fbpx

ยูเอ็นเผยเมียนมาใช้อาวุธนำเข้าสร้างความโหดร้าย

ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) เผยว่า กองทัพเมียนมาได้นำเข้าอาวุธมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 34,297 ล้านบาท) นับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2564 และนำอาวุธเหล่านี้มาสร้างความโหดร้ายและใช้ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ยูเอ็นเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติจากไซโคลน “โมคา”

นิวยอร์ก 13 พ.ค.- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นจากการที่ไซโคลนโมคา (Mocha) จะพัดถล่มบังกลาเทศและเมียนมาราวเที่ยงวันอาทิตย์นี้ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานหรือไอโอเอ็ม (IOM) แจ้งว่า ไซโคลนโมคากำลังมุ่งหน้าตรงไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ เจ้าหน้าที่ไอโอเอ็มเผยจากเมืองค็อกบาซาร์ที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเกือบล้านคนอาศัยตามค่ายต่าง ๆ เผยว่า บังกลาเทศมีแผนความเตรียมพร้อมขนานใหญ่ไว้แล้ว โดยมีไอโอเอ็มเข้าร่วมด้วย ค่ายผู้ลี้ภัยแต่ละค่ายจะมีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมแล้วคอยดูแล 100 คน และมีการใช้ระบบเตือนภัยด้วยธงในค่ายผู้ลี้ภัย 17 แห่งที่ไอโอเอ็มดูแลอยู่ อาสาสมัครทุกคนมีชุดอุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล และมีการจัดเตรียมชุดสุขอนามัยและอุปกรณ์ที่พักฉุกเฉินไว้พร้อม ด้านองค์การอนามัยโลกแจ้งว่า ได้เตรียมพร้อมรถฉุกเฉิน 40 คัน และทีมแพทย์เคลื่อนที่ 33 ทีมไว้ที่ค็อกซ์บาซาร์แล้ว เช่นเดียวกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งยูเอ็นหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ที่ได้จัดเตรียมอาหารแห้ง 230 ตัน และบิสกิตเสริมสารอาหาร 24.5 ตัน รวมทั้งเตรียมพร้อมจัดส่งอาหารร้อนวันละ 50,000 ชุดในกรณีที่จำเป็น ด้านสำนักงานมนุษยธรรมยูเอ็นแจ้งว่า ชุมชนในเมียนมาได้รับแจ้งให้เตรียมตัวรับมือไซโคลนโมคา และมีการประกาศใช้แผนเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมทั่วทั้งเมียนมาแล้วตั้งแต่ต้นสัปดาห์ องค์กรมนุษยธรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐยะไข่ได้ตระเตรียมบุคลากรและสิ่งจำเป็นเท่าที่สามารถหาได้ ปัจจุบันมีคนในรัฐยะไข่และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมาต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากถึง 6 ล้านคน และมีคนพลัดถิ่นประมาณ 1 ล้าน […]

