fbpx

จีนพบฟอสซิล “ปลาโบราณ” พันธุ์ใหม่ เก่าแก่กว่า 430 ล้านปี

ฉางซา, 13 ก.ค. (ซินหัว) — ผลการศึกษาจากวารสารฮิสตอริคัล ไบโอโลจี (Historical Biology) เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยของจีนค้นพบฟอสซิลปลากาเลียสปิด (galeaspid) สายพันธุ์ใหม่ในหมวดหินซิ่วซาน ณ มณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 438 ล้านปี โดยปลาสายพันธุ์นี้เคยมีชีวิตอยู่ในยุคไซลูเรียน (Silurian) เมื่อ 410-440 ล้านปีก่อน หมวดหินซิ่วซานยุคไซลูเรียนเป็นหมวดหินทางบรรพชีวินวิทยาที่กระจายตัวเป็นวงกว้างทางตอนใต้ของจีน โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญมองว่าหมวดหินแห่งนี้เป็นแหล่งสืบพันธุ์ที่สำคัญของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ไม่ใช่แหล่งอาศัยที่เหมาะสมสำหรับปลากาเลียสปิด รายงานระบุว่าปลากาเลียสปิด สายพันธุ์ “ต้ายงกัสปิส โคลูบรา” (Dayongaspis colubra) ถือเป็นฟอสซิลปลาชนิดดังกล่าวกลุ่มแรกในหมวดหินซิ่วซาน ซึ่งท้าทายมุมมองดั้งเดิมที่ว่าปลาโบราณนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ในหมวดหินซิ่วซาน อนึ่ง การค้นพบนี้ยังบ่งชี้ว่าฟอสซิลปลากาเลียสปิดกระจายตัวตั้งแต่ตอนบนของหมวดหินหรงซีจนถึงตอนล่างของหมวดหินซิ่วซาน ซึ่งบ่งชี้ช่วงลำดับชั้นหินกว้างกว่าที่เคยสันนิษฐานก่อนหน้านี้ – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/370852_20230713ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักวิทย์จีนพัฒนา”เนื้อปลา”เพาะจากแล็บ นุ่มเด้งคล้ายของจริง

หางโจว, 23 พ.ค. (ซินหัว) — อาหารทะเลถือเป็นเมนูยอดนิยมของผู้คนจำนวนมากเพราะมีรสชาติและสารอาหารหลากหลายอย่างโปรตีน และกรดไขมันโอเมกา-3 ทว่าจำนวนประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น กอปรกับแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้นำไปสู่การโหมใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลเกินควรในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อรับมือความท้าทายนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงและมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคต้าเหลียนของจีน จึงพยายามพัฒนาเนื้อปลาเพาะเลี้ยงที่มีลักษณะเหมือนเนื้อเยื่อสำหรับการบริโภคของมนุษย์ โดยมีการผสมเส้นใยกล้ามเนื้อปลาและเซลล์ไขมัน (adipocyte) เข้ากับเจลจากการพิมพ์แบบ 3 มิติ ขั้นแรกทีมวิจัยแยกสเต็มเซลล์กล้ามเนื้อและสเต็มเซลล์ไขมันออกจากปลาจวดเหลือง ซึ่งเป็นปลาอพยพเขตอบอุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติและอุดมด้วยสารอาหาร ต่อจากนั้นกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเชิงไมโอจีนิก (myogenic) ของเซลล์แซทเทลไลท์ปลา (PSC) ด้วยการควบคุมเส้นทางส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องสองเส้นทาง ต่อมาทีมวิจัยสร้างโครงเลี้ยงเซลล์ 3 มิติ ซึ่งเป็นวัสดุรองรับการยึดเกาะและการเจริญเติบโตของเซลล์ปลา โดยสร้างจากเจลที่มีส่วนประกอบของเจลาตินผสมกับเซลล์แซทเทลไลท์ปลา และหลังจากการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลง นักวิจัยเติมเซลล์ไขมันปลาที่เพาะเลี้ยงลงในโครงเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อ จนเกิดการก่อตัวของเนื้อปลาที่มีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อ ทีมวิจัยอธิบายว่าการเพาะเลี้ยงเซลล์ของปลาเป็นกระบวนการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในหลอดทดลองผ่านสเต็มเซลล์ของสัตว์ โดยกระบวนการผลิตเนื้อปลานี้ใช้เวลา 17 วัน และไม่พบความแตกต่างชัดเจนระหว่างเนื้อปลาเพาะเลี้ยงและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจากปลาจริงในแง่สัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน ความเหนียว ความยืดหยุ่น หรือความเด้ง อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการประเมินความปลอดภัยหลายขั้นตอน ก่อนที่เนื้อปลาเพาะเลี้ยงจะถูกนำมาเสิร์ฟแก่มนุษย์ โดยหลิวตงหง สมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่าผลการวิจัยนี้มอบความเป็นไปได้ในการจัดสรรเนื้อสัตว์และโปรตีนจากสัตว์ในอนาคต และมีนัยสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์ปลาทะเล อนึ่ง คณะนักวิทยาศาสตร์ข้างต้นได้เผยแพร่ผลการวิจัยผ่านวารสารเอ็นพีเจ ไซแอนซ์ ออฟ ฟูด (npj […]

