จำคุก ตร.อินโดนีเซียคดีจลาจลในสนามฟุตบอล 135 ศพ
ศาลอินโดนีเซียตัดสินจำคุก 18 เดือน นายตำรวจจังหวัดชวาตะวันออก ข้อหาประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมในสนามฟุตบอลเมื่อปีก่อน ทำให้มีคนเสียชีวิตมากถึง 135 คน
ศาลอินโดนีเซียตัดสินจำคุก 18 เดือน นายตำรวจจังหวัดชวาตะวันออก ข้อหาประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมในสนามฟุตบอลเมื่อปีก่อน ทำให้มีคนเสียชีวิตมากถึง 135 คน
ศาลอินโดนีเซียตัดสินวันนี้ลงโทษจำคุกเจ้าหน้าที่จัดการแช่งขันฟุตบอล 2 คน ในความผิดฐานประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฎกรรมในสนามฟุตบอลครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์วงการฟุตบอลของอินโดนีเซีย
นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา กล่าววันนี้ว่า เขาจะไม่ทนกับชาวต่างชาติที่คุกคามสันติภาพในประเทศ หลังจากที่ไม่กี่วันก่อน ศาลกัมพูชาตัดสินลงโทษจำคุกบุคคลสำคัญของฝ่ายค้านที่ทำให้เกิดกระแสประณามจากนานาประเทศ
มินสก์ 4 มี.ค.- เบลารุสตัดสินจำคุก 10 ปี นายอาเลส เบียเลียตสกี นักเคลื่อนไหวเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพร่วมปี 2565 ทำให้นานาชาติพากันประณาม นายเบียเลียตสกี วัย 60 ปี เป็นนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยและสมาชิกผู้ก่อตั้งศูนย์สิทธิมนุษยชนเวียสนา (Viasna) ในเบลารุส เขาและพรรคพวก 2 คน ถูกคุมขัง หลังจากชาวเบลารุสออกมาประท้วงครั้งประวัติศาสตร์ ต่อต้านการที่ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก วัย 68 ปี ได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี 2563 ผูกขาดการเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวของเบลารุสนับตั้งแต่เบลารุสประกาศตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายในปี 2534 นายเบียเลียตสกีและพรรคพวกถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาลักลอบและให้เงินสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่ฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างร้ายแรง ศาลมีคำตัดสินเมื่อวานนี้ให้เขาถูกจำคุก 10 ปี จำเลยร่วมอีก 2 คนถูกตัดสินจำคุก 9 ปี และ 7 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีจำเลยอีก 1 คนที่ถูกพิจารณาคดีลับหลัง ถูกตัดสินจำคุก 8 ปี สหประชาชาติประณามว่า การจับกุมและคุมขังตามอำเภอใจกับผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยข้อหาที่มีแรงจูงใจทางการเมืองเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ขณะที่คณะกรรมการโนเบลระบุว่า เป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง […]
พนมเปญ 3 มี.ค.- ศาลกัมพูชามีคำตัดสินวันนี้ให้จำคุกนายกึม ซกคา แกนนำฝ่ายค้านเป็นเวลา 27 ปี ในข้อหาเป็นกบฏ เป็นคดีฟ้องร้องที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวระบุว่า มีแรงจูงใจทางการเมือง ผู้พิพากษาศาลในกรุงพนมเปญอ่านคำตัดสินว่า นายกึมถูกตัดสินจำคุก 27 ปีในข้อหาคบคิดกับต่างชาติกระทำผิดในกัมพูชาและสถานที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังถูกยึดสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งและห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย รายงานระบุว่า ทันทีที่ศาลอ่านคำพิพากษาจบ นายกึมถูกนำตัวจากศาลไปกักบริเวณที่บ้านพัก และห้ามพบกับผู้ใด ยกเว้นคนในครอบครัว นายกึม วัย 69 ปี เป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกู้ชาติกัมพูชาหรือซีเอ็นอาร์พี (CNRP) ที่ถูกศาลสั่งยุบพรรคในเดือนพฤศจิกายน 2560 หลังจากที่เขาถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงหลายร้อยนายบุกจับกุมกลางดึกในเดือนกันยายนปีเดียวกัน โดยถูกกล่าวหาว่า คิดแผนลับด้วยการคบคิดกับต่างชาติหวังโค่นล้มรัฐบาลนายกรัฐมนตรีฮุน เซน วัย 70 ปี ที่ผูกขาดปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 2528.-สำนักข่าวไทย
ศาลเวียดนามตัดสินลงโทษจำคุกชายคนหนึ่งเป็นเวลา 13 ปี ในความผิดฐานลักลอบค้าชิ้นส่วนสัตว์ใกล้สูญพันธุ์จากแอฟริกา ซึ่งรวมถึงงาช้างและนอแรดน้ำหนักเกือบ 10 ตัน
