หลายประเทศต่างชื่นชมปรากฏการณ์บลูมูน สว่างไสวงดงาม
เมื่อคืนที่ผ่านมาหลายประเทศมีโอกาสได้ชื่นชมความงามของพระจันทร์เต็มดวง เป็นปรากฏการณ์จันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในเดือนเดียว หรือที่เรียกว่า บลูมูน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
เมื่อคืนที่ผ่านมาหลายประเทศมีโอกาสได้ชื่นชมความงามของพระจันทร์เต็มดวง เป็นปรากฏการณ์จันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในเดือนเดียว หรือที่เรียกว่า บลูมูน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
กรุงเทพฯ 3ธ.ค.-สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยภาพดวงจันทร์ช่วงหัวค่ำวันที่ 3 ธันวาคม 2560 เป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ระยะห่างประมาณ 357,973 กิโลเมตร คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หรือมักเรียกว่า “ซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) โดยภาพดังกล่าวบันทึกไว้เมื่อเวลาประมาณ 19:00 น. ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ช่วงเวลาดังกล่าวดวงจันทร์เพิ่งโผล่พ้นจากขอบฟ้า ซึ่งหากเราสังเกตดวงจันทร์ขณะอยู่บริเวณใกล้ขอบฟ้าจะรู้สึกว่ามีขนาดปรากฏใหญ่กว่าตำแหน่งอื่น ๆ บนท้องฟ้า แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาพลวงตาที่เรียกว่า“Moon Illusion” เนื่องจากบริเวณขอบฟ้ามีวัตถุให้เปรียบเทียบขนาด เช่น ภูเขา ต้นไม้ อาคาร เป็นต้น แต่บริเวณกลางท้องฟ้าไม่มีวัตถุใดมาเปรียบเทียบขนาด ทำให้ความรู้สึกในการมองดวงจันทร์บริเวณกลางฟ้าดูมีขนาดเล็กกว่าปกติ.-สำนักข่าวไทย
มีการแชร์เรื่องปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่เรียกว่า Hunter Moon เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์