นายกฯ พอใจ สัญญาณเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง

นายกฯ พอใจสัญญาณเศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การผลิตอุตสาหกรรมโตต่อเนื่อง เป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออก ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตร

โป๊ปวอนอย่าใช้ “ข้าวสาลี” เป็นอาวุธทำสงคราม

สมเด็จพระสันตะปาปาหรือโป๊ปฟรานซิส ประมุขคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ร้องขอให้ยกเลิกการปิดล้อมเพื่อขัดขวางการส่งออกข้าวสาลีของยูเครน โดยตรัสว่า ไม่ควรนำธัญพืชมาใช้เป็นอาวุธในการทำสงคราม

อินโดนีเซียเลิกห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มแต่นโยบายยังไม่ชัดเจน

จาการ์ตา 23 พ.ค.- อินโดนีเซียยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มในวันนี้ แต่ผู้ค้าและบริษัทต่าง ๆ ยังคงรอรายละเอียดที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามระเบียบการควบคุมปริมาณน้ำมันปาล์มปรุงอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศภายใต้ราคาควบคุม ประธานาธิบดีโจโก วิโดโดของอินโดนีเซียประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อนเรื่องยกเลิกคำสั่งห้ามออกส่งน้ำมันปาล์มดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปบางอย่าง เพราะมั่นใจว่าราคาน้ำมันปรุงอาหารในประเทศจะลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ลิตรละ 14,000 รูเปียห์ (ราว 32.72 บาท) แม้ว่าราคาเมื่อวันศุกร์ยังอยู่ที่ลิตรละ 17,000 รูเปียห์ (ราว 39.73 บาท) โดยใช้นโยบายข้อบังคับตลาดในประเทศหรือดีเอ็มโอ (DMO) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่งภายในประเทศในราคาที่กำหนดไว้ นายไอร์ลังกา ฮาร์ตาร์โต รัฐมนตรีกระทรวงประสานงานเศรษฐกิจเผยว่า รัฐบาลกำหนดให้ต้องมีน้ำมันปรุงอาหารในประเทศ 10 ล้านตัน โดยให้กระทรวงการค้าเป็นผู้กำกับดูแล อย่างไรก็ดี ผู้ค้ายังคงรอทางการประกาศรายละเอียดดีเอ็มโอและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวันนี้ น้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายอย่าง และเป็นน้ำมันปรุงอาหารถึง 1 ใน 3 ของโลก อินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดราวร้อยละ 60 ของโลก งดส่งออกตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน หวังดึงราคาในประเทศให้ลดลง แต่กระทบต่อราคาในตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันเมล็ดทานตะวันขาดแคลนเพราะสงครามยูเครน.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียจะเลิกการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มในวันจันทร์

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียประกาศว่า อินโดนีเซียจะยกเลิกมาตรการห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป หลังจากใช้นโยบายนี้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 เมษายน เพื่อควบคุมราคาน้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหารที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น แต่จะประกาศใช้ข้อกำหนดในการจำหน่ายน้ำมันปาล์มในประเทศ

ส.ส. อินโดนีเซียขอรัฐบาลทบทวนการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียแจ้งรัฐบาลในวันนี้ขอให้ทบทวนมาตรการห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์ม ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเตือนว่า มาตรการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าเนื่องจากคลังเก็บน้ำมันปาล์มใกล้จะเต็มความจุที่มีแล้ว

