โพสต์หลอกลวงทางการแพทย์เกลื่อนโซเชียลฟิลิปปินส์

มะนิลา 16 มี.ค.- ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า สื่อสังคมออนไลน์ของฟิลิปปินส์เต็มไปด้วยโพสต์หลอกลวงทางการแพทย์ มีทั้งสินค้าที่อ้างว่าได้รับการรับรองจากทางการ และการตัดต่อคลิปสร้างความเข้าใจผิด ทีมตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักข่าวเอเอฟพีเผยว่า ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากพึ่งพาการรักษาทางออนไลน์ตั้งแต่ยังไม่มีโรคโควิด-19 ระบาด เพราะเสียค่าใช้จ่ายต่ำและสะดวก ต่อมาในช่วงที่โควิดระบาดพบว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ไม่ผ่านการทดสอบและวิธีการรักษาโรคเรื้อรังอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มาในรูปแบบของโพสต์ฟรีและโพสต์เสียเงินในเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมที่สุดของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 76 ล้านคนในฟิลิปปินส์ โพสต์เหล่านี้อยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนโดยไม่ถูกเฟซบุ๊กตรวจพบ นอกจากนี้ยังมีการนำรายงานข่าวมาบิดเบือน และนำคลิปของบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้ข้อมูลเรื่องสุขภาพมาตัดต่อบิดเบือนเพื่อใช้โฆษณาสินค้าเหล่านี้ สตรีฟิลิปปินส์คนหนึ่งที่เป็นผู้ทำคลิปเผยแพร่ออนไลน์หรือวล็อกเกอร์โพสต์คลิปความยาว 15 นาทีเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 มีคนดูมากกว่าหมื่นครั้ง อ้างกับผู้ติดตามในยูทูบว่า สบู่รูปหัวใจที่เธอถืออยู่ช่วยให้ช่องคลอดกระชับและได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยาฟิลิปปินส์ ทั้งที่สำนักงานฯ เคยเตือนผู้บริโภคว่าอย่าใช้สบู่ที่ไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เพราะเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีตั้งแต่ระคายเคืองไปจนถึงทำให้อวัยวะล้มเหลว เธอยอมรับในคลิปที่โพสต์ในอีกไม่กี่เดือนถัดมาว่า เกาด้วยความระคายเคืองถึงขั้นเลือดออก แต่ก็ยังคงโฆษณาต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้สบู่มากเกินไปอาจทำให้ผิวแห้ง จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ว่า หากใช้สบู่ตอนอาบน้ำมากเกินไปจะทำให้ผิวแห้ง เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาสีฟันลบรอยเปื้อนบนรถได้ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำสูตรการลบรอยเปื้อนบนรถด้วยยาสีฟัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

...