“พล.อ.ประวิตร” ถกแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง-น้ำอุปโภคบริโภค
“พล.อ.ประวิตร” ประชุมพิจารณา 5 โครงการสำคัญเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก และเพิ่มน้ำอุปโภคบริโภคเพื่อประชาชน
“พล.อ.ประวิตร” ประชุมพิจารณา 5 โครงการสำคัญเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก และเพิ่มน้ำอุปโภคบริโภคเพื่อประชาชน
พล.อ.ประวิตร ห่วงชาวบ้าน สั่งทีมงานลุยแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ทุกภูมิภาคโดยเร็ว
อธิบดี พช. น้อมนำศาสตร์พระราชาเปิด “ฝายมีชีวิตวัดช้าง” ป้องกันน้ำท่วม-น้ำแล้งอย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยฟื้นฟูรักษาระบบนิเวศน์ป่าไม้อย่างยั่งยืน ชู “ฝายวัดช้าง” เป็นต้นแบบต่อยอดเป็นตลาดริมน้ำหนุนการท่องเที่ยววิถีพุทธ วิถีธรรมชาติ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
“พล.อ.ประวิตร” เร่งช่วยประชาชน แก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง ตั้งอนุกรรมการฯ น้ำรายภาค ลงพื้นที่เร่งด่วน
กทม.28 ต.ค.-“พล.อ.ประวิตร” รองนายกฯ สั่งเร่งช่วยประชาชน แก้น้ำท่วม น้ำแล้ง ตั้งอนุกรรมการฯน้ำรายภาค ลงพื้นที่เร่งด่วน วันนี้ (28 ต.ค.) พล.อ.สุชาติ ผ่องพุฒิ ประธานอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาค ในพื้นที่ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2563 โดยมีนายธวัชชัย ใบเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 2 (สทนช.ภาค 2) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกรมชลประทาน กรมการทหารช่าง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และคณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง (เจ้าพระยา ท่าจีน ประจวบคีรีขันธ์ ป่าสัก เพชรบุรี แม่กลอง สะแกกรัง) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมน้ำปิง ชั้น 4 อาคารจุฑามาศ สทนช. ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ […]
พิษณุโลก 28 ก.ค.- อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเป็นประจำทุกปี กรมทรัพยากรน้ำบาดาลนำนวัตกรรมระบบเติมน้ำใต้ดินเข้ามาแก้ปัญหา ช่วยให้น้ำที่มีมากในฤดูฝนลงไปสู่ระบบน้ำใต้ดินได้รวดเร็ว และกลายเป็นแหล่งน้ำสำรองที่ดึงกลับขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ในฤดูแล้ง ติดตามจากรายงาน ช่วงนี้เข้าสู่หน้าฝนเต็มตัวแล้ว ทำให้หลายพื้นที่ของไทยเริ่มมีปริมาณฝนตกสะสมมากขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำเมื่อเข้าสู่หน้าฝน ขณะที่หน้าแล้งกลับขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไม่สามารถเก็บน้ำฝนไว้ใช้ได้มากพอ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลบอกว่า พื้นที่บางระกำมีชั้นดินผิวหน้าเป็นดินเหนียวหนากว่า 3-4 เมตร จึงทำให้น้ำฝนหรือน้ำหลากไม่สามารถซึมลงชั้นใต้ดินได้ในเวลาอันสั้น จึงต้องแก้ไขด้วยนวัตกรรมระบบเติมน้ำใต้ดินเข้ามาช่วยเพื่อเปิดทางให้น้ำฝนหรือน้ำหลากไหลลงสู่ระบบน้ำใต้ดิน เมื่อผ่านชั้นดินเหนียวแล้ว จะต้องเจาะดินต่อลงไปอีกจนถึงชั้นทราย รวมความลึกประมาณ 8-10 เมตร จากนั้นจึงวางท่อวงต่อเป็นชั้นสูงตั้งแต่ชั้นทรายจนพ้นขอบดินบนสุด โดยที่ด้านบนจะมีระบบกรองด้วยวัสดุธรรมชาติกรวด 3 ขนาด และถ่านไม้ ตามลำดับ เมื่อน้ำหลากลงมาจะผ่านระบบกรอง ได้เป็นน้ำสะอาดลงสู่ระบบน้ำใต้ดิน เป็นการเติมน้ำใต้ดินให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งเป็นพื้นที่เก็บน้ำที่ช่วยลดผลกระทบจากน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการวิจัยพบว่าน้ำที่ลงไปสู่ระบบใต้ดินจะกระจายไปยังระบบน้ำใต้ดินรัศมีกว่า 1.5 กิโลเมตร สวนเกษตรลุงทองปาน เป็นพื้นที่แห่งแรกๆ ที่นำระบบเติมน้ำใต้ดินมาใช้ ที่นี้จึงไม่มีปัญหาขาดน้ำใช้เพาะปลูกทั้ง 20 ไร่ เลยตลอดทั้งปี สามารถดึงน้ำใต้ดินมาใช้ได้ตามต้องการ ส่วนหน้าฝนก็มีพื้นที่รับน้ำลงไปเก็บไว้ในระบบใต้ดิน จากน้ำที่เคยท่วมขังเป็นเวลานานจะไหลลงสู่ระบบในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เป็นแก้มลิงที่มองไม่เห็นให้สวนและแปลงเกษตรโดยรอบ ล่าสุด รองนายกรัฐมนตรีส่งมอบบ่อเติมน้ำใต้ดิน […]
ชาวนาลุ่มแม่น้ำยมเรียกร้องรัฐทบทวนการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ หลังแม่น้ำยมมีสภาพแห้งขอดซ้ำซากนานนับ 10 ปี กระทบกลุ่มเกษตรกร ด้านกรมชลประทานอนุมัติงบกว่า 180 ล้านบาท สร้างฝายไฮดรอลิก เพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เร่งรัดให้ทันเก็บน้ำช่วงฤดูฝนปีนี้
สทนช. 13 เม.ย.- “พล.อ.ประวิตร” เป็นประธานติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ – แก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์น้ำแล้ง เน้นย้ำทุกหน่วยงานเร่งปฎิบัติการทันที ด้าน พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกประจำรอง นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (13 เม.ย.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และความคืบหน้าในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่างๆ ในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์น้ำแล้ง อาทิ ลุ่มเจ้าพระยา และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึง เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดดำเนินการโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำปี 2562/63 และโครงการเร่งด่วนเพื่อการกักเก็บน้ำในฤดูฝน ปี 2563 ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำ พล.ต.พัชร์ศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงแผนบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติในส่วนภาคตะวันออก ล่าสุดพบว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ได้ประสานความร่วมมือเร่งรัดดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายน้ำ ตามมติที่ประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ที่ได้มีการกำหนดมาตรการรับมือล่วงหน้า เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ที่ประสบปัญหาน้ำในอ่างฯ น้อย […]
พล.อ.ประวิตร ยืนยันแล้งนี้ น้ำสำหรับบริโภคจะมีพอใช้ไปถึงเดือนกรกฎาคม ขณะนี้พยายามขุดบ่อน้ำบาดาลทั่วประเทศกว่า 500 บ่อ
ทำเนียบฯ 26 พ.ย. – น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (26 พ.ย.) ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุม กำชับให้คณะรัฐมนตรีติดตามผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม และขอให้ทุกหน่วยงานติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเตรียมการระบายน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ที่อาจจะมีน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ขณะเดียวกัน ให้ทำงานเชิงรุก เพื่อเข้าสู่พื้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ส่วนภาคเหนือให้ติดตามปัญหาภัยแล้ง เพราะขณะนี้มีหลายพื้นที่ที่จะประสบกับปัญหาน้ำไม่พออุปโภคบริโภค หน่วยงานต้องเข้าไปประเมินสำรวจแหล่งน้ำ และปรับพื้นที่ลุ่มต่ำ ตลอดจนพิจารณาการจัดเก็บน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และย้ำให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด . – สำนักข่าวไทย
จ.ยโสธร หลายพื้นที่ยังน่าห่วง ล่าสุด ลำน้ำเซบายเอ่อล้นตลิ่ง ทะลักท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 200 หลัง ขณะที่สถานการณ์น้ำเขื่อนลำปลายมาศ จ.นครราชสีมา ล่าสุด เหลือปริมาณน้ำใช้ได้จริงเพียง 12 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 14 ต่ำสุดในรอบ 30 ปี
จีนทดลองสร้างเมืองที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำ สามารถดูดซับน้ำเมื่อฝนตกไปเก็บกักไว้ใช้ในยามน้ำแล้ง