ยูเครนคาดจะส่งออกธัญพืชผ่านพรมแดนโปแลนด์ได้มากขึ้น

เคียฟ 17 พ.ค.- กระทรวงเกษตรยูเครนคาดว่า จะสามารถส่งออกธัญพืชได้มากขึ้น หลังจากลงนามข้อตกลงกับโปแลนด์ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านเรื่องลดความยุ่งยากของกระบวนการศุลกากร และเพิ่มเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริเวณพรมแดน กระทรวงเกษตรยูเครนแถลงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้ธัญพืชของยูเครนข้ามพรมแดนด้านโปแลนด์ได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ยูเครนเป็นผู้ปลูกและส่งออกธัญพืชรายใหญ่ของโลก แต่ถูกกองกำลังรัสเซียปิดล้อมท่าเรือทางทะเลที่ใช้เป็นช่องทางส่งออกหลัก จึงต้องเปลี่ยนไปใช้พรมแดนฝั่งตะวันตกด้านที่ติดกับโปแลนด์ ซึ่งลำเลียงทางรถไฟได้อย่างจำกัด และมีท่าเรือขนาดเล็กริมแม่น้ำดานูบ พ่อค้าและเจ้าหน้าที่ยูเครนเผยว่า กระบวนการศุลกากรและการที่โปแลนด์มีเจ้าหน้าที่บริเวณพรมแดนไม่มากทำให้การส่งออกถูกจำกัด โดยพบว่า ช่วง 10 วันแรกของเดือนพฤษภาคมยูเครนส่งออกธัญพืชได้เพียง 300,000 ตัน ลดลงกว่าครึ่งหนึ่งจาก 667,000 ตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ช่วงก่อนถูกรัสเซียยกกำลังบุกในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ยูเครนส่งออกธัญพืชได้มากถึงเดือนละ 6 ล้านตัน.-สำนักข่าวไทย

ส่งออกจีนเดือน เม.ย.โตต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี

ปักกิ่ง 9 พ.ค.- การส่งออกของจีนในเดือนเมษายนปีนี้ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี เพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่กลับมาระบาดใหม่ทำให้ต้องปิดโรงงาน จำกัดการขนส่ง และเกิดความแออัดตามท่าเรือหลัก สำนักงานศุลกากรจีนแจ้งวันนี้ว่า การส่งออกในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปี เอเอฟพีระบุว่า ต่ำที่สุดนับจากเดือนมิถุนายน 2563 แม้ว่าสูงกว่าที่บลูมเบิร์กสำรวจว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7 ก็ตาม ขณะที่การนำเข้าในเดือนเมษายนไม่ขยายตัว เทียบกับเดือนมีนาคมที่หดตัวร้อยละ 0.1 โฆษกสำนักงานศุลกากรจีนกล่าวว่า เศรษฐกิจจีนยังคงมีโอกาสที่จะฟื้นตัว และปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกยังคงไม่เปลี่ยนแปลง นักวิเคราะห์ของโนมูนะคาดว่า การส่งออกของจีนจะขยายตัวลดลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า เพราะหลายปัจจัยประกอบกัน มีตั้งแต่โควิดระบาด มาตรการจำกัดของจีนที่เคร่งครัด ความต้องการในต่างประเทศลดลง และการสูญเสียคำสั่งซื้อไปให้แก่ประเทศอื่น ขณะที่นักวิเคราะห์ของเอเอ็นซีรีเสิร์ชชี้ว่า การล็อกดาวน์เมืองใหญ่ เช่น เซี่ยงไฮ้ และต้นทุนที่สูงขึ้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกของจีนในเดือนเมษายนขยายตัวลดลง.-สำนักข่าวไทย

ผู้ส่งออกประเมินส่งออกไตรมาส 2 โตร้อยละ 3.5-5

กรุงเทพฯ 3 พ.ค.-สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ประเมินการส่งออกไตรมาส 2 ปีนี้ ขยายตัวได้ร้อยละ 3.5-5.0 แต่ยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายเรื่อง ขณะที่ทั้งปีคาดว่าการส่งออกจะเติบโตร้อยละ 5 เสนอรัฐหาช่องทางขยายตลาดส่งออก ดูแลเงินเฟ้อ นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงว่า สรท.คาดการณ์การส่งออกไทยในไตรมาสที่สองของปี 2565 เติบโตร้อยละ 3.5 – 5 โดยยังคงคาดการณ์รวมปี 2565 ทั้งปี ขยายตัวที่ร้อยละ 5 (ณ เดือนพฤษภาคม 2565) โดยมีปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญได้แก่ 1) สถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างยูเครนและรัสเซีย 2) ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง 3) ค่าระวางปรับลงเล็กน้อยแต่ยังทรงตัวในระดับสูง ในเส้นทางยุโรป 4) แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับอาจมีแนวโน้มต้นทุนการจ้างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 5) ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, แร่ธรรมชาติ, สินค้าอุปโภคบริโภคขั้นต้นและขั้นกลาง 6) สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 หลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ […]