เมืองชายฝั่งจีนสั่งตรวจโควิดในปลาที่ชาวประมงจับมาได้

ปักกิ่ง 18 ส.ค. – เมืองเซี่ยเหมินในมณฑลฝูเจี้ยนของจีนไม่เพียงสั่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในชาวประมงเท่านั้น แต่ยังให้ตรวจหาเชื้อโควิดในปลาที่ชาวประมงจับมาจากทะเล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการใช้มาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิดอย่างเข้มงวดตามนโยบายทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ของจีน เมืองเซี่ยเหมินในมณฑลฝูเจี้ยน เมืองชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ระบุว่า มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อโควิดในกลุ่มชาวประมงและสิ่งที่ชาวประมงจับมาได้จากทะเลเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากชาวประมงอาจลักลอบซื้อปลาบางส่วนโดยผิดกฎหมายหรือสัมผัสกับเรือต่างชาติขณะอยู่ในทะเล ด้านเจ้าหน้าที่หน่วยงานทางทะเลของเมืองเซี่ยเหมินกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่า ปัจจุบัน ชาวเซี่ยเหมินทุกคนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิดอยู่แล้ว และทางการก็ยังสั่งตรวจหาเชื้อโควิดในปลาที่ชาวประมงจับมาได้เช่นกัน ขณะที่สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของจีนเผยแพร่คลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นภาพเจ้าหน้าที่กำลังใช้ก้านตรวจสวอบ (swab) ในปากของปลาและใต้กระดองปูที่ชาวประมงจับมาได้จากทะเลเพื่อหาเชื้อโควิด แต่ยังไม่มีรายงานพบปลาหรือปูที่ติดเชื้อโควิด หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานว่า เมืองเซี่ยเหมินได้ประกาศใช้แนวทางตรวจหาเชื้อโควิดดังกล่าวมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม แต่แนวทางนี้เพิ่งตกเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนในสื่อโซเชียลมีเดียของจีนในสัปดาห์นี้ ผู้ใช้งานเวย์ปั๋ว แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังของจีนแบบเดียวกันกับทวิตเตอร์ พากันติดแฮชแท็กประเด็นนี้จนมีผู้เข้าไปอ่านมากถึง 120 ล้านคนและมีคนเข้าไปแสดงความเห็นกว่า 6,000 ข้อความ ผู้ใช้งานรายหนึ่งระบุว่า การตรวจหาเชื้อโควิดในปลาและปูเป็นเรื่องไร้สาระและเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่สุดในรอบหลายสิบปี ทั้งนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า จีนมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 6 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 24,280 คน.-สำนักข่าวไทย