เลขาฯ ยูเอ็นส่งผู้แทนไปซูดาน

วอชิงตัน 1 พ.ค.- นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติหรือยูเอ็นส่งผู้แทนไปยังซูดานที่กำลังเกิดสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะที่การสู้รบในซูดานล่วงเลยเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 แล้ว โฆษกของนายกูเตอร์เรสแถลงว่า เนื่องจากวิกฤตด้านมนุษยธรรมในซูดานกำลังเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว นายมาร์ติน กริฟฟิธส์ ผู้ประสานการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินของยูเอ็นจะเร่งเดินทางไปยังซูดานโดยทันที โฆษกระบุด้วยว่า สถานการณ์ที่กำลังลุกลามอย่างรวดเร็วอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในซูดาน ด้านนายกริฟฟิธส์แถลงว่า สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในซูดานใกล้ถึงจุดแตกหักแล้ว เขากำลังเดินทางไปซูดานเพื่อหาลู่ทางว่าจะสามารถบรรเทาทุกข์ให้แก่ชาวซูดานหลายล้านคนที่ต้องตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่มีความพลิกผันในชั่วข้ามคืนได้อย่างไร เนื่องจากสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่มีอยู่ตามสำนักงานและโกดังถูกปล้นชิงไปเกือบหมด จึงต้องหาทางนำสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าไปเพิ่มเติม และสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องยุติการสู้รบ นายกริฟฟิธส์ระบุด้วยว่า ครัวเรือนในซูดานกำลังขาดแคลนอาหาร น้ำ เชื้อเพลิง และสิ่งจำเป็นต่าง ๆ หลายครัวเรือนไม่สามารถอพยพออกจากพื้นที่ที่มีการสู้รบได้เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ขณะที่บริการด้านสาธารณสุขถูกจำกัดอย่างมาก ทำให้คนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ การสู้บระหว่างกองทัพกับกองหนุนเคลื่อนที่เร็วหรืออาร์เอสเอฟ (RSF) ที่เปิดฉากมาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ทำให้มีคนล้มตายแล้วมากกว่า 500 คน และต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่นอีกหลายหมื่นคน.-สำนักข่าวไทย

สู้รบหนักหน่วงในเมืองหลวงซูดานอีกวันนี้

คาร์ทูม 30 เม.ย.- มีการสู้รบกันอย่างหนักหน่วงในกรุงคาร์ทูมของซูดานอีกครั้งในวันนี้ ทั้งที่ยังอยู่ในช่วงเวลาของการหยุดยิง ขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีซูดานเตือนว่าสถานการณ์อาจลุกลามจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบ กองทัพบกและกองหนุนเคลื่อนที่เร็วหรืออาร์เอสเอฟ (RSF) เปิดฉากปะทะกันมาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน และยังคงสู้รบกันอยู่แม้ว่าข้อตกลงหยุดยิงล่าสุดจะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการหลังเที่ยงคืนนี้ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของกรุงคาร์ทูมเผยว่า มีการต่อสู้กันอย่างหนักหน่วง ได้ยินเสียงปืนดังทุกนาทีมาตั้งแต่เช้า ขณะเดียวกันมีรายงานการปะทะรอบกองบัญชาการกองทัพบกใจกลางกรุงคาร์ทูม นอกจากนี้กองทัพยังใช้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในเมืองออมดูร์มานที่เป็นเมืองคู่แฝดของกรุงคาร์ทูมด้วย นายอับดัลลา ฮัมด็อค อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวในที่กรุงไนโรบีของเคนยาว่า สถานการณ์ในซูดานอาจกลายเป็นสงครามกลางเมืองเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของโลก หากไม่สามารถหยุดยั้งได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และจะกลายเป็นฝันร้ายของโลก นายฮัมด็อคลาออกเมื่อเดือนมกราคม 2565 หลังจากถูกประชาชนประท้วงเพราะไม่พอใจที่เขาทำข้อตกลงแบ่งปันอำนาจกับกองทัพที่รัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุขซูดานแจ้งเมื่อวันเสาร์ว่า มีคนล้มตายแล้ว 528 คน บาดเจ็บราว 4,600 คน มีการสู้รบใน 12 รัฐจากทั้งหมด 18 รัฐ รวมถึงภูมิภาคดาร์ฟูร์ สหประชาชาติหรือยูเอ็นเตือนว่า การสู้รบอาจทำให้คนในซูดานอดอยากอีกหลายล้านคน จากปัจจุบันที่อดอยากอยู่แล้ว 15 ล้านคน และมีคนพลัดถิ่นแล้ว 75,000 คน โดยอพยพไปชาด 20,000 คน เซาท์ซูดาน 4,000 คน […]

เลขาฯ ยูเอ็น หนุนแอฟริกานำแก้วิกฤติซูดาน

เลขาธิการสหประชาชาติ หนุนแอฟริกาเป็นคนกลางผลักดันการเจรจาแก้วิกฤติและสร้างสันติภาพ ในซูดาน ขณะที่การสู้รบในซูดานเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 500 ราย