อินโดนีเซียพร้อมขยายคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม

จาการ์ตา 26 เม.ย.- อินโดนีเซียพร้อมขยายคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม จากปัจจุบันที่ห้ามเฉพาะน้ำมันปาล์มโอเลอีนที่เป็นน้ำมันปรุงอาหาร หากตลาดในประเทศขาดแคลนน้ำมันปาล์มสำหรับปรุงอาหาร เจ้าหน้าที่รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวในการประชุมกับภาคธุรกิจวันนี้ว่า รัฐบาลห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มโอเลอีนตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน แต่ยังคงให้ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบหรือผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มอื่น ๆ แต่หากตลาดในประเทศขาดแคลนน้ำมันปาล์มโอเลอีน รัฐบาลจะขยายคำสั่งห้ามส่งออกให้ครอบคลุมน้ำมันปาล์มดิบที่ใช้ผลิตน้ำมันปาล์มโอเลอีนด้วย เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเผยเรื่องนี้ หลังจากประธานาธิบดีโจโก วิโดโดประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายนเรื่องห้ามส่งออกน้ำมันปรุงอาหารและวัตถุดิบเพื่อควบคุมราคาจำหน่ายในประเทศที่แพงขึ้น แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดในเวลานั้น ประกาศนี้ทำให้ราคาน้ำมันพืชทั่วโลกปรับขึ้นทันที เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่วัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำมันพืชอื่น ๆ ถูกกระทบอยู่แล้วจากสภาพอากาศไม่ดีและรัสเซียรุกรานยูเครนที่เป็นผู้ปลูกพืชน้ำมันรายใหญ่.-สำนักข่าวไทย

ทั่วโลกกระทบหลังอินโดนีเซียระงับส่งออกน้ำมันปาล์ม

จาการ์ตา 25 เม.ย. – ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันพืชที่พุ่งสูงขึ้นหลังอินโดนีเซียสั่งระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม ทำให้สถานการณ์ขาดแคลนน้ำมันพืชทั่วโลกย่ำแย่ลงมากขึ้นจากเดิมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการรุกรานยูเครนของรัสเซียอยู่ก่อนแล้ว ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคาดการณ์ว่า คำสั่งระงับส่งออกน้ำมันปาล์มที่อินโดนีเซียประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายนว่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 28 เมษายนเป็นต้นไป จะทำให้ราคาน้ำมันพืชทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันคาโนลา โดยจะส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นต่อผู้บริโภคในทวีปเอเชียและแอฟริกาที่กำลังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันและอาหารปรับตัวสูงขึ้นอยู่แล้ว นายเจมส์ ฟราย ประธานของแอลเอ็มซี อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและธุรกิจการเกษตรชั้นนำของโลก เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า คำสั่งระงับส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียไม่เพียงส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อปริมาณน้ำมันพืชทั่วโลกด้วย เนื่องจากการส่งออกน้ำมันพืชอื่น ๆ ก็มีปริมาณลดลงจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาภัยแล้งในแอฟริกาใต้ที่ส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันถั่วเหลือง ปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายในแคนาดาที่ส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันคาโนลา และปัญหาขาดแคลนน้ำมันดอกทานตะวันจากภาวะสงครามในยูเครน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ทั่วโลกใช้น้ำมันปาล์มคิดเป็นร้อยละ 60 ของน้ำมันพืชทั้งหมด อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันพืชรายใหญ่ของโลกคิดเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกน้ำมันพืชทั้งหมด และได้ประกาศระงับส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อรับมือกับปัญหาราคาสินค้าแพงในประเทศ ขณะนี้ ราคาน้ำมันพืชทั่วโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจากปัญหาขาดแคลนแรงงานในมาเลเซียไปจนถึงปัญหาภัยแล้งในอาร์เจนตินา ผู้ส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดในโลก และแคนาดา ผู้ส่งออกน้ำมันคาโนลารายใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงปัญหาสงครามในยูเครน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดอกทานตะวันรายสำคัญของโลก ที่ทำให้ยูเครนต้องหยุดส่งออกน้ำมันดังกล่าว. […]

ยูเครนอาจมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มถ้าเคลียร์ทุ่นระเบิดได้

