ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : LINE เตือนภัย! คนร้ายส่ง SMS หลอกให้เข้าเว็บปลอม ลวงให้ลงชื่อกรอกรหัสผ่าน

30 สิงหาคม 2567 LINE Thailand – Official ประกาศเตือน ผู้ใช้ LINE : ขณะนี้ มี SMS แปลกปลอม แอบอ้างชื่อ LINE แจ้งว่าบัญชีของท่านผิดปกติ โดยให้คลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอม รวมถึงหน้าให้ล็อกอิน เพื่อกรอกอีเมลและพาสเวิร์ด จึงขอให้ผู้ใช้โปรดระมัดระวัง ไม่คลิกลิงก์หรือกรอกข้อมูลเด็ดขาด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เทคนิคดังกล่าว เป็นลักษณะที่เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) ซึ่งหมายถึง การหลอกลวงบนออนไลน์ โดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ นามสกุล รหัสผ่าน หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ที่ผ่านมาพบทั้ง การแอบอ้างเป็นธนาคาร หน่วยงานราชการ แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เพื่อหลอกลวงให้เยื่อกรอกข้อมูลสำคัญและขโมยเงินออกจากบัญชี รับชมคลิปเกี่ยวกับฟิชชิ่งเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=kGqJ7bz-GUQ https://www.youtube.com/watch?v=Dp7G-nbDuTs 31 สิงหาคม 2567ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

จับแล้ว 1 ในแก๊งปลอมไลน์ผู้ว่าฯ ขอนแก่น ตุ๋นยืมเงิน ขรก.

จับแล้วหนึ่งในแก๊งปลอมไลน์ผู้ว่าฯ ขอนแก่น หลอกยืมเงินข้าราชการในพื้นที่ สูญกว่า 5 แสนบาท ตำรวจเชื่อทำเป็นขบวนการ

“อนุชา”สั่งตรวจสอบขายสลากดิจิทัลในโซเชียล

“อนุชา” มอบหมายสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อเท็จกรณียี่ปั๊ว พ่อค้าแม่ค้าปลีก นำสลากดิจิทัลไปขายต่อในกลุ่มไลน์เกินราคา ย้ำดำเนินคดีอย่างเคร่งครัด ห้ามละเว้น

ดีอีเอสห่วงคนไทยหลงเชื่อการแชร์ข่าวปลอมในไลน์

“นพวรรณ” โฆษกดีอีเอสฝ่ายการเมือง เผยข้อมูลจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบไลน์กำลังเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลยอดนิยมในการแพร่กระจายข่าวปลอม ห่วงคนไทยหลงเชื่อ เพราะไม่รู้เท่าทัน แนะผู้รับข่าวสารตรวจสอบให้รอบด้านก่อนเชื่อและแชร์

ญี่ปุ่นเตือน Line ให้คุ้มครองข้อมูลผู้ใช้

โตเกียว 26 เม.ย.- รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งให้แอปพลิเคชันไลน์ (Line) ดำเนินมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อย่างเหมาะสม หลังจากบริษัทในเครือที่อยู่ในจีนเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม นอกจากดำเนินมาตรการแล้ว รัฐบาลยังสั่งให้ไลน์เสนอรายงานภายในปลายดือนพฤษภาคม หลังจากกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารมีคำชี้ขาดว่า ไลน์ไม่มีระบบเฝ้าระวังอย่างเพียงพอเพื่อปกป้องความลับในการสื่อสารตามที่กฎหมายญี่ปุ่นกำหนด ด้านคณะกรรมาธิการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของรัฐบาลออกแนวทางบริหารเมื่อวันศุกร์ และขอให้ไลน์เสนอรายงานการปรับปรุงมาตรการเพื่อให้มีระบบเฝ้าระวังที่ดีภายในหนึ่งเดือน แม้ว่ายังไม่พบว่ามีการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็ตาม ไลน์ซึ่งมีผู้ใช้ในญี่ปุ่นกว่า 86 ล้านคนจากประชากรราว 126 ล้านคน แจ้งเมื่อกลางเดือนมีนาคมว่า ช่างเทคนิค 4 คนของบริษัทในเครือที่อยู่ในจีนได้เข้าถึงฐานข้อมูลอย่างน้อย 32 ครั้งตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2561 ทำให้สามารถเห็นชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และข้อความที่ถูกผู้ใช้ร้องเรียนว่าไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเก็บภาพถ่ายและคลิปของผู้ใช้ไว้ในเซิร์ฟเวอร์ในเกาหลีใต้ด้วย ไลน์จะโอนย้ายกลับมาที่ฐานข้อมูลในญี่ปุ่น การเปิดเผยดังกล่าวทำให้กระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานภาครัฐระงับการใช้ไลน์เป็นช่องทางสื่อสารกับประชาชนเป็นการชั่วคราว เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย เว็บไซต์เกียวโดนิวส์ระบุว่า ไลน์ได้รับความนิยมมากในไต้หวัน ไทย และอินโดนีเซียตั้งแต่เปิดตัวในปี 2554.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้ LINE อย่างไรให้ปลอดภัย

เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่จะทำอย่างไร เพื่อให้เราใช้ LINE ได้อย่างปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

อภิสิทธิ์โพสต์เป็นหน้าที่กก.บห-ส.ส.ของพรรคจะพิจารณาการจัดตั้งรัฐบาล

“อภิสิทธิ์” โพสต์ข้อความในไลน์ ระบุกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคที่ได้รับเลือกตั้ง จะพิจารณาแนวทางการดำเนินการของพรรค ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาล และการทำงานในสภาต่อไป พร้อมย้ำลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ

1 2
...