จีนกล่าวหายูเอ็นอ้าง “ไร้มูล” เรื่องจีนบังคับใช้แรงงานชาวทิเบต

ปักกิ่ง 28 เม.ย.- จีนกล่าวหาคณะผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ว่า กล่าวอ้างโดยไม่มีมูลความจริงจากการกล่าวหารัฐบาลจีนว่าบังคับชาวทิเบตจำนวนมากไปเข้าโครงการที่คุกคามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวทิเบต และอาจนำมาซึ่งการบังคับใช้แรงงาน โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนแถลงในวันนี้ว่า ทิเบตมีเสถียรภาพทางสังคม มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีเอกภาพทางชาติพันธุ์ มีความกลมกลืนทางศาสนา ประชาชนใช้ชีวิตอย่างสันติ ความกังวลของคณะผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นจึงไร้มูลอย่างสิ้นเชิง ขอให้คณะผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เคารพข้อเท็จจริงพื้นฐาน และอย่าตกเป็นเครื่องมือหรือผู้สมรู้ร่วมคิดกับกลุ่มต่อต้านจีน คณะผู้รายงานพิเศษของยูเอ็น 6 คนออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดีแสดงความกังวลต่อโครงการฝึกอาชีพและเคลื่อนย้ายแรงงานในจีนว่า กำลังถูกใช้เป็นเครื่องบังหน้าเพื่อบ่อนทำลายอัตลักษณ์ทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมของชาวทิเบต และเพื่อเฝ้าจับตาและล้างสมองชาวทิเบต แถลงการณ์ระบุว่า มีรายงานว่าชาวทิเบตหลายแสนคนถูกทำให้เปลี่ยนจากการมีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม ไปเป็นแรงงานไร้ทักษะค่าจ้างต่ำตั้งแต่ปี 2558 ผ่านโครงการที่ระบุว่าเป็นความสมัครใจ แต่แท้จริงแล้วเป็นการบังคับให้ทำงาน.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นชี้ญี่ปุ่นควรคว่ำบาตรเมียนมา

โตเกียว 28 เม.ย.- ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ชี้ว่า ญี่ปุ่นควรคว่ำบาตรเมียนมาเช่นเดียวกับที่คว่ำบาตรรัสเซียเรื่องรุกรานยูเครน และได้ประณามเมียนมาว่าป่าเถื่อนและกดขี่ประชาชน นายโทมัส แอนดรูว์ส ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในเมียนมากล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังจากเสร็จสิ้นการตระเวนพบกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นว่า สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาน่ากลัวและเลวร้ายลง ขอเรียกร้องให้ญี่ปุ่นพิจารณาเรื่องร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) ใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างเจาะจงกับกองทัพเมียนมาและแหล่งรายได้หลักของเมียนมา ดังที่ญี่ปุ่นกำลังใช้กับรัสเซียในวิกฤตยูเครน เพราะการคว่ำบาตรจะทำให้รัฐบาลทหารเมียนมาถูกลดทอดศักยภาพในการทำร้ายประชาชน ญี่ปุ่นได้ระงับโครงการความช่วยเหลือโครงการใหม่ ๆ หลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนางออง ซาน ซู จี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ไม่มีผลต่อโครงการที่ยังดำเนินอยู่ กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นแถลงเมื่อเดือนกันยายน 2565 ว่า ได้ยุติการรับสมัครคนเข้าโครงการฝึกฝนทหารเมียนมาแล้ว แต่นายแอนดรูว์สได้ขอให้ญี่ปุ่นยุติโครงการโดยทันที ไม่เช่นนั้นกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะถูกโยงกับระบอบทหารที่โหดร้าย เพราะทหารเมียนมาที่รับการฝึกสู้รบและเรียนรู้การเป็นทหารและผู้บังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพจะกลับไปรับใช้กองทัพที่ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นฯ ขอให้ญี่ปุ่นนำงบประมาณสำหรับโครงการช่วยเหลือโครงการใหม่ ๆ ที่ถูกระงับไปแล้ว ไปใช้สนับสนุนโครงการปันส่วนอาหารให้แก่ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในบังกลาเทศราว 1 ล้านคน ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ส่วนใหญ่อพยพมาหลังจากกองทัพเมียนมายกกำลังไปปราบปรามในปี 2560 โครงการปันส่วนอาหารถูกตัดลดงบประมาณไปแล้วร้อยละ 17 ในเดือนมีนาคม และกำลังจะถูกลดลงอีกร้อยละ 20 ซึ่งจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเด็ก ๆ […]

