
เขื่อนเจ้าพระยาปรับลดระบายน้ำ ส่งผลน้ำท่วมเริ่มลด
หลังเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มปรับลดระบายน้ำ ส่งผลน้ำที่ท่วมเริ่มลดลงบ้าง แต่สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ บางจุดน้ำยังท่วมสูงมิดหัว ไม่ได้เดือดร้อนแค่คน แต่ยังลามไปถึงลิงถึงกับต้องกินใบไม้ประทังชีวิต
หลังเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มปรับลดระบายน้ำ ส่งผลน้ำที่ท่วมเริ่มลดลงบ้าง แต่สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ บางจุดน้ำยังท่วมสูงมิดหัว ไม่ได้เดือดร้อนแค่คน แต่ยังลามไปถึงลิงถึงกับต้องกินใบไม้ประทังชีวิต
เทศบาลเมืองอ่างทองเร่งกู้ถนนอ่างทอง-ป่าโมก นำแท่งแบริเออร์ตั้งกั้นน้ำริมถนน ส่วนสถานการณ์น้ำนครปฐมส่อแวววิกฤติ หลังน้ำจากแม่น้ำท่าจีนทะลักท่วมถนนสายหลัก อ.บางเลน ส่งผลการจราจรติดขัดยาวกว่า 5 กม.
ระทึกกลางดึก คันกั้นน้ำเจ้าพระยาบริเวณ อ.เมืองอ่างทอง พังเป็นทางยาว ทะลักท่วมชาวบ้านไม่ทันตั้งตัว กู้ภัยฝ่ากระแสน้ำช่วยปลอดภัย
น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาซัดบ้านเรือนประชาชนบริเวณปากซอยโรงช้าง ซอย 1 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง พังเสียหายแล้วหลายหลัง หลายครอบครัวต้องเร่งขนย้ายสิ่งของออกมาอยู่ในที่ปลอดภัย
หลายพื้นที่ภาคกลางยังอ่วม นนทบุรีเสริมกระสอบทรายแล้วยังเอาไม่อยู่ น้ำทะลักท่วมเหมือนเดิม ส่วนที่ชัยนาท ชาวบ้านหนีน้ำไปตั้งเต็นท์อาศัยอยู่บนถนน น้ำก็ยังตามไปท่วมอีก ด้านอุทัยธานี น้ำขยายวงท่วมศาลากลาง-ย่านการค้า ขณะที่อ่างทองเเม่น้ำน้อยล้นตลิ่งท่วมโรงพัก เร่งกั้นกระสอบทรายสู้
ชาวบ้านระดำ จ.อ่างทอง อ่วมน้ำท่วมสูงชั้นสองพังยับสองหลังรวด หลังน้ำเจ้าพระยาทะลักคันดินเข้าท่วมสูงกว่า 2 เมตร ต้องพายเรือเก็บทรัพย์สินที่ลอยไปกับน้ำ
ต้านไม่อยู่ จ.อ่างทอง คันดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาทรุด น้ำทะลักท่วมชุมชนป่าโมก ช่วงเช้ามืด ขณะที่น้ำยังคงไหลบ่าขยายวงกว้าง ส่วนเชียงใหม่ น้ำท่วม อ.หางดง เริ่มคลี่คลาย
สุดแรงต้านคันดินริมเจ้าพระยา ใกล้ที่ว่าการอำเภอป่าโมกหลังเก่า จ.อ่างทอง ทานแรงดันน้ำไม่ไหว น้ำทะลักท่วมบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน
เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มการระบายน้ำรับพายุโนรู ล้นคันกั้นน้ำท่วมหลายอำเภอใน จ.ชัยนาท และอ่างทอง ชาวบ้านเร่งย้ายของหนีจ้าละหวั่น
ชาวบ้านผวาน้ำผุดใต้พื้นพนังคอนกรีตเขื่อนริมเจ้าพระยานับสิบจุด หวั่นทานแรงดันน้ำไม่ไหว ขณะที่เจ้าหน้าที่ตั้งคันดินแนวกั้นรองรับพร้อมเฝ้าระวัง
ปภ. วันนี้ ( 23 ก.ย.) ปภ.แจ้ง 9 จังหวัดภาคกลาง และ กทม. เฝ้าระวังระดับน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นช่วงวันที่ 25 – 27 ก.ย.65
แม่น้ำมูลขึ้นสูง ส่งผลให้คันกั้นน้ำแตก บริเวณแนวฟันหลอในเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี น้ำไหลทะลักท่วมหลายชุมชน ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่ในศูนย์พักพิง ส่วนที่บุรีรัมย์น้ำท่วมนาข้าว ชาวนาต้องใช้กะละมังลอยคอเกี่ยวข้าวก่อนเน่าเสีย เช่นเดียวกับที่ขอนแก่น ทหารลุยน้ำช่วยชาวนาเกี่ยวข้าว