กสทช.จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะครั้งที่ 2

กรุงเทพ 1 เม.ย. – สำนักงาน กสทช. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz และ 26 GHz ครั้งที่ 2


สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.) ได้จัดงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz และ 26 GHz ครั้งที่ 2 โดยมี นายต่อพงศ์ เสลานนท์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ รองศาสตราจารย์สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เข้าร่วมงาน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูงมีบทบาทสำคัญในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ดังนั้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการสื่อสาร ก็ต้องคำนึงถึงความสำคัญในการนำมาใช้เพื่อพัฒนาสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย การจัดทำ (ร่าง) ประกาศ ดังกล่าว จะนำไปสู่การจัดสรรคลื่นความถี่ที่รองรับกับความต้องการการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้บริการการสื่อสารความเร็วสูงของประเทศอย่างต่อเนื่อง การจัดสรรคลื่นความถี่ที่รองรับกับความต้องการการใช้งานที่หลากหลายนี้ คณะกรรมการ กสทช. มีความเห็นตรงกันว่า ควรมีการพิจารณาออกแบบหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่อย่างรอบคอบและรัดกุม เนื่องจากคลื่นความถี่ทุกคลื่น มีการนำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีความสำคัญสำหรับการนำไปพัฒนาการให้บริการต่อผู้บริโภค และภาคอุตสาหกรรม โดย กสทช. มุ่งหวังให้มีกลไกการประมูลที่ก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ รวมทั้งพิจารณาถึงโอกาสที่จะมีผู้ให้บริการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่การใช้งานคลื่นความถี่ที่ยกระดับเครือข่าย 5G และการสื่อสารความเร็วสูงแห่งอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กสทช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่าน ทุกภาคส่วนจะเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการจัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อนำไปใช้งานในภาคส่วนต่าง ๆ ให้เกิดความต่อเนื่อง


นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า จากที่สำนักงาน กสทช. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ฯ เมื่อวันที่ 20 มกราคม – 20 กุมภาพันธ์ 2568 และได้นำเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และร่างประกาศหลักเกณฑ์ ต่อ กสทช. ในการประชุม ครั้งที่ 8/2568 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 และการประชุม ครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ซึ่ง กสทช. มีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปต่อ (ร่าง) ประกาศหลักเกณฑ์ฯ อีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นที่มาของการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันนี้ (1 เม.ย.)

สำนักงาน กสทช. ได้จัดงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะฯ ครั้งที่ 2 เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับความคิดเห็นที่รอบด้าน ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสุดต่อประชาชน และประเทศไทย โดยมีหัวข้อที่เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะฯ ดังนี้ 1.) คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล 2.) ความเหมาะสมของวิธีการประมูลและการจัดกลุ่มคลื่นความถี่ เพื่อให้ส่งเสริมการแข่งขันในการประมูลคลื่นความถี่ 3.) ความเหมาะสมของมูลค่าคลื่นความถี่และวิธีการคำนวณ รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการกำหนดราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (Reserve price) 4.) ความเหมาะสมของการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่และการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz หรือ 2300 MHz สำหรับผู้ให้บริการรายใหม่ และ 5.) ความเหมาะสมของการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ดำเนินการเพื่อสังคม และการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติมสำหรับผู้ถือบัตรประจำตัวคนพิการ ผู้ถือบัตรโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแล ตระหนักดีว่า คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล เป็นรากฐานสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูง ที่สามารถรองรับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ดังนั้น การออกแบบการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับบริการการสื่อสารความเร็วสูงของประเทศ สำนักงาน กสทช. จึงได้คำนึงถึงหลักการแข่งขัน และการกระจายทรัพยากรของชาติอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และผลักดันนโยบายจัดสรรคลื่นความถี่ อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ยุติธรรม


การประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช.ฯ นี้ ได้จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 โดยได้เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. ข้างต้น ซึ่งสามารถนำส่งแบบแสดงความคิดเห็นได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2568 จนถึงวันที่ 4 เมษายน 2568 ในเวลา 16.30 น.-513-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น