2 ค่ายมือถือ แข่งเสนอราคา แย่งคลื่นความถี่

กรุงเทพฯ 29 มิ.ย.- 2 ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ เข้าประมูลคลื่นมือถือ กสทช. หนุนเอกชนใช้คลื่นใหม่ ยกระดับคลื่น 5G รองรับ AI กำชับให้บริการเครือข่ายทุกตำบลภายใน 5 ปี รองรับประชาชนใช้เน็ตในยุคดิจิทัล ผู้สืื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสำนักงาน กสทช.เริ่มเปิดประมูล คลื่นความถี่โทรคมนาคม ความถี่ย่าน 850 MHz, 1500 MHz โดยเฉพาะคลื่นความถี่ 2,100 MHz,และคลื่น 2,300 MHz เป็นคลื่นความถี่สูงที่ใช้งานบริการมือถือในปัจจุบัน หลังเปิดประมูล 09.30 น. การยื่นเสนอราคา นับว่า ค่ายมือถือทั้งสองราย ไม่สนในยื่นเสนอราคา ในคลื่น 850 MHz และคลื่น 1,500 MHz เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ต่ำ โดยเอกชนทั้งสองราย สนใจเสนอราคาคลื่นความถี่ การประมูลล่าสุด คลื่นความถี่กลุุ่มที่ 2 เป็นคลื่นความถี่ 2,100 MHz จำนวน 2 […]

กสทช.จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะครั้งที่ 2

สำนักงาน กสทช. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz และ 26 GHz ครั้งที่ 2

ชำระค่าประมูลคลื่น 700 และ 900ให้ กสทช.

กรุงเทพฯ 6 ม.ค.-บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด มาชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 700 MHz งวดที่ 3 เป็นจำนวนเงิน 1,881,488,000 บาท และ ย่าน 900 MHz งวดที่ 5 เป็นจำนวนเงิน 4,072,848,000 บาท 

ระบบเตือนภัยด้วยเครือข่ายวิทยุสื่อสาร

กระบี่ 6 พ.ย.63 – กทปส. เปิดตัวระบบแทรคกิ้งสภาพอากาศอัตโนมัติ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ VHF สามารถเตือนเหตุภัยพิบัติ และระบุพิกัดในการกู้ภัยได้อย่างแม่นยำ แม้สัญญานอินเตอร์เน็ตในพื้นที่จะใช้การไม่ได้ กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือกทปส. ร่วมกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดตัวต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ ที่จังหวัดกระบี่ เป็นระบบติดตามสภาพอากาศเรียลไทม์ ด้วยคลื่นความถี่และเน็ตไฮสปีด โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ VHF ซึ่งเดิมสมาคมวิทยาสมัครเล่นฯ ใช้สำหรับการสื่อสารเท่านั้น ปรับปรุงเพิ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ได้เป็นโครงข่ายสื่อสำรองฉุกเฉินไร้สายระบุพิกัดอัจฉริยะ เพื่อการติดตามเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและ SAR ที่สามารถสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินแนวทางป้องกันภัยพิบัติ ระบุพิกัดทีมค้นหา และช่วยเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกแนวใหม่ได้อย่างแม่นยำ เป็นการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายไร้สายให้มีประสิทธิภาพสูง โดยจุดเด่นของระบบนี้จะสามารถจับและแจ้งเตือนภัยพิบัติ รวมทั้งการระบุพิกัดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสัญญานอินเตอร์เน็ต ทำให้ในยามฉุกเฉินหรือเกิดพิบัติภัยที่ระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรศัพท์มือถือล่ม ระบบนี้ก็ยังสามารถทำงานได้ มำให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่ช่วยเหลือ และแจ้งเตือนได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ดร.จักรี ห่านทองคํา นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ มีอุปกรณ์สำคัญ 4 ส่วน  1. สถานีรับข้อมูล ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางธรรมชาติและข้อมูลประกอบแต่ละจังหวัด 2. อุปกรณ์ตรวจวัด เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังสถานีรับข้อมูล 3.อุปกรณ์ระบบสายอากาศย่าน VHF และ 4. สายนำสัญญาณแหล่งจ่ายพลังงาน พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงส่วนต่าง ๆ  โดยสถานีฯ จะตรวจวัดค่าทุก 10 นาที แล้วส่งข้อมูลมาที่สถานีรับข้อมูล จากนั้นจะส่งต่อข้อมูลมายังศูนย์รวมกลางเพื่อเก็บรวบรวม เพื่อนำข้อมูลมาประมวล ซึ่งระบบจะรายงานข้อมูลทางธรรมชาติที่จำเป็นแบบเรียลไทม์ เช่น อุณหภูมิความชื่นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ ปริมาณน้ำฝน ทิศทางลม ค่าฝุ่นในอากาศ หรือ PM2.5 ใช้ในการติดตามเฝ้าระวังและวางแผนป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ผ่านการสื่อสารในรูปแบบคลื่นความถี่วิทยุย่านความถี่ VHF นอกจากนี้ระบบที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้ติดตามค้นหาในพื้นที่ห่างไกล เสริมอุปกรณ์แทรคกิ้งเป็นตัวจับสัญญานเพื่อช่วยปักหมุดค้นหาและแสดงผลแบบเรียลไทม์ ระบุตำแหน่งจำแนกสิ่งต่าง ๆ ได้ทั้งบุคคล รถยนต์ เครื่องบิน เรือ และพาหนะ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะงานกู้ภัยที่ลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในด้านการเกษตรช่วยเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้วยระบบจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนเพาะปลูกเป็นเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)  ปัจจุบันทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ รวม 40 จุด ครอบคลุม 40 จังหวัดทั่วประเทศโดยพร้อมรองรับการใช้งานได้ในทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นอีกนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ทำให้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์ของสังคมและประเทศได้มากยิ่งขึ้น นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) กล่าวว่า กทปส. พร้อมเป็นหน่วยงานที่มอบทุนส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นรูปธรรมทั้งนวัตกรรมและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม โดยปี 2563 กทปส. จัดสรรเงินกองทุนมูลค่ากว่า 2,600 ล้านบาท ใน 85 โครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ .-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปทดสอบหูใช้ได้ จริงหรือ?

สังคมออนไลน์แชร์แนะนำให้ทดสอบหูของตัวเองด้วยการฟังเสียงจากความถี่ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลื่น 5G อันตราย ทำนกตายนับร้อย จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์บทความเตือนว่า การทดสอบคลื่นมือถือ 5G ในต่างประเทศ ทำให้มีนกตกลงมาตายนับร้อยตัว สะท้อนว่าเป็นคลื่นที่อันตราย เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

“ดีแทค” คว้าคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์

ผลการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จัดโดย กสทช.เป็นไปตามคาด “ดีแทค” เคาะราคาเพียงครั้งเดียว เป็นผู้ประมูลได้ด้วยราคา 38,064 ล้านบาท

...