นักวิชาการแนะจัดตั้งรัฐบาลได้รวดเร็วหลังการเลือกตั้ง
นักวิชาการแนะเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ช่วยฟื้นเศรษฐกิจและการลงทุน มุ่งปฏิรูปและปรับโครงสร้างใหม่รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล หวั่นนโยบายประชานิยมกระทบฐานะทางการคลัง
นักวิชาการแนะเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ช่วยฟื้นเศรษฐกิจและการลงทุน มุ่งปฏิรูปและปรับโครงสร้างใหม่รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล หวั่นนโยบายประชานิยมกระทบฐานะทางการคลัง
นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ กล่าวว่า อาเซียนได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด จึงขอให้เหนียวแน่นและเป็นเอกภาพกันต่อไปในช่วงที่สถานการณ์โลกกำลังมีปัญหาถึงระดับสูงสุด
กกร. เตรียมเสนอ 6 แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจแก่พรรคการเมืองและรัฐบาลในอนาคต วางกรอบ GDP 66 โต 3-3.5% ผู้ประกอบการเตรียมขึ้นราคาสินค้ารอบสอง 5-10% เหตุต้นทุนยังสูง ห่วงภัยแล้งทำต้นทุนภาคอุตสาหกรรม-เกษตรพุ่งขึ้นอีก
วอชิงตัน 2 พ.ค.- กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย อันเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน แต่เตือนว่ามีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อสูงและตลาดโลกผันผวนเพราะปัญหาภาคการธนาคารในโลกตะวันตก ไอเอ็มเอฟออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคในวันนี้ว่า การที่จีนเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งจะมีผลสำคัญต่อเอเชียในแง่ของผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคและความต้องการภาคบริการมากกว่าที่จะเกิดจากการลงทุน เอเชียและแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตรมากที่สุดของโลกในปี 2566 โดยเกิดจากการขับเคลื่อนของจีนและอินเดียเป็นหลัก และจะยังคงมีการบริโภคในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ที่สุดต่อไป เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 4.6 ในปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่ประมาณการในรายงานเดือนตุลาคม 2565 เฉพาะจีนและอินเดียจะขยายตัวร้อยละ 5.2 และ 5.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี 2567 ลงร้อยละ 0.2 เหลือร้อยละ 4.4 และเตือนว่าเอเชียเสี่ยงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อยาวนานกว่าที่คาด ความต้องการของโลกชะลอตัว และผลกระทบจากปัญหาภาคการธนาคารในสหรัฐและยุโรป ไอเอ็มเอฟเตือนว่า แม้เอเชียมีเงินทุนและสภาพคล่องสูงมากพอที่จะรองรับผลกระทบจากตลาดภายนอก แต่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีหนี้สินสูงกำลังเสี่ยงมากขึ้นกับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ไอเอ็มเอฟยังขอให้ธนาคารกลางในเอเชีย ยกเว้นจีนและญี่ปุ่น คงนโยบายเข้มงวดทางการเงินต่อไปเพื่อดึงอัตราเงินเฟ้อให้ลดลง เพราะอัตราเงินเฟ้ออาจทรงตัวในระดับสูงต่อไปส่วนหนึ่งเพราะมีความต้องการบริโภคในประเทศอย่างคึกคัก.-สำนักข่าวไทย
“เศรษฐา” โพสต์คลิปในวันแรงงาน ย้ำทุกคนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้รัฐบาลเพื่อไทย พร้อมยืนยันทุกนโยบายเป็นฟันเฟืองทำงานเชื่อมต่อกันเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ ตั้งแต่ค่าครองชีพคนจนถึงโครงสร้างความเหลื่อมล้ำ มุ่งยกระดับประเทศตั้งแต่ฐานราก
โฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลเร่งเดินหน้าพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน
สิงคโปร์ 30 เม.ย.- นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุงของสิงคโปร์คาดว่า เศรษฐกิจของสิงคโปร์จะชะลอการขยายตัวในปีนี้ แต่ไม่น่าจะหดตัวอย่างทันทีทันใด นายกรัฐมนตรีลีกล่าวในสารเนื่องในแรงงานว่า มีความหวังว่าภาวะเงินเฟ้อจะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และจำนวนผู้ถูกเลิกจ้างจะยังคงเป็นตัวเลขที่จัดการได้ อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมภายนอกยังคงผันผวน อีกทั้งยังมีความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์อย่างรุนแรง เขาชี้ว่า