เร่งจับ “อิกัวนาเขียว” เอเลี่ยนสปีชีส์หวั่นกระทบระบบนิเวศ

อุดรธานี 16 พ.ย. – อธิบดีกรมอุทยานฯ สั่งเจ้าหน้าที่เร่งจับ “อิกัวนาเขียว” สัตว์ต่างถิ่นที่คำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี พบแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุมชน ล่าสุดจับได้ 3 ตัว โดยจะจับต่อเนื่อง หวั่นส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชี้หากปล่อยสู่ธรรมชาติ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) เร่งจับ “อิกัวนาเขียว” สัตว์ต่างถิ่นซึ่งพบแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุมชน ตามที่พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำชับให้กรมอุทยานฯ เร่งแก้ปัญหา วันนี้ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ. 10 หัวหน้าสวนรุกขชาติบ้านดุง หัวหน้าด่านตรวจสัตว์ป่าหนองคาย หัวหน้าศูนย์อนุรักษ์และช่วยเหลือสัตว์ป่าต่างประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวม 20 คนได้ประชุมร่วมกับนายอำเภอบ้านดุงและคณะกรรมการบริหารพื้นที่คำชะโนดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการกระจายพันธุ์ การทำลายพืชผล การรบกวนระบบนิเวศน์ของอิกัวนาเขียว บริเวณพื้นที่คำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี […]

กรมอุทยานฯ ร่วมรับฟังความเห็นสถานภาพทางกฎหมายของ “นกกรงหัวจุก”

กรุงเทพฯ 18 ต.ค. – กรมอุทยานฯ จับมือทุกภาคส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็น ปัญหาการครอบครองและสถานภาพทางกฎหมายของนกปรอดหัวโขน นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการครอบครองและสถานภาพทางกฎหมายของนกปรอดหัวโขน ที่ห้องประชุมสัมมนา ชั้น บี 1 สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมมีวัตถุประสงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจถึงการเลี้ยงนกปรอดหัวโขน การเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์ การอนุรักษ์ รวมไปถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบกับผู้เลี้ยง และนกปรอดหัวโขนที่อาศัยในธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ ผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับนก รวมไปถึงนักอนุรักษ์ ได้รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย นกปรอดหัวโขน (นกกรงหัวจุก) เป็นที่นิยมเลี้ยงในภาคใต้เนื่องจากมีเสียงร้องไพเราะและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งกลุ่มผู้เลี้ยงสามารถเพาะพันธุ์นกได้จำนวนมาก จึงผลักดันให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจและปลด “นกปรอดหัวโขน” จากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของภาคใต้  โดยนกปรอดหัวโขน มีการกระจายตัวอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยข้อมูลในปี 2566 พบว่ามีการกระจายตัวของนกปรอดหัวโขนในธรรมชาติ พบได้ทั่วไปในป่าโปร่งที่อยู่ใกล้ชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก […]

กรมอุทยานฯ วางมาตรการเข้มแก้ปัญหาช้างป่า พร้อมเตรียมการรับเสด็จฯ

ระยอง 8 ต.ค. -อธิบดีกรมอุทยานฯ ประชุมแก้ไขปัญหาช้างออกนอกป่าและไฟป่าในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก พร้อมเตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจห้วงเดือน พ.ย. นี้ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเป็นประธานประชุมการแก้ไขปัญหาช้างป่าและไฟป่าในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก โดยมีนายก้องเกียรติ เต็มตำนาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม นายอรรถพลรับฟังรายงานสถานการณ์การดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาช้างป่าออกหากินนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และปัญหาไฟป่าในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก การจัดทำแผนงาน ประจำปี 2567 ของหน่วยงานในพื้นที่โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ประกอบด้วย พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา -เขาวง อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ กรมอุทยานฯ เตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2566 นายอรรถพลได้ลงพื้นที่เขาซก อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีช้างขนาดใหญ่ […]

กรมอุทยานฯ เร่งสนับสนุนกำลังพล-ยานพาหนะ ช่วยเหลือน้ำท่วม

กรมอุทยานฯ เร่งสนับสนุนกำลังพลยานพาหนะ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยจะช่วยเหลือจนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ

