมออนไลน์มีความเห็นอกเห็นใจแล้วบริจาคเงินให้ การไลฟ์นอกสถานที่ในจีนเริ่มมาตั้งแต่ 1 ปีก่อน หนึ่งในสถานที่ยอดนิยมนั้นคือ สะพานแห่งหนึ่งในเมืองกุ้ยหลิน แทบทุกคืนจะมีนักไลฟ์จำนวนหนึ่งมารวมตัวบนทางเท้าของสะพาน พร้อมกับชุดอุปกรณ์ประจำตัวประกอบด้วยสมาร์ทโฟน ไมโครโฟน และไฟวงแหวน โดยจะนั่งบนพื้นแบบเว้นระยะห่างกันเพื่อไลฟ์ผ่านโต่วอิน (Douyin) ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันติ๊กต็อกในเวอร์ชั่นจีน ที่มีคนใช้งานมากถึง 600 ล้านคนในปี 2563 นักไลฟ์จะมีรายได้จากเงินที่คนดูบริจาคให้ บางคนกลายเป็นคนดังมีชื่อเสียงและมีรายได้มากมายจากแพลตฟอร์มนี้ เช่น นายหลี่ เจียฉี เจ้าของฉายา “ราชาลิปสติก” สาวจีนวัย 27 ปีคนหนึ่งมาไลฟ์สดบนสะพานแห่งนี้ทุกคืนตั้งแต่เวลา 21:00-03:00 น. เธอเผยว่า ทุกวันนี้มีคนไลฟ์ในสถานที่มากมาย ซึ่งต้องแต่งหน้าแต่งตัวให้สวยดูดีจึงจะดึงดูดใจคนดู แต่เธอเป็นคนหน้าตาธรรมดา การออกมาไลฟ์นอกสถานที่กลางดึกอาจจะทำให้คนดูเห็นใจและบริจาคเงินให้ บางคืนเธอได้เงินมากถึง 600 หยวน (ราว 3,000 บาท) และบางคืนได้แค่ 10 หยวน (ราว 50 บาท) เท่านั้น รายได้ของเธอจะถูกบริษัทดูแลนักไลฟ์หักร้อยละ 10 เป็นค่าเช่าอุปกรณ์และค่าจัดการตัวตนของเธอบนสื่อสังคมออนไลน์ […]
ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เจ้าของแพลตฟอร์มแชร์คลิปวิดีโอสั้นยอดนิยมอย่างติ๊กต็อก (TikTok) ยอมรับวันนี้ว่า ลูกจ้างของบริษัทเข้าถึงข้อมูลจากติ๊กต็อกอย่างไม่เหมาะสมเพื่อติดตามตัวนักข่าวเพื่อพยายามหาแหล่งที่มาที่ข้อมูลของบริษัทว่ารั่วไหลไปถึงสื่อมวลชนได้อย่างไร
วอชิงตัน 15 ธ.ค.- วุฒิสภาสหรัฐออกเสียงผ่านร่างกฎหมายห้ามพนักงานของรัฐบาลกลางใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ของรัฐ ร่างกฎหมายนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนปิดสมัยประชุมปัจจุบันที่คาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า จากนั้นจึงจะให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป นับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของสมาชิกสภาสหรัฐที่ต้องการกวาดล้างบริษัทจีน เนื่องจากกังวลว่ารัฐบาลจีนจะใช้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน อันเป็นภัยด้านความมั่นคงแห่งชาติ หน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐหลายแห่ง เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิ ห้ามใช้ติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ของรัฐแล้ว และเมื่อไม่กี่วันก่อนผู้ว่าการรัฐนอร์ทดาโคตาและรัฐไอโอวาได้ออกคำสั่งห้ามหน่วยงานบริหารดาวน์โหลดติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ของรัฐ ตามอย่างสิบกว่ารัฐที่ใช้คำสั่งลักษณะเดียวกัน ด้านติ๊กต็อก ซึ่งเป็นของไบต์แดนซ์ บริษัทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของจีนแถลงว่า ความกังวลเหล่านี้ถูกกระตุ้นจากข้อมูลเท็จ บริษัทพร้อมพบหารือกับทางการสหรัฐเพื่อชี้แจงนโยบาย บริษัทรู้สึกผิดหวังที่หลายรัฐในสหรัฐดำเนินนโยบายโดยอ้างอิงจากความเท็จเกี่ยวกับติ๊กต็อกที่จะไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ วุฒิสภาสหรัฐเคยผ่านร่างกฎหมายห้ามใช้ติ๊กต็อกบนอุปกรณ์ของรัฐมาแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 แต่มีการฟ้องร้องจนทางการแพ้คดีหลายครั้ง คณะกรรมาธิการการลงทุนต่างชาติของรัฐบาลมีคำสั่งในปีเดียวกันให้ไบต์แดนซ์ขายติ๊กต็อกเพราะเกรงว่าข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐมากกว่า 100 ล้านคนจะถูกส่งต่อไปให้รัฐบาลจีน แต่ไบต์แดนซ์ไม่ได้ปฏิบัติตาม ทั้ง 2 ฝ่ายกำลังเจรจาเรื่องทำข้อตกลงความมั่นคงแห่งชาติเพื่อปกป้องข้อมูลผู้ใช้ แต่ไม่มีวี่แววว่าจะบรรลุได้ภายในสิ้นปีนี้.-สำนักข่าวไทย