ธพ.ตามติดผลกระทบสงครามหากบานปลาย น้ำมันอาจแตะ 130 เหรียญ/บาร์เรล

ธพ.ตามติดผลกระทบสงครามฉนวนกาซา หากบานปลายน้ำมันดิบอาจแตะ 130 เหรียญ/บาร์เรล เตรียมแผนรับมือ ส่วนการลดราคาแก๊สโซออล์ 2.50 บาทต่อลิตร 3 เดือน ไม่กระทบแผนน้ำมันฯ อนาคตที่ยังตั้งเป้ายกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91 ส่งเสริม E 20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน

8 เดือน ไทยใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 154.88 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 2.3% 

กรุงเทพฯ 29 ก.ย.- กรมธุรกิจพลังงาน เผย 8 เดือน ไทยใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 154.88 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 2.3% ภาคท่องเที่ยวฟื้นดันน้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์พุ่ง 70% 

ยอดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 7 เดือนปี 66 อยู่ที่ 156.14 ล้านลิตร/วัน

กรุงเทพฯ 31 ส.ค.-อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเผยสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 7 เดือนของปี 2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม อยู่ที่ 156.14 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 

ยอดใช้น้ำมันครึ่งปีแรกพุ่ง 156.74 ล้านลิตร/วัน

กรุงเทพฯ 21 ส.ค.-กรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงครึ่งปีแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม – มิถุนายน) เฉลี่ยอยู่ที่ 156.74 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.7 คาดครึ่งปีหลังใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการปรับตัวของธุรกิจที่พึ่งพาการขนส่งมากขึ้น 

ยอดใช้ดีเซล 5 เดือนแรกปีนี้หดตัวร้อยละ 3

กรมธุรกิจพลังงาน เผยยอดใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 5 เดือนของปี 2566 (มกราคม – พฤษภาคม) อยู่ที่ 157.75 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.0 แต่ยอดใช้ดีเซลซึ่งเป็นตัวเลขชี้วัดเศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 3

กรมธุรกิจพลังงาน- BAFS บริหารจัดการเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน 