กรมอุทยานฯ วางมาตรการเข้มป้องกันช้างป่าหากินนอกป่า

กรมอุทยานฯ วางแผนแก้ปัญหาช้างป่าออกหากินบุกบ้านคน เร่งผลักดัน​กลับ​เข้าป่า เตือนประชาชนหากพบช้างป่า​ ขอให้​รีบแจ้ง​เครือข่าย​อาสาสมัคร​ฯ​

กรมอุทยานฯ​ วางมาตรการ​เข้มป้องกัน​ช้างออกหากินนอกป่า​

ผอ. สบอ. 2 (ศรีราชา) ประชุมด่วน​ กำชับ​ชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังผลักดันช้างทั้ง​ 15​ ชุดในกลุ่ม​ป่าตะวันออก​ เตรียม​รับมือปัญหา​ช้าง​ออกนอกป่า​มารบกวน​ประชาชน​ ย้ำให้​ผลักดันกลับเข้า​ป่าทันที​ เพื่อ​ไม่ให้​ช้างทำลายพืชผลทางการเกษตร

เร่งอนุบาลลูกช้างป่าพลัดหลง ติดตามหาโขลงไม่ลดละ

กรมอุทยานฯ อนุบาลลูกช้างป่าภูวัวอายุ 2 สัปดาห์ที่พลัดหลงโขลงอย่างใกล้ชิด สุขภาพโดยรวมยังค่อนข้างอ่อนแอ พร้อมให้เจ้าหน้าที่ออกติดตามร่องรอยโขลงเพื่อส่งลูกช้างกลับคืน

กรมอุทยานฯ จับกุมเครือข่ายตัดไม้มีค่าใน จ.แม่ฮ่องสอน

อธิบดีกรมอุทยานฯ เผยหน่วยพญาเสือร่วมกับอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ตรวจสอบขยายผล จับกุมเครือข่ายตัดไม้มีค่า ในพื้นที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ตรวจยึดไม้ประดู่ พร้อมอุปกรณ์กระทำความผิด

พบ “เสือลายเมฆ” เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม

อธิบดีกรมอุทยานฯ เผยข่าวดี กล้องดักถ่ายสัตว์ป่าบันทึกภาพ “เสือลายเมฆ” สัตว์ป่าคุ้มครองที่มีสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า ขณะที่ผลการอนุรักษ์เสือโคร่งของไทย เนื่องในวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก พบว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง เพิ่มประชากรได้ 100% ใน 10 ปีที่ผ่านมา

เผยเหตุกระทิงตาบอดจากติดเชื้อโรคที่มีแมลงวันตาเป็นพาหะ

อธิบดีกรมอุทยานฯ เผยเหตุพบกระทิงตาบอดในหลายพื้นที่ เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย โดยมี “แมลงวันตา” เป็นพาหะ ซ้ำแมลงชนิดนี้ยังดูดกินน้ำเลี้ยงจากลูกนัยน์ตา อาการอักเสบลุกลามจากตาข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง จนกระทั่งตาบอดถาวร ย้ำไม่ได้เกิดจากโดนฉี่หมาในตามที่เป็นข่าวสั่งสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าร่วมกับสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชตรวจสอบเพิ่มเพื่อเร่งหามาตรการรับมือ

ขึ้นเงินเดือนผู้พิทักษ์ป่าผ่านด่านแรก ลุ้นสำนักงบประมาณสนับสนุนต่อ

อธิบดีกรมอุทยานฯ เผย กรมบัญชีกลางทำหนังสือตอบกลับ อนุมัติให้เพิ่มค่าตอบแทนหรือเงินเดือนของผู้พิทักษ์ป่า 13,419 อัตรา จาก 9,000 บาทต่อเดือน เป็นไม่เกิน 11,000 บาทต่อเดือน หลังไม่ขึ้นมา 11 ปี เตรียมประสานสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังเพื่อดำเนินการขั้นต่อไป

“ตุลา” ลูกช้างป่าพลัดหลง เริ่มกินนมแม่ช้าง ยังพบเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส

“ตุลา” ลูกช้างป่าพลัดหลงที่กรมอุทยานฯ ดูแล ได้รับบริจาคนมแม่ช้างจากมูลนิธิพระคชบาล และวังช้างอยุธยา แล เพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายเนื่องจากยังตรวจพบเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างสุขภาพในระยะยาว

1 2 3 4 5 6 9
...