AI-generated hacker

จีนเตือนชาวเน็ตระวังแฮกเกอร์ไต้หวันโจมตีมาตั้งแต่ต้นปี

ปักกิ่ง 23 ก.ย.- จีนเตือนว่า กลุ่มเจาะระบบคอมพิวเตอร์หรือแฮกเกอร์ชาวไต้หวันได้โจมตีไซเบอร์กับเป้าหมายในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊ามาตั้งแต่ต้นปี ขอให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแจ้งทางการหากพบการกระทำที่ต่อต้านการเผยแพร่ข่าวของรัฐ กระทรวงความมั่นคงแห่งชาติของจีนโพสต์บล็อกผ่านบัญชีวีแชทในวันนี้ว่า กลุ่มแฮกเกอร์ชื่ออะนอนิมัส 64 (Anonymous 64) ที่สังกัดหน่วยงานการทำสงครามไซเบอร์ของไต้หวัน ได้พยายามอัปโหลดและแพร่ภาพกระจายเสียงเนื้อหาให้ร้ายระบบการเมืองและนโยบายหลักของจีนผ่านทางเว็บไซต์ จอกลางแจ้ง และสถานีโทรทัศน์มาตั้งแต่ต้นปี ผลการสอบสวนพบว่า เว็บไซต์จำนวนมากที่แฮกเกอร์กลุ่มนี้อ้างว่าสามารถแฮกได้ล้วนแต่เป็นเว็บไซต์ปลอม หรือแทบไม่มีการเคลื่อนไหว ส่วนโพสต์ที่อ้างว่าสามารถแทรกซึมเข้าไปในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยสื่อต่าง ๆ ล้วนแต่ใช้เทคนิคการตกแต่งภาพ กระทรวงความมั่นคงแห่งชาติของจีนเผยด้วยว่า ได้เปิดการสอบสวนสมาชิก 3 คนของหน่วยงานการทำสงครามไซเบอร์ของไต้หวันแล้ว และขอแนะนำผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่าเชื่อ หรือแพร่กระจายข่าวลือ และควรแจ้งทางการด้านความมั่นคงแห่งชาติทันทีที่พบการโจมตีไซเบอร์ หรือการต่อต้านการเผยแพร่ข่าวของรัฐ ที่ผ่านมาไต้หวันมักกล่าวหากลุ่มในจีนว่า พยายามแพร่กระจายข้อมูลเท็จออนไลน์ หรือโจมตีไซเบอร์ในไต้หวัน รอยเตอร์รายงานว่า บัญชีเอ็กซ์ (X) ของกลุ่มอะนอนิมัส 64 ระบุว่า ตั้งกลุ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2566 และได้โพสต์ภาพหน้าจอของการเผยแพร่คลิปเปรียบเทียบประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเป็นจักรพรรดิ คลิปรำลึกครบรอบ 2 ปีของการประท้วงต่อต้านมาตรการจำกัดโควิดของจีน และคลิปรำลึกถึงการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินปี 2532.-814.-สำนักข่าวไทย  

