
ทีมนักบินอวกาศ “เสินโจว-18” เข้าสู่สถานีอวกาศจีนแล้ว
ทีมนักบินอวกาศสามคนบนยานอวกาศเสินโจว-18 (Shenzhou-18) ของจีนได้เข้าสู่สถานีอวกาศของประเทศ และพบปะกับทีมนักบินอวกาศอีกสามคนในวันศุกร์ (26 เม.ย.) เพื่อเริ่มต้นการสับเปลี่ยนลูกเรือในวงโคจรรอบใหม่
ทีมนักบินอวกาศสามคนบนยานอวกาศเสินโจว-18 (Shenzhou-18) ของจีนได้เข้าสู่สถานีอวกาศของประเทศ และพบปะกับทีมนักบินอวกาศอีกสามคนในวันศุกร์ (26 เม.ย.) เพื่อเริ่มต้นการสับเปลี่ยนลูกเรือในวงโคจรรอบใหม่
รัสเซียปล่อยจรวดเพื่อส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 50 ปี ในวันนี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่กำหนดไว้เพื่อให้เกิดแรงผลักดันใหม่ ๆ ใน อุตสาหกรรมอวกาศของรัสเซียที่เงียบเหงามานานและยังไม่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรตั้งแต่เกิดความชัดแย้งกับยูเครน
ยานอวกาศของอินเดีย เข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์แล้ว หากลงจอดได้ จะเป็นประเทศที่ 4 ที่ส่งยานลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ปักกิ่ง, 9 มิ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันพฤหัสบดี (8 มิ.ย.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน เปิดเผยว่าจีนกำลังพัฒนายานอวกาศรุ่นใหม่ที่มีที่นั่งสำหรับผู้โดยสารสูงสุด 7 ที่นั่ง โจวเจี้ยนผิง หัวหน้าฝ่ายออกแบบโครงการสำรวจอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมของจีน ให้สัมภาษณ์ว่ายานอวกาศรุ่นใหม่ซึ่งใหญ่กว่ายานอวกาศรุ่นปัจจุบันขนาด 3 ที่นั่ง จะสามารถบรรทุกสัมภาระและนักบินอวกาศมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยขยายขนาดเที่ยวบินอวกาศและบุกเบิกอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น การท่องเที่ยวในอวกาศ นอกจากนั้นจีนกำลังพัฒนาจรวดขนส่งรุ่นใหม่เช่นกัน โดยจรวดที่มีมนุษย์ควบคุมรุ่นใหม่นี้ถูกออกแบบให้มีแรงขับยกตัวเพิ่มขึ้น ส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และพื้นที่ใหญ่ขึ้นสำหรับอุปกรณ์บรรทุก ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนมากกว่าจรวดรุ่นก่อน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230608/28d21f9aa03841b9acdcb58b1965630c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/363143_2023060ขอบคุณภาพจาก Xinhua
รัสเซียประสบความสำเร็จส่งยานอวกาศ โซยุซ เอ็มเอส-23 ที่ไร้นักบินอวกาศ ไปสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อรับ 3 นักบิน กลับมายังโลก กันยายนนี้
ลอสแอนเจลีส 24 พ.ย. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ได้ทดสอบการปล่อยยานอวกาศที่มีเป้าหมายพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งถือเป็นการสาธิตภารกิจป้องกันโลกครั้งแรกของนาซาเพื่อปกป้องโลกจากการถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนในอนาคต นาซาเผยว่า ได้ปล่อยยานอวกาศชื่อ ‘ดาร์ต’ (DART) ซึ่งมีน้ำหนักบรรทุกเท่ากับรถยนต์ขนาดเล็ก ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อเวลา 01.21 น. ตามเวลาในสหรัฐจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศแวนเดนเบิร์กที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลอลแอนเจลีสในรัฐแคลิฟอร์เนียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 150 กิโลเมตร ยานดังกล่าวจะปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 10 เดือนในการเดินทางไปในห้วงอวกาศที่อยู่ห่างจากโลกราว 11 ล้านกิโลเมตร เพื่อทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยด้วยแรงเสียดทานจลน์ ซึ่งคือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และเปลี่ยนเส้นทางของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก เป้าหมายของยานอวกาศดาร์ตในครั้งนี้ คือ ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส ซึ่งเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็กและมีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอลที่โคจรรอบหินอวกาศที่มีขนาดใหญ่กว่าถึง 5 เท่าในระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ ทั้งนี้ การปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายและยานอวกาศก็มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับอุกกาบาตชิกซูลุบที่พุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อนจนทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์หลายรายให้ความเห็นว่า ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กนั้นเป็นภัยต่อโลกมากกว่าในอนาคตอันใกล้และพบได้บ่อยครั้งกว่าอุกกาบาตขนาดใหญ่.-สำนักข่าวไทย
มอสโก 17 ต.ค.- ยานอวกาศโซยุซพาทีมถ่ายทำภาพยนตร์ชาวรัสเซียแยกตัวออกจากสถานีอวกาศนานาชาติหรือไอเอสเอส (ISS) มุ่งหน้ากลับสู่โลกแล้วในวันนี้ นักบินอวกาศโอเล็ก โนวิตสกี พายูเลีย เปเรซิด นักแสดงหญิงวัย 37 ปี และนายคิม ชิเปนโก ผู้กำกับภาพยนตร์วัย 38 ปี บนยานอวกาศโซยุซแยกตัวจากไอเอสเอสเมื่อเวลา 08:15 น.วันนี้ตามเวลาในไทย ใช้เวลาเดินทางกลับถึงโลก 3 ชั่วโมง 30 นาที เปเรซิดและชิเปนโกเดินทางถึงไอเอสเอสเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ถ่ายทำภาพยนตร์อวกาศเรื่อง The Challenge เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ไปถ่ายทำในอวกาศจริง ๆ เล่าเรื่องราวของศัลยแพทย์หญิงที่แสดงโดยเปเรซิด รีบรุดขึ้นไปยังไอเอสเอสเพื่อช่วยชีวิตนักบินอวกาศที่ต้องรับการผ่าตัดด่วนในอวกาศ ผู้รับบทนี้คือโนวิตสกี วัย 50 ปี ที่อยู่บนไอเอสเอสมานานกว่า 6 เดือนแล้ว ส่วนนักบินอวกาศที่ยังอยู่บนไอเอสเอส 7 คน ประกอบด้วยชาวรัสเซีย 2 คน ชาวอเมริกัน 3 คน ชาวยุโรป 1 คน […]
ยานอวกาศเสินโจว-13 ของจีน เทียบท่าโมดูลอวกาศเทียนเหอ เรียบร้อยแล้ว เตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติภารกิจในอวกาศ 6 เดือน ของสามนักบินอวกาศจีน Taikonaut ชุดใหม่
จีนตั้งเป้าปล่อยจรวดขนน้ำหนักมากรุ่นใหม่ที่สามารถส่งยานอวกาศบรรทุกลูกเรือไปยังดวงจันทร์ได้ในปี 2571
จีนส่งยานอวกาศที่บรรทุกนักบินอวกาศ 3 คนไปประจำการที่โมดูลของสถานีอวกาศแห่งใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งถือเป็นการประจำการที่ยาวนานที่สุดในวงโคจรระดับต่ำของโลกในประวัติศาสตร์นักบินอวกาศจีน
กรุงเทพฯ 5 เม.ย. – 12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ตั้งเป้าส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ภายใน 7 ปี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม กล่าวว่า เทคโนโลยีอวกาศ โดยเฉพาะดาวเทียม เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์กันมายาวนานเป็นปกติ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และต่อไปในอนาคตเรื่องของ internet of things ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนเทคโนโลยีจากเสาสัญญาณมาเป็นส่งสัญญาณจากดาวเทียม ที่กว้างไกลและครอบคลุมกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อุปโภคกันเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้นประเทศไทยควรพึ่งพาตนเองได้ในเทคโนโลยีอวกาศอย่างยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายหนึ่งของ TSC คือ สร้างยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ภายใน 7 ปี แต่สิ่งที่เป็น output หลักคือผลพลอยได้ระหว่างทางไปเป้าหมายคือได้สร้างคนเก่ง สร้าง startup ที่จะเป็น seeds ของ supply chain ของ TSC สร้าง space economy ในประเทศให้เกิดขึ้นได้ […]
ยานอวกาศไร้มนุษย์ของจีน ที่เก็บตัวอย่างหินและดินบนดวงจันทร์ เดินทางกลับสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัยในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งเป็นการเสร็จสิ้นภาระกิจแรกในการเก็บตัวอย่างบนดวงจันทร์