ยูเอ็นประณามการสู้รบในซูดานที่โจมตีพลเรือน

สหประชาชาติ 26 เม.ย.- หัวหน้าคณะทำงานของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ในซูดานประณามการสู้รบในซูดานที่ไม่เคารพกฎหมายและบรรทัดฐานของการทำสงคราม จากการที่มีพลเรือนและโรงพยาบาลตกเป็นเป้าโจมตี นายโฟลเกอร์ แพธีส ผู้แทนพิเศษยูเอ็นด้านซูดานแถลงต่อคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น (UNSC) จากเมืองพอร์ตซูดานในซูดานว่า ทั้ง 2 ฝ่ายที่สู้รบกันไม่เคารพกฎหมายและบรรทัดฐานของการทำสงคราม จากการโจมตีพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นโดยไม่คำนึงถึงพลเรือน โรงพยาบาล หรือแม้แต่ยวดยานที่กำลังลำเลียงผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย ขณะนี้ยังคงมีการสู้รบกันตามสถานที่ทางยุทธศาสตร์ในกรุงคาร์ทูม รวมถึงท่าอากาศยานนานาชาติคาร์ทูม บางพื้นที่มีการสู้รบรุนแรงขึ้นด้วย ทั้งที่สหรัฐประกาศหยุดยิงนาน 72 ชั่วโมงเมื่อวันจันทร์ระหว่างกองทัพและกองหนุนเคลื่อนที่เร็วหรืออาร์เอสเอฟ (RSF) ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่สู้รบกันมาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน นายแพธีสกล่าวด้วยว่า ยังไม่มีสัญญาณชัดเจนจากฝ่ายใดว่าพร้อมเจรจาอย่างจริงจัง บ่งชี้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายอาจคิดว่าจะสามารถเอาชนะอีกฝ่ายได้ ด้านนายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นย้ำว่า การสู้รบในซูดาน ซึ่งเป็นประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของทวีปอาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ เนื่องจากซูดานมีพรมแดนติดกับ 7 ประเทศที่มีการสู้รบหรือมีความไม่สงบอยู่แล้ว.-สำนักข่าวไทย