จีนโต้ข้อกล่าวหาของสหรัฐ-อังกฤษเรื่องโจมตีไซเบอร์

ปักกิ่ง 26 มี.ค.- จีนเรียกร้องให้สหรัฐและอังกฤษยุติการนำเรื่องโจมตีไซเบอร์มาเป็นประเด็นทางการเมือง ใส่ร้ายป้ายสีจีน และใช้มาตรการคว่ำบาตรจีนตามอำเภอใจ โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนกล่าวระหว่างการแถลงข่าวตามปกติในวันนี้ว่า การที่สหรัฐและอังกฤษรื้อฟื้นเรื่องที่อ้างว่าจีนโจมตีไซเบอร์ และใช้มาตรการคว่ำบาตรบุคคลและนิติบุคคลจีน เป็นแผนการทางการเมืองอย่างแท้จริง จีนไม่พอใจเรื่องนี้อย่างยิ่งและคัดค้านอย่างรุนแรง โฆษกกล่าวว่า จีนได้ตรวจสอบและดำเนินการตามที่ได้รับข้อมูลจากอังกฤษเรื่องเอพีที 31 (APT31) ซึ่งเป็นชื่อที่อังกฤษและสหรัฐใช้เรียกกลุ่มแฮกเกอร์ที่ทั้ง 2 ประเทศระบุว่าเป็นหน่วยงานของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีน ข้อมูลของอังฤษมีหลักฐานไม่เพียงพอ ขณะที่ข้อสรุปขาดความเป็นมืออาชีพ แต่หลังจากที่จีนแจ้งกลับไป อังกฤษก็ไม่ดำเนินการใด ๆ ต่อ โฆษกจีนแถลงเรื่องนี้หลังจากเมื่อวันจันทร์ทางการสหรัฐและอังกฤษได้ตั้งข้อหา ใช้มาตรการคว่ำบาตร และกล่าวหารัฐบาลจีนว่า ดำเนินโครงการจารกรรมไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบต่อคนหลายล้านคน ขณะที่รัฐบาลนิวซีแลนด์แถลงในวันนี้ว่า ได้หยิบยกเรื่องรัฐบาลจีนพัวพันกับการเจาะระบบรัฐสภานิวซีแลนด์เมื่อปี 2564 ขึ้นหารือกับทางการจีน.-814.-สำนักข่าวไทย

เผยแฮกเกอร์รัสเซียแฝงตัวในระบบสื่อสารยูเครนหลายเดือน

เคียฟ 4 ม.ค.- เจ้าหน้าที่ด้านไซเบอร์ของยูเครนเผยว่า กลุ่มนักเจาะระบบหรือแฮกเกอร์รัสเซียได้แฝงตัวอยู่ในระบบของบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของยูเครนมาตั้งเดือนพฤษภาคมเป็นอย่างน้อย เรื่องนี้ถือเป็นคำเตือนครั้งใหญ่ต่อชาติตะวันตก นายอิเลีย วีทุก หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงไซเบอร์ สำนักงานความมั่นคงแห่งยูเครนหรือเอสบียู (SBU) ให้สัมภาษณ์พิเศษรอยเตอร์เล่ารายละเอียดของการแฮกดังกล่าวที่เขาระบุว่า สร้างความเสียหายร้ายแรง โดยมุ่งหวังผลกระทบทางจิตวิทยาและเก็บรวบรวมข้อมูล นายวีทุกเผยว่า เอสบียูพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์พยายามแทรกซึมระบบของเคียฟสตาร์ (Kyivstar) ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของยูเครนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 หรือก่อนหน้านั้น และเข้ามาอยู่ในระบบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นได้ทำให้ผู้ใช้งานของบริษัทที่มีมากถึง 24 ล้านคนใช้บริการไม่ได้หลายวันตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม เป็นการแฮกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากบุกยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เอสบียูประเมินว่า กลุ่มแฮกเกอร์น่าจะสามารถจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ทราบตำแหน่งของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดักรับข้อความสั้น และอาจจารกรรมบัญชีแอบพลิเคชันเทเลแกรมด้วย  ด้านโฆษกของเคียฟสตาร์เผยว่า บริษัทกำลังประสานงานกับเอสบียูอย่างใกล้ชิดในการสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น และจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อขจัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต.-814(813).-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PRETEXTING ? — ภัยคุกคามยุคใหม่ในการล้วงข้อมูล

16 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้… คือภัยคุกคามยุคใหม่ทางวิศวกรรมสังคม ที่ใช้หลักจิตวิทยาในการหลอกลวงให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ และสิ่งนี้… เป็นเทคนิคสำคัญที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อขโมยเงิน หรือข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งกว่า 88% ดำเนินการผ่านอีเมล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

แฮกเกอร์เกาหลีเหนือขโมยอีเมล์คนเกาหลีใต้ 1,500 บัญชี

กลุ่มนักเจาะระบบคอมพิวเตอร์ หรือ แฮกเกอร์เกาหลีเหนือ ชโมยบัญชีอีเมล์ของประชาชนเกาหลีใต้เกือบ 1,500 บัญชี ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลรวมอยู่ด้วยหลายสิบคนในปีนี้

