ดีอีเอส ส่งทีม กม.แจ้งเอาผิด “ธนาธร” ปมวัคซีนโควิด-19
ดีอีเอส ส่งทีมกฎหมายแจ้งเอาผิด “ธนาธร” ม.112 – พ.ร.บ.คอม หลังวิจารณ์รัฐบาล บิดเบือนข้อมูลเรื่องวัคซีนโควิด-19
ดีอีเอส ส่งทีมกฎหมายแจ้งเอาผิด “ธนาธร” ม.112 – พ.ร.บ.คอม หลังวิจารณ์รัฐบาล บิดเบือนข้อมูลเรื่องวัคซีนโควิด-19
รัฐบาลเร่งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการใช้แอปฯ หมอชนะ หลังมีข่าวทีมงานผู้คิดค้นแอปฯ ถอนตัว และมอบให้รัฐบาลดูแล และเกิดความขัดแย้งเรื่องข้อมูล
“พุทธิพงษ์” เดินหน้าแจ้งความเอาผิดคนโพสต์หมิ่นสถาบันต่อเนื่อง พร้อมลุยขอคำสั่งศาลยื่นลบ 136 ข้อความไม่เหมาะสมออก
ประเด็นร้อนเรื่องการปิดเว็บไซต์อนาจาร รมว.ดีอีเอส ยืนยันทำตามหน้าที่ ขณะที่นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตอบคำถามเรื่องเหตุระเบิดปิงปองในพื้นที่ชุมนุมเมื่อวานนี้
ไม่เกี่ยวเผยแพร่คลิปบุคคลสำคัญ ไม่สนทัวร์ลง ยืนยัน ไม่ตอบโต้ เชื่อ วันหนึ่งคนจะเข้าใจว่าเป็นการทำตามหน้าที่
กรุงเทพฯ 2 พ.ย. พุทธิพงษ์ ขอทุกภาคส่วนร่วมมือสร้างการรับรู้เท่าทันข่าวปลอม ยืนยัน บังคับใช้กฎหมายกับผู้ใช้โซเชียล ที่สร้างข่าวบิดเบือนส่งผลกระทบกับสังคม ย้ำใช้สื่อออนไลน์ด้วยความระมัดระวัง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การสัมมนา “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 3”ที่จ.พังงาครั้งนี้ จัดภายใต้โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม มีกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคใต้ บุคลากรด้านสาธารณสุข ภาคสังคม สื่อมวลชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง วิธีเช็คแหล่งที่มา วิธีสังเกตหัวข้อพาดหัวข่าว และได้ทราบถึงการแจ้งเบาะแสให้กับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำหรับผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตั้งแต่วันจัดตั้งศูนย์ฯ ถึงช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา (1 พ.ย.62-28 ต.ค.63) จากการรวบรวมข้อมูลทั้งจากที่มีผู้แจ้งเบาะแสเข้ามา และระบบติดตามการสนทนาทางโซเชียล (Social listening) พบว่า มีจำนวนข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 25,835,350 ข้อความ ข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 19,466 ข้อความ โดยมีจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 6,826 เรื่อง ในจำนวนนี้ร้อยละ 56 เป็นข่าวในหมวดสุขภาพ ตามมาด้วยหมวดนโยบายรัฐ 2,620 เรื่อง ร้อยละ38 , หมวดเศรษฐกิจ 251 เรื่องร้อยละ 4 และหมวดภัยพิบัติ 143 เรื่อง ร้อยละ 2 ทั้งนี้ กระทรวงฯ มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าการทำงานเชิงรุก เพื่อเร่งทำการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ผ่านกลไกการทำงานทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเข้าถึงประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม จริงๆ แล้ว ผมเป็นคนแรกที่ได้คิดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เนื่องจากพบว่าในต่างประเทศมีการจัดตั้งแล้ว แต่ไทยยังไม่มี จึงเริ่มให้เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ ไม่สร้างความตื่นตระหนกหรือสร้างความเสียหายให้แก่สังคมในวงกว้าง แต่ข่าวที่เกิดขึ้น กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่สามารถจะตอบข้อสงสัยได้ทั้งหมดว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม จำเป็นต้องประสานข้อมูลจากหน่วยงาน และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ช่วยยืนยันข้อเท็จจริง ให้ทันเวลาในการชี้แจงให้ประชาชนรู้เท่าทัน เพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชนให้ได้ทันท่วงที ภายใน 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีช่องทางเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” ในการให้ประชาชนแจ้งข้อมูลข้อความที่ไม่เหมาะสมเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมหลักฐานส่งศาลให้พิจารณาปิดกั้น หรือ ลบข้อมูลนั้น ภายใน 48 ชั่วโมง จากนั้นหากแพลตฟอร์มไม่ดำเนินการปิดกั้น หรือลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ภายใน 15 วัน กระทรวง และเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการนำคำสั่งศาลยื่นฟ้องแพลตฟอร์มต่างประเทศ ที่ถือเป็นครั้งแรกของไทย ที่จริงจังในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด ทั้งนี้ แม้ว่าแพลตฟอร์มต่างประเทศใช้ระบบทำงานในประเทศไทย ก็ต้องยอมรับ เคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายของไทยด้วย” นายพุทธิพงษ์กล่าว ขณะที่ นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กล่าวว่าการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ในภาคใต้ครั้งนี้ จะเป็นอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา และข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่พบว่ามีทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม และข่าวบิดเบือน จึงต้องให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนให้รู้เท่าทัน ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ช่วยสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หน่วยงานต่างจังหวัดและประชาชนทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทำให้การบูรณาการการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทำงานตามข้อเท็จจริง ไม่เลือกฝ่าย เลือกข้าง ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ในการดำเนินงานเชิงรุกป้องกันข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและปัญหาข่าวปลอมอันจะทำให้ภาครัฐสามารถชี้แจงทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความมั่นคงและความไว้วางใจในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ-สำนักข่าวไทย.
ดีอีเอส แจงกรณีปิดเพจเยาวชนปลดแอก ตามขั้นตอนปฏิบัติ ศาลอาญาเรียกเจ้าหน้าที่ดีอีเอสไปไต่สวนเพิ่มแล้ว ขอให้รอดูคำวินิจฉัยศาล
“พุทธิพงษ” แจงไม่ได้สั่งปิดแอปฯ เทเลแกรม ย้ำให้ ISP ตรวจสอบทุกสื่อโซเชียล
กระทรวงดีอีเอสส่งหนังสือให้ กสทช. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต-โอเปอเรเตอร์ ระงับเข้าถึงเทเลแกรม
รมว.ดีอีเอส ส่งทีมงานจากเอ็ตด้ากู้ระบบ รพ.สระบุรี คาดได้ข้อมูลคืนบางส่วน พบข้อมูลที่ถูกปิดกั้นคือประวัติคนไข้ย้อนหลัง 3 ปี
กรุงเทพฯ 10 ส.ค. ดีอีเอส เตรียมประชุมกรรมการ 5G ชวตั้งกองทุนขับเคลื่อน พร้อมแจ้ง ค.ร.ม.ขอขยายเวลาควบรวมกสท-ทีโอที นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)กล่าวว่า วันที่ 14 สิงหาคม 2563 จะมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ ซึ่งเบื้องต้นจะมีวาระการประชุม ประกอบด้วย รายงานความคืบหน้าการดำเนินการ 5G ว่านอกจากการประมูลแล้ว เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศไทยเป็นอย่างไร จะอธิบายถึงการใช้ประโยชน์ 5G ของหน่วยงานภาครัฐ อาทิ 5G ในภาคการเกษตร, การสาธารณสุข และภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร เพื่อให้รัฐมนตรีจากทุกกระทรวงที่อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ นำไปกำหนดนโยบาย โดยจะมีการยกตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน (ยูสเคส) เพื่อให้แต่ละภาคส่วนเห็นถึงประโยชน์มากขึ้น ผลักดันการจัดตั้งกองทุน 5G โดยร่วมกันระหว่างกระทรวงดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัพในการต่อยอดการใช้งาน 5G โดยขณะนี้อยู่ระหว่างวางรูปแบบการได้มาซึ่งเงินในกองทุนดังกล่าวว่าจะมีสัดส่วนเท่าไร อย่างไร ซึ่งเบื้องต้นคิดว่าจะยำมาจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) และกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) “การจัดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ไม่ได้ล่าช้า แต่ที่เพิ่งจัดการประชุมได้เนื่องจากอยากให้การประมูลคลื่นความถี่เสร็จสิ้นก่อน ประกอบผลกระทบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย ขณะที่ โอเปอเรเตอร์ก็ได้รับผลกระทบจากการขยายโครงข่ายเช่นกัน ซึ่งการจัดการประชุมที่จะเกิดขึ้นจึงต้องสอบถามไปยังโอเปอเรเตอร์ด้วย” นายพุทธิพงษ์ กล่าว นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า สำหรับการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นที นั้น จะนำเรื่องขอขยายระยะเวลาการควบรวมกิจการออกไปอีก 6 เดือน เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาในสัปดาห์นี้ จากเดิมที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 เป็นแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2564 โดยการขอขยายระยะเวลาครั้งนี้ จะมีการกำหนดกรอบการทำงานที่ชัดเจนว่าแต่ละช่วงเวลาจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ จะนั่งเป็นประธานคณะกรรมการในการควบรวมกิจการเอง จากแต่เดิมที่มี น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดีอีเอส เป็นประธาน-สำนักข่าวไทย.
มียอดผู้ใช้สะสม 37 ล้านคน ขอประชาชนสบายใจ เริ่มลบข้อมูลย้อนหลังทิ้งถาวรแล้ว ขอความร่วมมือใช้แอปพลิเคชันต่อไป ยืนยัน ติดตามตัวผู้ใช้งานได้จริงถึงร้อยละ 97