ชายคนหนึ่งที่มาจากรัฐนิวเจอร์ซีย์ ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกเกือบ 7 ปี ในความผิดฐานฉีดสเปรย์ใส่ที่ใบหน้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งในระหว่างที่มีการประท้วงที่บริเวณอาคารรัฐสภาเมื่อปี 2021
มาเก๊า 18 ม.ค. – ศาลมาเก๊าสั่งจำคุกนายอัลวิน เชา ประธานบริษัททัวร์กาสิโนรายใหญ่ที่สุดของมาเก๊า เป็นเวลา 18 ปี หลังเขาถูกจับกุมในความผิดกว่า 100 กระทงเกี่ยวกับการตั้งองค์กรอาชญากรรมและการเล่นการพนันที่ผิดกฎหมาย บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า นายเชา ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัทซันซิตีกรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัททัวร์กาสิโนรายใหญ่ที่สุดของมาเก๊า วัย 48 ปี ถูกตัดสินให้มีความผิดและรับโทษจำคุก 18 ปีในคดีเกี่ยวกับการเปิดให้เล่นการพนันโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 823,700 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 3.4 ล้านล้านบาท) บีบีซียังระบุว่า ธุรกิจของนายเชานั้นเป็นการเปิดให้บริการทัวร์กาสิโนจากจีนมายังมาเก๊า พร้อมเปิดให้กู้ยืมเงินเพื่อเล่นการพนัน นอกจากนี้ นายเชายังทำธุรกิจเกี่ยวกับบริการทวงหนี้ให้คาสิโนและเปิดห้องวีไอพีสำหรับเล่นการพนันในคาสิโนทั่วมาเก๊า ทั้งนี้ นายเชา ซึ่งได้รับฉายาว่า ‘เจ้าพ่อทัวร์กาสิโน’ (Junket King) ได้ประกาศวางมือจากธุรกิจทัวร์กาสิโนในเดือนธันวาคม 2563 หลังถูกตำรวจจับกุมตัว ก่อนหน้านี้ ศาลเมืองเหวินโจวในมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ได้ตัดสินจำคุกผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับคดีของนายเชากว่า 30 คนในเดือนกันยายนปีก่อน ขณะที่ซันซิตีกรุ๊ปได้ประกาศปิดห้องวีไอพีทั้งหมดในคาสิโนทั่วมาเก๊าหลังนายเชาถูกจับกุม ตั้งแต่นั้นธุรกิจทัวร์คาสิโนในจีนก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีบริษัททัวร์คาสิโนเหลือเพียง 36 […]
เตหะราน 10 ม.ค.- บุตรสาวอดีตประธานาธิบดีอัคบาร์ ฮาเชมี ราฟซานจานี ของอิหร่านถูกศาลอิหร่านตัดสินจำคุก 5 ปี ทนายความของนางฟาเอเชห์ ฮาเชมี นักเคลื่อนไหววัย 60 ปี เผยว่า ลูกความถูกตัดสินจำคุก 5 ปี แต่ยังไม่ใช่คำพิพากษาถึงที่สุด และไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ขณะที่สำนักข่าวอิสนา กึ่งทางการอิหร่านระบุว่า อัยการกรุงเตหะรานได้ฟ้องเธอเมื่อปีก่อนในข้อหาโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านการปกครอง สื่อทางการอิหร่านรายงานเมื่อเดือนกันยายน 2565 ว่า บุตรสาวอดีตประธานาธิบดีถูกควบคุมตัวโทษฐานยุยงให้เกิดเหตุจลาจลในกรุงเตหะราน ช่วงที่มีการประท้วงจากเหตุสตรีอิหร่านเชื้อสายเคิร์ดเสียชีวิตขณะถูกตำรวจควบคุมตัวเพราะไม่สวมฮิญาบ ฮาเชมีเคยถูกตัดสินจำคุกในปี 2555 และห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง เนื่องจากโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐในช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2552 ครั้งนั้นประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัด ชนะเลือกตั้งได้ดำรงตำแหน่งอีกสมัยด้วยคะแนนเสียงถึงร้อยละ 62 ทำให้เกิดการประท้วงทั้งในและต่างประเทศว่ามีการโกงเลือกตั้ง ส่วนอดีตประธานาธิบดีราฟซานจานี บิดาของเธอดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2532-2540 ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2560 เขาเป็นผู้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและปรับปรุงความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก ทำให้มีทั้งผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้าน.-สำนักข่าวไทย