ระบุตำแหน่งอย่างไรให้ปลอดภัย| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

2 ตุลาคม 2566 บริการระบุตำแหน่งบนโทรศัพท์มือถือมอบความสะดวกให้กับเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การนำทาง หรือการค้นหาตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ แต่หารู้ไม่ว่า อาจมีสิ่งที่คุณไม่คาดคิดจากเหล่าแฮกเกอร์แอบแฝงอยู่ก็ได้ มาร่วมหาวิธีป้องกัน และตั้งค่าการระบุตำแหน่งเพื่อทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

แฮกเกอร์ป่วน! ญี่ปุ่นต้องระงับบริการท่าเรือนาโกยา

ญี่ปุ่นต้องระงับบริการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือนาโกยา หลังถูกกลุ่มแฮกเกอร์โจมตี จนทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมขัดข้อง

“ชัยวุฒิ” ยัน จ.ส.ท.แฮกเกอร์ไม่เกี่ยวการเมือง

“ชัยวุฒิ” ยัน “จ.ส.ท.” แฮกเกอร์ “9near” ไม่เกี่ยวการเมือง แต่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือดิสเครดิต ระบุข้อมูลยังไม่ถูกขาย แค่สร้างกระแสในโซเชียล

บริษัทการเงินออสเตรเลียไม่จ่ายค่าไถ่ตามที่แฮกเกอร์ขู่

ซิดนีย์ 11 เม.ย.- บริษัทการเงินในออสเตรเลียตัดสินใจไม่จ่ายค่าไถ่ให้แก่ผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์หรือแฮกเกอร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย ละติจูด ไฟแนนเชียล (Latitude Financial) ซึ่งเป็นบริษัทปล่อยสินเชื่อและบัตรเครดิต เผยเมื่อเดือนมีนาคมว่า แฮกเกอร์ได้ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประมาณ 14 ล้านราย และเมื่อไม่นานมานี้บริษัทได้รับคำขู่เรียกค่าไถ่จากกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีไซเบอร์ดังกล่าว แต่ไม่ให้ความสนใจตามที่รัฐบาลแนะนำ บริษัทชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียในวันนี้ว่า จะไม่ให้รางวัลแก่พฤติกรรมของอาชญากร และไม่เชื่อว่าแฮกเกอร์จะคืนหรือทำลายข้อมูลที่ขโมยไปหากได้เงินค่าไถ่ การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมให้มีความพยายามขู่กรรโชกมากยิ่งขึ้น ละติจูด ไฟแนนเชียลไม่ได้เปิดเผยข้อเรียกร้องของแฮกเกอร์ โดยเผยเพียงว่าข้อมูลที่ถูกขโมยประกอบด้วยใบขับขี่ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จำนวน 7 ล้าน 9 แสนราย หมายเลขหนังสือเดินทางจำนวน 53,000 เลขหมาย ข้อมูลย้อนไปถึงปี 2548 จำนวน 6 ล้าน 1 แสนรายซึ่งประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และวันเดือนปีเกิด ด้านรัฐมนตรีมหาดไทยออสเตรเลียที่เคยประณามแฮกเกอร์ว่าเป็นอาชญากรชั้นต่ำกล่าวว่า การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมรูปแบบการทำธุรกิจด้วยการเรียกค่าไถ่ เพราะอาชญากรเหล่านี้มักกลับมาเรียกค่าไถ่เหยื่อซ้ำอีก ทั้งที่รับปากว่าจะยุติหลังจากได้เงินค่าไถ่แล้ว.-สำนักข่าวไทย

ทบ.สั่งพักราชการ “จ่าสิบโท” ผู้ต้องหาคดีแฮกเกอร์

ทบ.สั่งพักราชการ “จ่าสิบโท” ผู้ต้องหาคดี “แฮกเกอร์” ให้หน่วยต้นสังกัดเร่งติดตามตัวทุกช่องทาง เพื่อเข้าสู่กระบวนการทางคดี

1 2 3 8
...