ภัยยาลดน้ำหนัก อาหารเสริมมรณะ ตอน 2
รพ.ปลวกแดง จ.ระยอง เคยพบผู้ป่วยมากกว่า 60 รายมีอาการในระบบหลอดเลือดและหัวใจ เกือบทุกรายกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักยี่ห้อเดียวกันที่วางขายในพื้นที่
รพ.ปลวกแดง จ.ระยอง เคยพบผู้ป่วยมากกว่า 60 รายมีอาการในระบบหลอดเลือดและหัวใจ เกือบทุกรายกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักยี่ห้อเดียวกันที่วางขายในพื้นที่
อย.รับแจ้งพบการปลอมปนยาในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีฉลากภาษาไทยจากแคนาดา เตือนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย
บนสังคมออนไลน์แชร์ 7 ประโยชน์ของ “เลซิติน” โดยเฉพาะสรรพคุณที่บอกว่า ช่วยรักษาท่อน้ำนมอุดตันได้ผลดีเยี่ยม เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
หลังได้รับแจ้งจากประเทศบรูไนเตือนอันตรายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาสมุนไพรปลอมปนยาแผนปัจจุบัน อย.เร่งตรวจสอบพบบางรายการจำหน่ายทางสื่อออนไลน์
อย.ยังพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่แจ้งยกเลิกเลขสารบบไปแล้ว ขายในท้องตลาด เตือนอย่าซื้อมาบริโภค จัดเป็นอาหารปลอม เสี่ยงอันตรายเพราะไม่รู้ใครเป็นผู้ผลิต
อย.แจงเตรียมตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของ ‘ดีเจต้นหอม’ ยันมีเลขอย.จริง เป็นการแบ่งบรรจุนำเข้ามาจากเกาหลีใต้ ส่วนจะอวดโอ้สรรพคุณเกินจริงหรือไม่ต้องรอผลการตรวจสอบ
อย.เตือนอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ Youslim’xs by JIN IN FORMULA ONE โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณ เกินจริงในการช่วยลดน้ำหนัก สั่งระงับโฆษณา พร้อมดำเนินคดีตามกฎหมาย
อย.เตือน อยากหุ่นดีพึงระวัง!! อย่าซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “CORDIA เพรียวพลัส” พบมีการสวมเลข อย. ที่แจ้งยกเลิกทะเบียนแล้ว และโฆษณาโอ้อวดช่วยลดน้ำหนัก ล่าสุด สั่งระงับโฆษณาทางสื่อออนไลน์แล้ว
อย.เตือนชายไทยระวังถูกหลอกโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารI-RD ทางสื่อออนไลน์อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ย้ำไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดช่วยเพิ่มขนาดได้
อย.ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร A-4 โฆษณาเกินจริงอวดอ้าง ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอก ระบบภายในดี พบเลขอย. ยกเลิกทะเบียนไปแล้วสั่งระงับโฆษณา แจ้งเตือนอย่าหลงเชื่อซื้อมาทาน
อย.ย้ำอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาสามารถใช้รักษาโรคทางตาผ่านผู้แทนขายตรง โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ ขอให้ตระหนักดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ ควรปรึกษาแพทย์
อย. 3 ก.ย. – อย.พบผลิตภัณฑ์ยูสลิม เอกซ์เอสและผลิตภัณฑ์ดีท็อก เอส เฮิร์บ โฆษณาเกินจริงอวดอ้างลดน้ำหนักทางสื่อออนไลน์ เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต สั่งระงับโฆษณาแล้ว เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ ซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า มีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งโพสต์รูปและข้อความโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงขอให้ อย. ตรวจสอบ โดยจากการตรวจสอบเฟซบุ๊ก“วลิตา ปะวันเนาว์” พบมีการแสดงภาพการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และแสดงข้อความโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น อยากผอมต้อง ยูสลิม เท่านั้น ลดจริงทุกสัดส่วน You slim’xs 1 กล่อง 350.-พบภาพผลิตภัณฑ์ยูสลิม เอกซ์เอส ระบุเลขสารบบอาหาร 20-1-06358-1-0026 และผลิตภัณฑ์ดีท็อก เอส เฮิร์บ เลขสารบบอาหาร 10-1-24858-1-0018 ซึ่งจากการตรวจสอบเลขสารบบอาหารไม่พบข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งสองรายการ และมีการแจ้งยกเลิกเลขสารบบไปแล้ว การโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงถือเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ หรือสรรพคุณเป็นเท็จ และเป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 […]