ออสเตรเลียจะห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง

ซิดนีย์ 28 พ.ย.- รัฐบาลออสเตรเลียจะห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 โดยตำหนิอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า ทำให้เด็ก ๆ เสพติด นายมาร์ก บัตเลอร์ รัฐมนตรีสาธารณสุขออสเตรเลียกล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวมุ่งลดแนวโน้มการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มผู้เยาว์ที่กำลังเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมารัฐบาลให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเป็นตัวช่วยเลิกบุหรี่ แต่กลับมีการนำมาใช้เพื่อนันทนาการ และมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มเด็ก บุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมากมีนิโคติน และมีเด็กเสพติดเพิ่มขึ้น รัฐบาลออสเตรเลียเคยเปิดเผยครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2566 ว่าจะห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง แต่ยังไม่เคยกำหนดวันเวลาที่ชัดเจน จนกระทั่งประกาศวันนี้ว่า จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 โดยเผยว่าผู้เยาว์วัย 14-17 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้าราว 1 ใน 10 คน พร้อมกับอ้างว่ามีหลักฐานหนักแน่นว่า ผู้เยาว์ออสเตรเลียที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสเพิ่มขึ้น 3 เท่าที่จะสูบบุหรี่แบบธรรมดา หลังจากนี้รัฐบาลจะออกกฎหมายในปี 2567 ห้ามการผลิต โฆษณา หรือจัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งด้วย.-สำนักข่าวไทย

บราซิลพบพืชมีสาร CBD แต่ไม่มี THC ที่ทำให้เสพติด

รีโอเดจาเนโร 4 ก.ค.- นักวิจัยชาวบราซิลพบพืชที่มีสารแคนนาบิไดออลหรือซีบีดี (CBD) ที่นำไปบรรเทาอาการป่วยหลายอย่าง แต่ไม่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอลหรือทีเอชซี (THC) ที่ทำให้เสพติด โฮดริโก โมรา แนโต วัย 66 ปี นักชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยแห่งชาติรีโอเดจาเนโร กำลังวิจัยต้นพังแหร (Trema micrantha blume) ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นโตเร็วของทวีปอเมริกา ถือเป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไป หลังจากพบว่า ผลและดอกของต้นนี้มีสารซีบีดีแบบที่พบในกัญชา ซึ่งเป็นสารที่ใช้บรรเทาอาการปวด คลายความวิตกกังวล โรคลมชัก แต่ไม่พบสารทีเอชซีแบบที่พบในกัญชา ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เสพติด การค้นพบนี้เปิดโอกาสให้แก่การหาแหล่งผลิตสารซีบีดีได้เป็นจำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้ต้นกัญชาที่ยังเป็นพืชผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงบราซิล คณะทำงานของโมรา แนโตเพิ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐจำนวน 500,000 เรอัล (ราว 3.63 ล้านบาท) เพื่อสานต่อการวิจัย โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการหาวิธีที่ดีที่สุดในการสกัดสารซีบีดีจากต้นพังแหร จากนั้นจะวิจัยเรื่องประสิทธิภาพในการนำมาใช้แทนกัญชาทางการแพทย์ เขาเผยว่า จะไม่จดสิทธิบัตรต้นพังแหร เพราะอยากให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสามารถวิจัยได้เช่นกัน โมรา แนโตเผยว่า สาเหตุที่เริ่มวิจัยสารซีบีดี เนื่องจากขณะนั้นเป็นนักนิติพันธุศาสตร์ มีหน้าที่วิเคราะห์ดีเอ็นเอของกัญชาที่ตำรวจยึดได้เพื่อช่วยในการตามหาต้นตอกัญชา ต่อมาเขาได้เห็นผลการศึกษาที่พบสารซีบีดีในต้นไม้ประเภทหนึ่งในไทย ซึ่งเป็นพืชในวงศ์กัญชา จึงอยากทดสอบกับต้นพังแหรในบราซิล […]