กรุงเทพฯ 13 มิ.ย. – กรมธุรกิจพลังงาน คาดตั้งคณะทำงานสนับสนุนการลงทุนโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ใน 2 เดือน ด้าน BAFS  มั่นใจปีนี้ผลประกอบการพลิกกลับมาบวก ตั้งเป้าปี 2566 ให้บริการน้ำมันอากาศยาน 4,200 ลิตร  นางพัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน  และความก้าวหน้าโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ที่บริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS) พร้อมชมการสาธิตการใช้รถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า ( EV Hydrant Dispenser ) ซึ่งเป็นรถเติมน้ำมันอากาศยาน ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าทั้งระบบ 100% ผลิตโดยบริษัท บาฟส์ อินเทค จำกัด ปัจจุบันให้บริการแล้วที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนสนใจและสั่งซื้อปให้บริการในสนามบินอาทิ กัมพูชา มาเลเซีย รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมการบินมีสัญญาณเริ่มฟื้นตัว ซึ่งในอนาคตการเติบโตส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรมการบินโลกจะมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นหลัก แต่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังทวีความรุนแรงต่อเนื่อง แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถเริ่มได้เลยคือ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่สามารถผสมกับน้ำมันอากาศยานและสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบเดียวกันกับที่ใช้ผลิตเอทานอล และไบโอดีเซล ดังนั้นโครงการการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) จึงเป็นนโยบายสำคัญที่กรมธุรกิจพลังงาน ต้องผลักดันและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยเบื้องต้นจะตั้งคณะทำงานสนับสนุนนโยบายการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจลงทุน  เช่น การจัดหาวัตถุดิบเพื่อผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงหรือจำเป็นจะต้องนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มเติมหรือไม่ คาดว่าภายใน 2 เดือนจะจัดตั้งคณะทำงานเป็นรูปธรรมได้   ส่วนด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะหารือกับบีโอไอและกรมสรรพสามิต เพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามแผน และรองรับนโยบายของทั่วโลก ที่กำหนดให้มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2568 โดยภายใต้ร่างข้อกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้สายการบินฯ ต้องเพิ่มสัดส่วนของส่วนผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงSAF กับน้ำมันเชื้อเพลิง Jet Feul ร้อยละ 2 ในปี 2568 ร้อยละ 5 ในปี 2573 ร้อยละ 20 ในปี 2578 ร้อยละ 32 ในปี2583 ร้อยละ 38 ในปี 2588 และร้อยละ 63 ในปี 2593 ตามลำดับ หากฝ่าฝืนจะถูกปรับ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนให้ชัดเจน เพื่อเป็นทิศทางนโยบายของประเทศในการสนับสนุนการลงทุน ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุน 2 -3 รายที่เป็นกลุ่มโรงกลั่น สนใจลงทุนในการผลิต SAF ด้าน ม.ล.ณัฐสิทธิ์  ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS) ยอมรับว่าการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพมีต้นทุนสูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงปัจจุบัน 3-5เท่า  จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะนโยบายด้านภาษี เช่น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 5 บาท/ลิตร ซึ่งถือเป็นต้นทุนร้อยละ 20 ของอุตสาหกรรมอากาศยาน จึงทำให้ปริมาณ การผลิตน้ำมันอากาศยานชีวภาพยังมีสัดส่วนที่น้อย  ซึ่งหากปรับสัดส่วนได้จะเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการบิน สำหรับ 6 เดือนเรกปี 2566 ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน อยู่ที่ 1,800 ล้านลิตร เกินเป้าหมายไปร้อยละ5  ขณะที่คาดว่าครึ่งปีหลังที่ฤดูกาลท่องเที่ยว หรือไฮซีซั่น รวมถึงสลอตการบินของจีนที่เพิ่มขึ้น 4-5 เท่า จาก 100-125 เที่ยวบินต่อวัน เป็น  400-500 เที่ยวบินต่อวัน พร้อมตั้งเป้าการใช้น้ำมันอากาศยานทั้งปี 2566 จะอยู่ที่ 4,200 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ  40 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นการฟื้นตัวราว ร้อยละ 68 ของปริมาณการเติมน้ำมันก่อนเกิดโควิด-19 และคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในปีหน้า ที่มีการใช้น้ำมันอากาศยานที่ 6,200ล้านลิตรต่อปี ยังมีปัจจัยหนุน จากสนามบินสุวรรณภูมิ ที่จะเปิดอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 แห่งใหม่ (SAT1) นอกจากนี้ โครงข่ายระบบท่อส่งน้ำมัน ของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ได้ขยายการให้บริการสู่ภาคเหนือ ขณะนี้มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 20% หรือคิดเป็นประมาณ 410 ล้านลิตร เท่านั้น เทียบกับความสามารถของท่อทั้งสิ้น 2,450 ล้านลิตรโดยตั้งเป้าเพิ่มเป็น 609-806 ล้านลิตรภายในสิ้นปีนี้  ทำให้มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้จะกลับมาเป็นบวก เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,410 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 281 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทมีแผนเชื่อมระบบท่อส่งน้ำมันในภาคตะวันออก จากปัจจุบันท่อส่งน้ำมันจะเชื่อมกับคลังน้ำมันของบางจากฯ ที่บางปะอิน แต่ยังไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบท่อในแถบตะวันออก ซึ่งมีโรงกลั่นฯค่อนข้างมาก โดยกลุ่มบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เบื้องต้นบริษัทได้ขออนุญาตกรมทางหลวงแล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเชื่อมต่อระบบท่อส่งน้ำมันของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) จากสระบุรีไปอ่างทอง ระยะทาง 52 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,200 ล้านบาท คาดว่าจะมีความชัดเจนด้านการลงทุนภายใน 2 เดือน หากเป็นไปตามแผนคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ แล้วเสร็จภายในปี 2568 งบประมาณ 1,500 ล้านบาท และหากโครงการเชื่อมท่อส่งน้ำมันภาคตะวันออกได้ข้อสรุปตามแผน ก็จะเพิ่มงบลงทุนอีก 1,200 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย

พบ 70 ร้านค้าก๊าซฯ รับรูดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐผิดวัตถุประสงค์​

กรมธุรกิจพลังงาน คุมเข้มรูดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อก๊าซฯ หากโกงรูดเพื่อซื้อสินค้าอื่น ร้านค้าถูกตัดสิทธิร่วมโครงการทันที เบื้องต้นตรวจพบกระทำผิด 70 ร้านค้า

ยอดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 4 เดือนแรกโต 3.1% 

กรุงเทพฯ 7 มิ.ย.- 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) ปี 2566 ไทยใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 158.86 ล้านลิตร/วัน โตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 คาดทั้งปีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะโตกว่าละ 7.4 ชี้เป็นการส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอย่างเห็นได้ชัด

ยอดใช้น้ำมันไตรมาสแรก โตร้อยละ 5.6 เผย OIL PLAN รับเปลี่ยนผ่านพลังงาน

ยอดใช้น้ำมันไตรมาส 1/66 โตร้อยละ 5.6 คาดครึ่งหลังโตตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ธพ.ย้ำทำแผนน้ำมัน รับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และจัดการระบบท่อแบบ Single Operator คาด เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศกว่า 200,000 ล้านบาท

2 เดือนแรกปีนี้ ยอดใช้น้ำมันโตร้อยละ 5.9

ยอดรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยเดือน ม.ค. – ก.พ. 66 อยู่ที่ 161.78 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เหตุท่องเที่ยวฟื้น หลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

ธพ.แจ้งเตือนเสี่ยงอันตราย-ผิด กม.”ใช้ถังเติมก๊าซที่ปั๊ม”

กรุงเทพฯ 1 มี.ค.- วันนี้ ราคาแอลพีจีขึ้นอีก 1 บาท/กก. พบชาวบ้านแห่นำถังก๊าซฯไปเติมน้ำก๊าซฯที่ปั๊ม   ธพ.แจ้งเตือนเสี่ยงอันตราย-ผิด กม.

1 2 3 4 6
...