มีความเสี่ยงที่ชาติตะวันตกจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะยังคงมีการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยหวังควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ระบบการค้าแบบพหุภาคีกำลังถูกสั่นคลอนอย่างหนักจากกระแสชาตินิยมและปกป้องทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการค้าและความร่วมมือสากล ผู้นำสิงคโปร์ระบุว่า สิงคโปร์จะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคที่เศรษฐกิจเผชิญภาวะผกผันจากอุตสาหกรรมเกิดใหม่และเทคโนโลยี การอยู่รอดของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับการยังคงเปิดกว้างและทำธุรกิจกับทั้งโลก ซึ่งหมายความว่า สิงคโปร์จะต้องปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรม ส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่และสร้างศักยภาพใหม่อย่างต่อเนื่องในขณะที่เข้าสู่ตลาดที่มีการเติบโต เอเอฟพีระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์มักถูกใช้เป็นมาตรวัดภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสิงคโปร์พึ่งพาการค้ากับทั้งโลก เศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.6 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 8.9 ในปี 2564 สำนักงานการเงินแห่งสิงคโปร์ซึ่งทำหน้าที่เหมือนธนาคารกลางของสิงคโปร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5-2.5 เท่านั้น.-สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 30 เม.ย.- ตลาดคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 10 และอาจเป็นครั้งสุดท้ายในการประชุมวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ แม้ว่ามีสัญญาณมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังชะลอตัว นักวิเคราะห์และนักลงทุนคาดว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 จากนั้นจะคงดอกเบี้ยสูงไว้ต่อไปเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อให้ได้ตามเป้าหมายระยะยาวที่ร้อยละ 2 โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแบงก์ออฟอเมริกาแจ้งลูกค้าเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ธนาคารคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในสัปดาห์หน้า และส่งสัญญาณระงับการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ด้านซีเอ็มอี กรุ๊ป (CME Group) ซึ่งเป็นตลาดอนุพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเผยว่า ผู้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือฟิวเจอร์ส เทรดเดอร์มากกว่าร้อยละ 80 คาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดหรือเอฟโอเอ็มซี (FOMC) จะประชุมในวันที่ 2-3 พฤษภาคม ท่ามกลางสถานการณ์ที่แตกต่างอย่างมากจากการประชุมครั้งหลังสุดในเดือนมีนาคมที่เกิดวิกฤตภาคการธนาคารหลังจากธนาคารในสหรัฐต้องปิดกิจการหลายแห่ง ครั้งนั้นเฟดขึ้นดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเล็กน้อยในปลายปีนี้ หากที่ประชุมตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ก็จะเป็นการขึ้นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน และทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.00-5.25 สูงที่สุดนับจากปี 2550 ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อไม่กี่วันก่อนระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาสแรกของปีนี้ชะลอการขยายตัวลงเหลือร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ […]
‘แพทองธาร’ เซอร์ไพรส์โฟนอินเวทีปราศรัยศรีสะเกษ ขอพี่น้องเอาใจช่วยให้คลอดง่ายๆ จะได้เจอประชาชนโดยเร็ว ‘เศรษฐา’ ชี้หลายปัญหาหยั่งรากลึก ผู้มีอำนาจไม่เห็นหัวประชาชน ขอเลือกเพื่อไทยให้แลนด์สไลด์ ดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ
กระหึ่มสะพานพระราม 8 เพื่อไทยปลุกคนกรุงหยิบปากกาฆ่าเผด็จการ อย่าให้ใครมายึดอำนาจประชาชนอีก ด้าน “เศรษฐา” ขอประชาชนเชื่อมั่นเพื่อไทยเก่งเศรษฐกิจ-ยาเสพติด จะถูกแก้ทันทีที่เป็นรัฐบาล
สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานอัตราการว่างงานของคนไทยต่ำกว่า 1% เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงเล็กน้อย ในขณะเดียวกันก็ทำนายว่า ประเทศส่วนใหญ่จะรอดพ้นจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจได้ในปีนี้ แม้จะมีความตึงเครียดในเรื่องเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม