fbpx

จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

ปักกิ่ง 9 ส.ค.- จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี สาเหตุเพราะการบริโภคในประเทศชะลอตัวกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังผ่านพ้นโควิด สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยข้อมูลวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 0.3 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม หลังจากไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 0.0 ต่อปีในเดือนมิถุนายน เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี และเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากเมื่อวานนี้สำนักงานศุลกากรจีนเผยว่า ยอดส่งออกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 14.5 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 3 ปี การที่สินค้าและบริการมีราคาลดลงบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความต้องการบริโภคลดลง ภาวะเช่นนี้อาจทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง เพราะผู้บริโภคจะชะลอการซื้อออกไปด้วยหวังว่าราคาจะลดลงอีก ส่งผลให้ธุรกิจต้องลดการผลิต งดการจ้างงานใหม่หรือเลิกจ้าง จีนเคยเกิดภาวะเงินฝืดครั้งหลังสุดในปี 2552 และเกิดภาวะเงินฝืดเป็นเวลาสั้น ๆ ช่วงสิ้นปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 เนื่องจากหมูซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศมีราคาลดลงอย่างมาก.-สำนักข่าวไทย

ดัชนีราคาผู้บริโภคญี่ปุ่นติดลบครั้งแรก ขณะคนขอคำปรึกษาด้านแรงงานมากขี้น

ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่น ติดลบเป็นครั้งแรกในระยะเวลากว่า 3 ปี เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ดัชนีราคาผู้ผลิตและผู้บริโภคจีนเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นทั้งสองดัชนี

ดัชนีราคาผู้ผลิต หรือพีพีไอ (PPI) และดัชนีราคาผู้บริโภค หรือซีพีไอ (CPI) ของจีนในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นทั้งสองดัชนี ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนเริ่มมีเสถียรภาพ

เงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือน ม.ค.ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบเกือบปี

ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน หลังจากลดลงต่อเนื่องมายาวนานกว่า 5 ปี

...