ย่างกุ้ง 10 ม.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานว่า ทางการได้ตัดสินจำคุกชาวโรฮีนจา 112 คน เป็นเวลา 2-5 ปี โดยมีเด็กรวมอยู่ด้วย โทษฐานพยายามเดินทางไปมาเลเซียโดยไม่มีเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานอ้างตำรวจท้องถิ่นว่า คนกลุ่มนี้ถูกจับกุมเมื่อเดือนธันวาคมที่เขตอิรวดี ทางตอนใต้ของประเทศ และถูกตัดสินจำคุกเมื่อวันที่ 6 มกราคม ส่วนเด็กสิบกว่าคนถูกย้ายไปยังโรงเรียนอบรมเยาวชนใกล้นครย่างกุ้งเมื่อวันที่ 8 มกราคม รายงานเรียกชาวโรฮีนจากลุ่มนี้ว่า เบงกาลี เป็นคำเหยียดที่ใช้เรียกชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ทางการเมียนมาไม่ให้สัญชาติและมักจำกัดการเดินทาง กองทัพเมียนมาใช้กำลังกวาดล้างในปี 2560 ทำให้ชาวโรฮีนจาหลายแสนคนหนีข้ามพรมแดนเข้าไปยังบังกลาเทศ และมีการฟ้องร้องเมียนมาต่อศาลโลกในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ละปีมีชาวโรฮีนจาจำนวนมากเสี่ยงชีวิตล่องเรือออกจากเมียนมาและค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศหวังเดินทางไปยังมาเลเซียและอินโดนีเซียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีเรือไม้ลำหนึ่งที่มีชาวโรฮีนจาเกือบ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรีไปขึ้นฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย นับเป็นลำที่ 5 แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน.-605
วอชิงตัน 4 ม.ค.- สหรัฐประหารชีวิตสตรีข้ามเพศเป็นรายแรกของประเทศเมื่อค่ำวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น และเป็นนักโทษที่ถูกประหารชีวิตในสหรัฐเป็นรายแรกของปีนี้ สำนักงานเรือนจำรัฐมิสซูรีแถลงว่า แอมเบอร์ แมคลัฟลิน วัย 49 ปี เสียชีวิตก่อนเวลา 19:00 น.วันอังคารที่ทัณฑสถานเมืองบอนแทร์ สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นรายงานว่า เธอถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดยา รายงานข่าวหลายแห่งระบุว่า แมคลัฟลินเริ่มแปลงเพศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังคงถูกคุมขังในส่วนของนักโทษประหารที่เป็นนักโทษชาย แมคลัฟลินถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาฆาตกรรมอดีตแฟนสาวในปี 2546 ในย่านชานเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ในช่วงที่ยังไม่ได้แปลงเพศเป็นผู้หญิง เขาสะกดรอยตามเธอที่กำลังไปขอให้ศาลออกคำสั่งห้ามเขาเข้าใกล้ โดยได้ไปดักรอเธอหลังจากเลิกงานแล้วข่มขืนฆ่าด้วยมีดทำครัว จากนั้นนำศพไปทิ้งใกล้แม่น้ำ คณะลูกขุนตัดสินในปี 2549 ให้มีความผิดข้อหาฆาตกรรม แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าแมคลัฟลินที่แปลงเพศแล้วควรรับโทษสถานใด ผู้พิพากษาจึงใช้อำนาจแทรกแซงด้วยการตัดสินให้ประหารชีวิต ทนายความร้องขอให้ผู้ว่าการรัฐลดโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต โดยอ้างว่าเป็นคำตัดสินจากผู้พิพากษาเพียงคนเดียว ไม่ใช่มติของชุมชน นอกจากนี้ยังอ้างว่าเธอมีปัญหาในวัยเด็กและมีปัญหาสุขภาพจิต จากการที่ถูกพ่อเลี้ยงใช้กระบองทุบตีและช็อตไฟฟ้า และมีความทุกข์ใจในเพศสภาพของตนเอง (gender dysphoria).-สำนักข่าวไทย
เนปิดอว์ 30 ธ.ค.- แหล่งข่าวเผยว่า ศาลรัฐบาลทหารเมียนมาตัดสินวันนี้ ให้จำคุก 7 ปี นางออง ซาน ซู จี ข้อหาทุจริต ปิดฉากการพิจารณาคดีอดีตผู้นำรัฐบาลพลเรือนเมียนมาที่ใช้เวลาทั้งหมด 18 เดือน หลังจากการรัฐประหารเมื่อต้นปี 2564 แหล่งข่าวเผยว่า นางซู จี วัย 77 ปี ถูกตัดสินจำคุกในคดีทุจริต 5 กระทงที่เกี่ยวเนื่องกับการว่าจ้าง จัดซื้อ และซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง เป็นเหตุให้รัฐเกิดความเสียหาย คดีนี้เป็นคดีสุดท้ายแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอถูกตัดสินว่ามีความผิดในหลายคดี ตั้งแต่ทุจริตไปจนถึงครอบครองวิทยุสื่อสารอย่างผิดกฎหมายและฝ่าฝืนมาตรการจำกัดโควิด-19 รวมถูกจำคุกทั้งหมด 33 ปี และขณะนี้ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี นางซู จี ถูกควบคุมตัวและพิจารณาคดีตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สื่อมวลชนถูกห้ามเข้าฟังการพิจารณาคดี ขณะที่สื่อทางการเมียนมาเผยแพร่ภาพถ่ายระยะไกลขณะที่เธออยู่ในห้องพิจารณาคดีเพียงครั้งเดียว ข้อมูลเกี่ยวกับคดีทั้งหมดจึงต้องอาศัยการเปิดเผยโดยทนายความเท่านั้น สัปดาห์ที่แล้วคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) มีมติเป็นครั้งแรกเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาปล่อยตัวเธอ กองทัพเมียนมากล่าวหาว่า มีการโกงอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดี (NLD) ของนางซู จีชนะเป็นสมัยที่ […]