จีนห้ามนำเข้าปลาจากไต้หวันอีก 2 รายการ

ไทเป 3 ส.ค.- สำนักงานศุลกากรจีนประกาศห้ามนำเข้าปลา 2 ชนิดจากไต้หวันตั้งแต่วันพุธนี้ โดยให้เหตุผลว่า เป็นไปตามระเบียบเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไชนาเดลีรายงานว่า สำนักงานศุลกากรได้เผยแถลงแถลงการณ์ทางออนไลน์ว่า จะห้ามนำเข้าปลาดาบเงินแช่แข็งและปลาสีกุนแช่แข็งจากไต้หวัน รวมทั้งจะห้ามนำเข้าผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวประกอบด้วยองุ่น มะนาวและส้ม เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารของจีน สำนักงานศุลกากรทุกแห่งจะงดรับการสำแดงสินค้าเหล่านี้ตั้งแต่วันพุธ และจะแจ้งให้บริษัทที่เกี่ยวข้องทราบในเวลาที่เหมาะสม ด้านเว็บไซต์สำนักข่าวไต้หวันนิวส์รายงานว่า สำนักงานศุลกากรจีนประกาศห้ามนำเข้าสินค้าเหล่านี้อย่างไม่มีกำหนด หลังจากเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนอ้างว่า พบร่องรอยเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บนบรรจุภัณฑ์ปลาสีกุนแช่แข็งของบริษัทไต้หวัน และงดนำเข้าปลาของบริษัทนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนหน้านั้นในเดือนเดียวกันสำนักงานศุลกากรจีนได้สั่งงดนำเข้าปลาเก๋าจากไต้หวัน โดยอ้างว่าตรวจพบสารเคมีต้องห้าม สร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อชาวประมงไต้หวัน ทำให้ไต้หวันต้องหาตลาดใหม่ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น และทำให้เกิดกระแสคำว่า “ปลาประชาธิปไตย” ไต้หวันนิวส์ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า จีนออกคำสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจีนครั้งใหม่ในช่วงที่นางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมาเยือนไต้หวัน.-สำนักข่าวไทย

ถ้อยทีถ้อยอาศัย เต่าคาบข้าวให้ปลากิน

ไปชมภาพประทับใจที่เกิดขึ้นบริเวณบ่อข้างครัว ในวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ป้าที่ทำกับข้าวถวายพระ เอาไม้ใส่ข้าววางไว้ แล้วตะโกนเรียกเต่าตัวหนึ่ง มันก็ขึ้นมาคาบข้าวลงไปให้ปลากิน หากเต่าขึ้นไม่ได้ ปลาก็จะดันเต่าให้ขึ้นมา

ตำรวจไทยปลูกผัก เลี้ยงกบ-ปลา ด้วยนกหวีด

นกหวีดเป็นอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ผู้ตัดสินกีฬา ลูกเสือ แต่ปลาดุกที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บึงสามพัน เลี้ยงไว้ ได้ยินเสียงนกหวีดเมื่อไหร่ เป็นต้องว่ายกรูกันเข้าฝั่งแย่งกินอาหาร

สิงคโปร์เสียงแตกหลังตัวนากเพ่นพ่านช่วงปิดเมือง

ตัวนากซึ่งเป็นที่รักของผู้รักธรรมชาติในสิงคโปร์กำลังสร้างความไม่พอใจให้แก่คนบางส่วน เพราะเพ่นพล่านช่วงทางการปิดเมืองเพื่อควบคุมโรคโควิด-19

เจ้าของบริษัททัวร์กระบี่แจกข้าวสาร-ปลาให้ชาวบ้านเดือดร้อนจากโควิด-19

เจ้าของบริษัทนำเที่ยวและให้เช่าเรือสปีดโบ๊ทใน ต.อ่าวนาง จ.กระบี่ แจกข้าวสารและปลาให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เน้นให้ความช่วยเหลือคนต่างพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับถุงยังชีพ

เริ่มจำหน่ายสินค้าประมงผ่านออนไลน์พรุ่งนี้

กรมประมงนำร่องการจองสั่งซื้อสินค้าสัตว์น้ำออนไลน์ เพิ่มช่องทางช่วยจำหน่ายสินค้าให้เกษตรกรที่เดือดร้อนจากการการส่งออกไม่ได้ รวมทั้งทำให้ประชาชนคลายกังวลเรื่อง การขาดแคลนอาหารจากสถานการณ์โควิด-19 โดยส่งสินค้าถึงบ้าน

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กินอะไรในช่วงโควิด-19 ?

สังคมออนไลน์มีหลากหลายคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่ควรรับประทานในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 อันดับปลาไทยที่มีโอเมก้า 3 สูง จริงหรือ?

สังคมออนไลน์แชร์ข้อมูล 10 อันดับปลาไทยที่มี “โอเมก้า 3” สูง พบว่า 3 อันดับแรก คือ ปลาจะละเม็ดขาว ปลาสำลี และปลาดุก เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ร้อนจัด! ปลาในสระน้ำของวัดหนองครามลอยตายเต็มสระ

สภาพอากาศที่ร้อนจัด กระทบไม่เฉพาะกับคน ปลาในสระน้ำของวัดหนองคราม อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็ลอยตายเป็นแพ

1 2
...