มีคนเจ็บ-ตายร่วม 2,000 จากเหตุนายพลแย่งอำนาจในซูดาน

คาร์ทูม 18 เม.ย.- ผู้แทนสหประชาชาติหรือยูเอ็นแจ้งว่า มีคนเสียชีวิตแล้ว 185 คน บาดเจ็บราว 1,800 คน จากการที่กองกำลังของนายพล 2 นายที่แย่งชิงอำนาจกันในซูดาน สู้รบกันในเขตเมืองตลอด 3 วันที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังทำให้โรงพยาบาลเสียหายและกลุ่มบรรเทาทุกข์ต้องยุติภารกิจ นายโฟลเกอร์ แพร์เธส ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการยูเอ็นประจำซูดานแจ้งตัวเลขและสถานการณ์ดังกล่าวต่อที่ประชุมปิดของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น เขาเผยกับสื่อหลังการประชุมว่า สถานการณ์ผันผวนมากจนยากจะบอกได้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ก่อนหน้านี้นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นเรียกร้องอีกครั้งให้ฝ่ายที่สู้รบกันในซูดานยุติความเป็นปรปักษ์กันโดยทันที ไม่เช่นนั้นสถานการณ์จะเลวร้ายลงจนเป็นภัยต่อซูดานและภูมิภาค สหภาพแพทย์ในซูดานแจ้งว่า การสู้รบได้ทำให้โรงพยาบาลในกรุงคาร์ทูมและอีกหลายเมืองเสียหายหนัก บางแห่งไม่สามารถให้บริการได้เลย ขณะที่องค์การอนามัยโลกเผยว่า โรงพยาบาลในกรุงคาร์ทูมที่กำลังรักษาประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบกำลังขาดแคลนเลือด และสิ่งจำเป็นต่อการช่วยชีวิต นอกจากนี้ยังมีการปล้นชิงเวชภัณฑ์และสิ่งของบรรเทาทุกข์ องค์กรการกุศลจำนวนมากต้องยุติภารกิจในซูดานเป็นการชั่วคราว กระทบต่อชาวซูดาน 1 ใน 3 ของประเทศที่ต้องรับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ กองกำลังของนายพล 2 นายที่ร่วมกันรัฐประหารยึดอำนาจในปี 2564 คือ นายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการกองทัพ และนายพลมูฮัมหมัด ฮัมดาน ดักโกล ที่ควบคุมกองหนุนเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหาร ได้แย่งชิงอำนาจกันมาหลายสัปดาห์ และบานปลายกลายเป็นการต่อสู้กันอย่างรุนแรงตั้งแต่วันเสาร์ […]

ยูเอ็นกล่าวหารัสเซีย-ยูเครนประหารเชลยสงครามอย่างรวบรัด

เคียฟ 25 มี.ค.-สหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เผยว่า มีความกังวลอย่างยิ่งที่กองกำลังรัสเซียและยูเครนในสนามรบได้ทำการประหารชีวิตเชลยสงครามอย่างรวบรัด นางมาทิลดา บ็อกเนอร์ หัวหน้าคณะติดตามสิทธิมนุษยชนในยูเครนของยูเอ็นแถลงที่กรุงเคียฟของยูเครนเมื่อวันศุกร์ว่า คณะติดตามฯ ของเธอได้บันทึกรายงานการสังหารของทั้งสองฝ่ายเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีความกังวลอย่างยิ่งที่กองกำลังยูเครนได้สังหารชาวรัสเซียที่เป็นเชลยสงครามและทหารที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมรบมากถึง 25 คน ซึ่งมักเกิดขึ้นทันทีที่มีการจับกุมในสนามรบ คณะติดตามฯ ทราบมาว่า ทางการยูเครนกำลังสอบสวน 5 เหตุการณ์ที่มีเหยื่อ 22 คน แต่ไม่ได้ยินข่าวการสอบสวนผู้กระทำผิด ขณะเดียวกันก็มีความกังวลอย่างยิ่งที่กองกำลังรัสเซียได้สังหารเชลยสงครามชาวยูเครน 15 คน ทันทีที่จับกุมได้ ในจำนวนนี้ 11 คน ถูกสังหารโดยกลุ่มแวกเนอร์ซึ่งเป็นทหารรับจ้างของรัสเซียที่อ้างว่ากำลังได้เปรียบในสมรภูมิบักห์มุต แคว้นโดเนตสก์ ทางตะวันออกของยูเครน เป็นสมรภูมิที่นองเลือดที่สุดและยาวนานที่สุด นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มทำสงครามในยูเครนเมื่อกว่า 1 ปีก่อน รายงานของคณะติดตามฯ อ้างว่า เจ้าหน้าที่กองทัพยูเครนขู่เอาชีวิตหรือขู่ใช้ความรุนแรงทางเพศกับเชลยสงครามชาวรัสเซีย บางครั้งทำร้ายทุบตีโดยระบุว่าเป็นการแก้แค้นให้เมืองบูจา ชานกรุงเคียฟที่มีการสังหารหมู่ชาวยูเครน และใช้กระแสไฟฟ้าช็อตระหว่างการสอบปากคำ ขณะที่เจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียทรมาน ใช้ความรุนแรงทางเพศ ไม่ให้อาหาร น้ำและการดูแลสุขภาพอย่างเพียงพอกับเชลยสงครามชาวยูเครน เพื่อรีดเค้นข้อมูลหรือเป็นการลงโทษ หลายคนถูกทำร้ายร่างกายจนแขน ขา ฟัน หรือจมูกหัก.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นห่วง 52 ประเทศเสี่ยงจมหนี้

