โซลอาจหนาวติดลบ 21.7 องศาฯ ในวันนี้

กรุงโซลของเกาหลีใต้มีอุณหภูมิติดลบ 14 องศาเซลเซียส ในเช้าวันนี้ และมีแนวโน้มที่อุณหภูมิในวันนี้จะหนาวติดลบ 21.7 องศาเซลเซียส เนื่องจากคลื่นความเย็นที่เกิดขึ้นล่าสุดยังคงแผ่ปกคลุมทั่วประเทศ

สหรัฐหนาวจัดต่อเนื่อง

หลายพื้นที่ของสหรัฐยังคงเผชิญกับสภาพอากาศหนาวจัดอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอุณหภูมิเย็นจัดจะแผ่ปกคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของสหรัฐไปอีกหลายวัน ทำให้มีหิมะ ฝนเยือกแข็ง และฝนตกหนัก

อากาศเย็นตอนเช้า อีสาน-กลาง-ตอ. อุ่นขึ้นเล็กน้อย

อุตุฯ เผยทั่วไทยอากาศเย็นตอนเช้า ขณะที่ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย ฝุ่นสะสมในระดับปานกลางถึงค่อยข้างมาก

ออสเตรเลียเตรียมเผชิญคลื่นความร้อน-พายุฝนฟ้าคะนอง

ออสเตรเลียกำลังเตรียมเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงในพื้นที่ทั่วภาคเหนือและตะวันตกในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ส่งท้ายปีเก่าขึ้นปีใหม่โดยคาดหมายว่า อุณหภูมิจะพุ่งสูงทะลุเกินกว่า 45 องศาเซลเซียส ขณะที่พายุฝนฟ้าคะนองคาดว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศ

อุตุฯ เผยไทยอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาฯ “เหนือ-อีสาน” ยังหนาว

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาฯ ส่วนภาคเหนือ-อีสาน ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว เตือนภาคใต้รับมือฝนตกหนักบางแห่ง

สภาพอากาศหนาวเย็นจัดในจีนเริ่มผ่อนคลายลงแล้ว

คลื่นอากาศหนาวเย็นจัดที่อุณหภูมิติดลบปกคลุมประเทศจีนมาเกือบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มผ่อนคลายลงแล้วในวันนี้ หลังจากอากาศอุ่นเริ่มเคลื่อนตัวจากพื้นที่ตอนเหนือของประเทศลงมาทางใต้ ทำให้อุณหภูมิเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์นี้

อากาศหนาวเย็นฉับพลันในจีนลามไปถึงเซี่ยงไฮ้แล้ว

นครเซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางทางด้านการเงินของจีนกำลังจะเผชิญกับช่วงเวลาที่อากาศหนาวเย็นที่สุดเป็นประวัติการณ์ของเดือนธันวาคมในรอบ 40 ปี ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องออกประกาศเตือนเรื่องอุณหภูมิลดต่ำและลมแรง ในขณะที่เมืองต่าง ๆ ทางภาคเหนือที่เผชิญกับสภาพหิมะตกนั้น คาดหมายว่า สถานการณ์จะเรี่มดีขึ้นในสัปดาห์หน้า

เตือนวันนี้ซิดนีย์ของออสเตรเลียร้อนที่สุดในรอบ 3 ปี

นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซี ของออสเตรเลีย เตือนประชาชนดูแลตัวเองให้ปลอดภัย เนื่องจากคลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมทางฝั่งตะวันออกของประเทศได้ทำให้อุณหภูมิในวันนี้ของนครซิดนีย์สูงที่สุดในรอบ 3 ปี

ไซบีเรียหนาวจัดติดลบ 50 องศาเซลเซียส

หลายพื้นที่ในภูมิภาคไซบีเรียของรัสเซียมีอุณหภูมิลดลงติดลบ 50 องศาเซลเซียส ขณะที่กรุงมอสโกเผชิญพายุหิมะพัดปกคลุมทั่วจนมีหิมะตกหนักเป็นประวัติการณ์ และกระทบต่อการสัญจรทางอากาศ

จีนเตือนภัยคลื่นความเย็น-ลมแรงจัด

ปักกิ่ง 23 พ.ย. – ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติจีนประกาศเตือนภัยสภาพอากาศจากคลื่นความเย็นในระดับสีเหลือง โดยคาดการณ์ว่า หลายพื้นที่ของประเทศจะมีอุณหภูมิลดลงและลมแรงในช่วงหลายวันข้างหน้า สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างศูนย์อุตุนิยมแห่งชาติว่า หลายพื้นที่ของจีน เช่น กานซู่ หนิงเซี่ย ส่านซี มองโกเลียใน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุณหภูมิลดลง 6-10 องศาเซลเซียส ระหว่างเวลา 08.00 น. วันนี้จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน ขณะที่หลายพื้นที่ของเฮยหลงเจียงและเหลียวหนิงอาจมีอุณหภูมิลดลงกว่า 18 องศาเซลเซียสในช่วงเวลาข้างต้น ส่วนบางพื้นที่ของมองโกเลียในและเฮยหลงเจียงอาจมีอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียสในช่วงเช้าวันที่ 24 พฤศจิกายน ศูนย์อุตุนิยมแห่งชาติยังประกาศเตือนภัยสภาพอากาศจากลมแรงในระดับสีน้ำเงิน ในช่วงเช้าวันนี้ โดยหลายภูมิภาคอาจเผชิญลมแรงและลมพายุ ขณะน่านน้ำนอกชายฝั่งตะวันออกและตอนใต้อาจจะเผชิญลมพัดแรงจัด จึงขอแนะนำสาธารณชนให้รักษาความอบอุ่นของร่างกาย และดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองปศุสัตว์และพืชผล ทั้งนี้ระบบเตือนภัยสภาพอากาศจากคลื่นความเย็นและลมแรงของจีนแบ่งเป็น 4 ระดับสี่ สีแดงหมายถึงความรุนแรงสูงสุด ตามด้วยสีส้ม สีเหลือง และสีน้ำเงินตามลำดับ.-สำนักข่าวไทย

โลกร้อนขึ้นเกือบแตะขีดจำกัดแล้ว

ปารีส 5 ต.ค.- อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 สูงกว่าช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม 1.4 องศาเซลเซียส ใกล้แตะขีดจำกัดที่นานาชาติกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โคเปอร์นิคัส ไคลเมต เชนจ์ เซอร์วิซ (C3S) ซี่งเป็นองค์กรติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปเผยแพร่รายงานวันนี้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกันยายน 2566 สูงขึ้น 1.4 องศาเซลเซียสจากช่วงปี 2392-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกือบถึงระดับที่กำหนดไว้ใน “ความตกลงปารีส 2561 ” ไม่ให้สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่จำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลหายนะที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้มีอุณหภูมิสูงขึ้นและทำให้อากาศร้อนขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้ปี 2566 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมาในอีก 3 เดือนข้างหน้า นักวิทยาศาสตร์คาดว่า โลกจะรู้สึกได้ถึงผลร้ายแรงที่สุดของเอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ในช่วงสิ้นปี 2566 ไปจนถึงปี 2567 นักวิทยาศาสต์ของยุโรปและญี่ปุ่นเพิ่งรายงานว่า เดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นเดือนกันยายนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในประวัติศาสตร์  หลังจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดมากกว่าทุกเดือนเท่าที่ได้บันทึกมา ส่งผลให้สภาพอากาศเอื้อต่อการเกิดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความร้อน ไฟป่า และน้ำท่วมรุนแรง.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 5 13
...