นิวซีแลนด์จะห้ามบุหรี่ไฟฟ้าแบบสูบแล้วทิ้ง

เวลลิงตัน 6 มิ.ย.- นิวซีแลนด์ประกาศห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบสูบแล้วทิ้ง เป็นการก้าวหนึ่งของการเข้มงวดนโยบายบุหรี่เพื่อทำให้บุหรี่ถูกห้ามจำหน่ายอย่างสิ้นเชิงไปในที่สุด อายชา เวอร์รัลล์ รัฐมนตรีสาธารณสุขนิวซีแลนด์แถลงวันนี้ว่า จะห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบสูบแล้วทิ้งตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป เพื่อหาทางหยุดยั้งจำนวนเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ปัจจุบันมีมากเกินไปแล้ว นอกจากนี้ยังจะไม่อนุญาตให้เปิดร้านจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าใกล้โรงเรียนและสถานที่พบปะของชนเผ่าเมารี ที่เป็นชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ห้ามการตั้งชื่อบุหรี่ไฟฟ้าให้ดูเหมือนขนม และกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าต้องมีกลไกป้องกันเด็กเล็กสูบ รัฐมนตรีสาธารณสุขนิวซีแลนด์ระบุว่า รัฐบาลต้องการรักษาสมดุลระหว่างการป้องกันไม่ให้เยาวชนกลายเป็นนักสูบบุหรี่ไฟฟ้าหน้าใหม่ กับการเปิดทางให้ผู้ที่ต้องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยเลิกการสูบบุหรี่แบบมวน นิวซีแลนด์ประกาศเมื่อ 6 เดือนที่แล้วว่า จะทำให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 14 ปี ไม่สามารถซื้อบุหรี่ได้เป็นการถาวร ด้วยการเพิ่มอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะซื้อบุหรี่ได้ให้สูงขึ้นทุกปี จนกว่าจะครอบคลุมประชากรทุกคน ปัจจุบันผู้ใหญ่ในนิวซีแลนด์มีอัตราการสูบบุหรี่ราวร้อยละ 8 แต่ผลการศึกษาของมูลนิธิโรคหอบหืดและทางเดินหายใจในปี 2564 พบว่า เยาวชนในวัยเรียนของนิวซีแลนด์เกือบ 1 ใน 5 สูบบุหรี่ไฟฟ้าวันละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤษภาคมออสเตรเลียได้ดำเนินมาตรการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าแบบสูบแล้วทิ้งในลักษณะเดียวกัน โดยกล่าวหาบริษัทบุหรี่ว่า ต้องการสร้างคนรุ่นใหม่ที่เสพติดนิโคตินด้วยการจงใจมุ่งเป้าหมายไปที่เยาวชน บุหรี่ไฟฟ้าถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โดยชูว่าเป็นทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่าบุหรี่แบบมวนที่มีสารเคมีก่อมะเร็ง แต่ผลการวิจัยพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เสพติดได้ง่าย และมักทำให้ผู้สูบที่เป็นเยาวชนหันไปสูบบุหรี่แบบมวนเพื่อให้ได้นิโคตินที่เสพติดไปแล้ว.-สำนักข่าวไทย

เตือนมีการผลิตยาเสพติดในยุโรปมากขึ้น

บรัสเซลส์ 14 มิ.ย.- สำนักงานด้านยาเสพติดของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) เตือนว่า กำลังมีการผลิตยาเสพติดในยุโรปมากขึ้น และมีการจำหน่ายรวมทั้งเสพสารเสพติดออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดใหม่ สำนักงานฯ ออกรายงานประจำปีว่า มีหลักฐานใหม่ว่ากำลังมีการผลิตยาเสพติดในยุโรปมากขึ้น ตอกย้ำสิ่งที่เคยเตือนว่าภูมิภาคนี้กำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางยาเสพติดโลก ไม่ใช่แค่ตลาดเสพยาเสพติดอีกต่อไป แก๊งอาชญากรรมในยุโรปมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแก๊งนอกภูมิภาค หวังลดต้นทุนในการผลิตและลอบค้ายาเสพติด โดยนำเข้าสารเคมีจำเป็นมาจากนอกภูมิภาค เช่น อเมริกาใต้ เอเชีย มาสังเคราะห์ยาเสพติดจำนวนมากในห้องทดลองปฏิบัติการผิดกฎหมาย มีทั้งแอมเฟตามีน เมตแอมเฟตามีน และยาเสพติดสังเคราะห์อีกหลายชนิด เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในภูมิภาคและส่งออกไปนอกภูมิภาค ปี 2563 ยุโรปตรวจพบห้องทดลองปฏิบัติการผิดกฎหมายและทำลายทิ้งไปมากกว่า 350 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งยังพบว่ามีการผลิตยาเสพติดตัวใหม่หลายตัว หนึ่งในนั้นคือ คาทิโนน เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นและลักษณะทางเคมีคล้ายแอมเฟตามีนและยาอี.-สำนักข่าวไทย

“ซานิ” ปัดเสพติดแอลกอฮอล์ แค่เป็นสายเอ็นเตอร์เทน

นักร้องสายฮา “ซานิ” ที่ได้ให้สัมภาษณ์รายการหนึ่งว่าเคยทานแอลกอฮอล์กับเพื่อนถึงขนาดดื่มจนภาพตัด เพื่อนลากกลับบ้าน แต่พอถามว่าเสพติดแอลกอฮอล์จริงไหม เจ้าตัวปฏิเสธชัด แค่เสพติดปาร์ตี้

อินโดนีเซียพัฒนาอุปกรณ์ช่วยแก้ปัญหาการติดอินเทอร์เน็ต

กลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ที่นำโดยเออร์ฟาน บูดิ ซาเทรีย นักประดิษฐ์ชาวอินโดนีเซีย ใช้เวลา 3 เดือนในการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ติดตัวกับร่างกาย

เลขายูเอ็นเตือนเอเชียให้เลิกเสพติดถ่านหิน

เลขาธิการยูเอ็นเตือนเอเชียให้เลิกเสพติดการใช้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้หลายล้านคนเสี่ยงภัยจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

พัฒนาวิธีการรักษาแบบดิจิทัลผ่านแอปสมาร์ทโฟน

บริษัทเทคโนโลยีกำลังพัฒนาการรักษาแบบดิจิทัลด้วยแอปบนสมาร์ทโฟนที่จะช่วยให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยติดตามการรักษาอาการเสพติด ปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาพกายได้ดีขึ้น

...