ยูเอ็นเตือนให้หามาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือ 52 ประเทศทั่วโลกที่มีภาระหนี้ต่างประเทศ ต้องใช้เงินราว 1 ใน 5 ของรายได้คงคลัง เพื่อเคลียร์หนี้ สุ่มเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้

พันธมิตรยูเครนประกาศเพิ่มความแข็งแกร่ง

วอร์ซอ 23 ก.พ.- ผู้นำสหรัฐและยุโรปที่เป็นพันธมิตรของยูเครนประกาศเสริมสร้างการป้องกันให้แข็งแกร่งโดยครอบคลุมตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงทะเลดำ ขณะที่สหประชาชาติเตรียมลงมติเรื่องการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน ก่อนครบ 1 ปีที่รัสเซียรุกรานยูเครน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ เข้าร่วมการประชุมเมื่อวันพุธตามเวลากรุงวอร์ซอของโปแลนด์ กับนายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต และผู้นำประเทศในยุโรปตะวันออกที่เกรงว่าสงครามในยูเครนจะลุกลามเข้ามาในประเทศตนเอง ประกอบด้วยบัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย และสโลวาเกีย หารือเรื่องการเพิ่มการสนับสนุนยูเครน ที่ประชุมแถลงหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า จะเดินหน้าเสริมสร้างการป้องปรามและป้องกันทั่วทั้งยุโรป ครอบคลุมตั้งแต่ทะเลบอลติกที่อยู่ทางยุโรปเหนือไปจนถึงทะเลดำที่อยู่ระหว่างยุโรปกับเอเชีย ขณะที่เลขาธิการนาโตขอให้ชาติสมาชิกเพิ่มการสนับสนุนยูเครน เพราะไม่สามารถปล่อยให้รัสเซียเดินหน้าทำลายความมั่นคงของยุโรป ขณะเดียวกันสมัชชาใหญ่ยูเอ็นได้เปิดการประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อหารือญัตติที่เสนอโดยยูเครนและพันธมิตรเรื่องการสร้างสันติภาพที่เป็นธรรมและถาวร โดยจะมีการลงมติในวันนี้ตามเวลานิวยอร์กของสหรัฐ นายดมิโตร คูเลบา รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครนขอร้องต่อที่ประชุมว่า ไม่มีช่วงเวลาใดในประวัติศาสตร์ที่เส้นแบ่งระหว่างความดีและความเลวจะชัดเจนเท่านี้อีกแล้ว ยูเครนเพียงแค่ต้องการคงอยู่ ขณะที่อีกฝ่ายต้องการเข่นฆ่าและทำลาย ขณะที่เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำยูเอ็นโจมตีชาติตะวันตกว่า พร้อมจะฉุดทั้งโลกลงสู่ก้นบึ้งสงคราม เพียงเพื่อเอาชนะรัสเซีย แหล่งข่าวตะวันตกหลายแห่งประเมินว่า สงครามในยูเครนที่รัสเซียเปิดฉากเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 คร่าชีวิตคนในยูเครนและรัสเซียไปแล้วฝั่งละ 150,000 คน.-สำนักข่าวไทย

1 3 4 5 6 7 33
...