เคียฟ 11 เม.ย.- ยูเครนเผยว่า พื้นที่เพาะปลูกประจำฤดูใบไม้ผลิปี 2565 อาจกลับไปแตะระดับร้อยละ 80 ของช่วงก่อนเกิดสงครามได้ หากยูเครนสามารถขจัดทุ่นระเบิดในพื้นที่ทางเหนือของประเทศได้ สำนักข่าวอูครินฟอร์มของทางการยูเครนรายงานอ้างนายตาราส วิซอตสกี รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรยูเครนว่า หากแคว้นเชอร์นิฮิวและแคว้นซูมีที่มีพื้นที่เพาะปลูกกว้างขวางสามารถกำจัดทุ่นระเบิดได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ พื้นที่เพาะปลูกอาจเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 80 ของช่วงก่อนเกิดสงครามได้ สองแคว้นนี้ถูกกองกำลังรัสเซียยึดครองไว้บางส่วนและฝังทุ่นระเบิดไว้จำนวนมากก่อนถอนกำลังออกไป อย่างไรก็ดี ยูเครนยังคงสามารถผลิตอาหารเลี้ยงตนเอง แม้พื้นที่เพาะปลูกในฤดูใบไม้ผลิจะลดลงเหลือร้อยละ 70 เพราะผลผลิตร้อยละ 30-40 จะใช้สำหรับการบริโภคในประเทศ ส่วนที่เหลือสำหรับส่งออก เจ้าหน้าที่เกษตรของยูเครนประเมินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า การรุกรานของรัสเซียอาจทำให้พื้นที่เพาะปลูกของยูเครนลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ต่อมาได้ปรับแก้ไขเป็นร้อยละ 70 หลังจากรัสเซียไม่สามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ ยูเครนเป็นผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยส่งออกผ่านท่าเรือริมทะเลดำเป็นหลัก แต่ขณะนี้ต้องเปลี่ยนไปขนส่งทางรถไฟทางฝั่งตะวันตกแทน เพราะสงครามส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามริมชายฝั่ง ราคาข้าวโพดส่งออกของยูเครนลดลง เพราะมีสินค้าในโกดังทั้งหมด 13 ล้านตันนับจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม แต่ส่งออกได้เพียง 300,000 ตันเพราะถูกจำกัดด้านการขนส่ง จนสินค้ามากเกินความต้องการ.-สำนักข่าวไทย

ผู้ส่งออกห่วงสงครามกระทบยอดคำสั่งซื้อหดตัวแรง

กรุงเทพฯ 5 เม.ย.-ผู้ส่งออกประเมินการส่งออกของไทยจะเติบโตได้ร้อยละ 5 ในปีนี้ หากการสู้รบรัสเซีย-ยูเครนไม่ขยายวงกว้างและค่าเงินบาททรงตัวที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ยอมรับหากการสู้รบยืดเยื้อกระทบการส่งออกของไทยในไตรมาส 2 คำสั่งซื้ออาจจะลดลง 4,000-5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)เปิดเผยว่า จากการติดตามและประเมินผลกระทบจากการสู้รบระหว่างรัสเซีย–ยูเครน และมาตรการตอบโต้ด้านการค้าและการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป คาดการณ์เบื้องต้นว่าอาจมีผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของต้นทุนภาคการผลิต ทั้งจากราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบปรับตัวขึ้น อาทิ เหล็ก ธัญพืช เซมิคอนดักเตอร์ อาจส่งผลให้คำสั่งซื้อจากคู่ค้าลดลงบางส่วน หากสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ไม่ขยายวงกว้างไปมากกว่านี้ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 33 บาท สรท. ประเมินว่าการส่งออกของไทย ปี 2565 จะยังเติบโตได้ที่ร้อยละ 5 (ณ เมษายน 2565) โดยการส่งออกในไตรมาสแรกจะสามารถเติบโตได้ที่ร้อยละ 8 เนื่องจากมีการยืนยันคำสั่งซื้อไว้แล้วล่วงหน้า แต่หากสถานกาณ์ยังคงยืดเยื้ออาจกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสอง โดยอาจมีคำสั่งซื้อลดลงประมาณ 4,000-5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 2 เติบโตที่ร้อยละ 2-4 ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ สถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างยูเครนและรัสเซีย […]

1 11 12 13 14 15 56
...