เร่งเตรียมพร้อมเปิดรถไฟฯสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อ

รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม ประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิด รถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ เคาะแล้วให้มีขบวนรถเข้าสถานีรถไฟหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวน กำหนดค่าโดยสารต่ำสุด 14 บาท สูงสุดไม่เกิน 42 บาท พร้อมเร่งทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อม รองรับการเปิดบริการเชิงพาณิชย์ เดือนพฤศจิกายนปีนี้

นายกฯ นำ ครม.ชมสถานี-นั่งรถไฟสายสีแดง

วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำ ครม. เยี่ยมชมสถานีกลางบางซื่อ พร้อมทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง จากบางซื่อ ไปถึงรังสิต พร้อมพบปะพูดคุยกับประชาชน

เตรียมนำ ครม. เยี่ยมชมสถานีกลางบางซื่อ 15 ธ.ค. นี้

ทำเนียบฯ 3 ธ.ค.- นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เตรียมนำคณะรัฐมนตรี เยี่ยมชมความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง จากสถานีบางซื่อไปยังสถานีดอนเมือง  หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี  วันอังคาร ที่ 15 ธันวาคม เพื่อตรวจสอบความพร้อมก่อนจะเปิดให้บริการประชาชนในเดือนมีนาคม 2564 “นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้กับคนไทย เมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเสร็จสมบูรณ์ จะกลายเป็นศูนย์กลางระบบรางที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้  จะเป็นการเชื่อมโยงระบบคมนาคมทั้งระบบ ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟเชื่อมสนามบิน รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟบีทีเอส แอร์พอร์ตลิงค์ และเชื่อมโยงไปถึง บขส. ด้วย”  นายอนุชา กล่าว    .- สำนักข่าวไทย

“ศักดิ์สยาม” แจงชัด! จำเป็นต้อง PPP สายสีแดง หลังวิกฤติโควิด-19

“ศักดิ์สยาม” แจงรถไฟสายสีแดง ต้องทำ PPP เดินรถ หลังสถานการณ์โควิด-19 รัฐใช้งบเยียวยาจำนวนมาก การดึงเอกชนร่วมลงทุนเพื่อลดภาระงบประมาณ ลดก่อหนี้สาธารณะ พร้อมยืนยันไม่เคยระบุรถไฟฟ้าสีแดงจะเปิดให้บริการปี 2566 โดยมีรายงานข่าวระบุว่ากรมรางฯ ดันแผนก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2564

สนข.ฟันธงรถไฟฟ้าสายแรกในเชียงใหม่เริ่่มได้ตามเป้าหมาย

กรุงเทพฯ 8 ก.ย. สนข. มั่นใจก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าเส้นแรกในจังหวัดเชียงใหม่ได้ตามเป้า นำร่องสายสีแดง 12 กิโลเมตร เงินลงทุนพุ่งเกือบแสนล้านเพราะเป็นระบบใต้ดิน นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ ศึกษาและสำรวจเส้นทางการพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ในจังหวัดเชียงใหม่  โดยมั่นใจว่า จะสามารถเริ่มเดินหน้าตามเป้าหมาย สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบา  ในจังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังได้สรุปแนวทางก่อสร้างใน รูปแบบ A วิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน ระยะทาง 35 กิโลเมตร งบลงทุนรวม 8.6 หมื่นล้านบาท เพราะมองว่ามีความเหมาะสมกว่ารูปแบบ B ที่เป็นการติดตั้งรางแทรมบนถนน (LRT) จากสภาพถนนในเชียงใหม่ที่แคบ อาจทำให้การจราจรติดขัดมากขึ้น แม้จะใช้เวลาก่อสร้างและวงเงินลงทุนสูงกว่าก็ตาม “ทั้งนี้ที่วงเงินลงทุน สูงเกือบ 100,000 ล้าน เนื่องจาก มีการลงทุน เป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 70 % ของเส้นทาง ซึ่งมีการลงทุนมากกว่า ระบบลอยฟ้าถึง 3 เท่า”นายชัยวัฒน์กล่าว อีกทั้งยังเป็นความต้องการของชาวบ้านที่ต้องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมรอบคูเมืองและเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ไว้ดังเดิม […]

1 2
...