“BRAIN ROT” ถูกประกาศให้เป็น “คำแห่งปี 2024” โดย Oxford Dictionary สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน
🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
“BRAIN ROT” สภาวะการเสื่อมถอยของสภาพจิตใจหรือสติปัญญา อันเกิดจากการบริโภคเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่มีคุณภาพมากเกินไป
BRAIN = สมอง และ ROT = เน่า
ดังนั้น BRAIN ROT หมายถึง สมองเน่า
BRAIN ROT เป็นคำเปรียบเปรยหมายถึง สมองของเรามีภาวะเหนื่อยล้า หรือความจำใช้งานระยะยาวทำไม่ได้ หรือมีภาวะการตัดสินใจหรือมีภาวะหลงลืม อันเกิดมาจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นระยะเวลานาน
ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์นานอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงเนื้อหาที่ดูไม่ค่อยเสริมสร้างความรู้ แต่เป็นเนื้อหาจากวิดีโอสั้น ๆ เช่น Reel ใน YouTube หรือ TikTok หรือเป็นสื่อสั้นอะไรก็ได้บนสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้สมองของคนเราขาดการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning)
BRAIN ROT ทำลายสมาธิระยะยาว ทำให้ไม่มีความสามารถใช้สามาธิระดับสูง ก็จะเกิดภาวะสมองเน่าได้
“BRAIN ROT” กับผลกระทบเชิงสุขภาพ
เนื่องจาก BRAIN ROT มีนัยผลกระทบกับสุขภาพทางการแพทย์ เป็นการสะท้อนว่าพฤติกรรมคนรุ่นปัจจุบัน เปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้อย่างผิวเผิน ที่เรียกว่า Surface Learning คือการเรียนรู้อย่างฉาบฉวยและผิวเผิน
การที่ BRAIN ROT ถูกเลือกเป็นคำแห่งปี 2024 เพื่อต้องการเตือนว่า ถ้าคนรุ่นนี้ยังมีพฤติกรรม Surface Learning ดูอะไรฉาบฉวยเพื่อความสนุก จะเป็นการทำลายกลไกทางสมองของคนรุ่นปัจจุบัน จะส่งผลถึงระดับ Genetic (ลำดับของ DNA) จะกลายเป็นพ่อแม่ที่คิดอะไรฉาบฉวย และลูกของเขาก็จะเติบโตขึ้นมาแบบคิดอะไรฉาบฉวย ไม่ลึกซึ้งเช่นกัน
การเรียนรู้ที่สำคัญก็คือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning)
การที่ BRAIN ROT ถูกเลือกขึ้นมาเพราะมีนัยเชิงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมนั้นจะเปลี่ยนแปลงสู่ระดับยีน และการเปลี่ยนแปลงระดับยีนส่งผลต่อพลเมืองในรุ่นหน้า (รุ่นต่อไป) ที่เป็น Generation ใหม่ที่ด้อยคุณภาพในการคิด
การเสพสื่อด้วยความเข้าใจ
Social Media Platform ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้แบบที่ต้องใช้ระยะเวลา เพราะถูกแข่งขันด้วยการดึง “Eyewall” คือสายตาของคนกับ “นิ้ว” ที่อยู่บนแพลตฟอร์มนั้น
การนำวิดีโอสั้น ๆ มาใช้กับการเรียนรู้ จะเหมาะสมกับการทำกิจกรรม workshop แต่สาระจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ที่การดูวิดีโอสั้น เพราะวิดีโอสั้นให้ดูขั้นตอนว่าวิธีการทำกันอย่างไร
วิดีโอสั้นอาจจะยาวเพียง 5-10 นาที แต่ระยะเวลาอีกเกือบ 1 ชั่วโมงต่างหากที่จะต้องลงมือทำจริง ซึ่งเด็กจะต้องเรียนรู้กระบวนการทำจริง (ต้องใช้เวลา)
ขอฝากผู้ที่เกี่ยวข้อง พยายามหลีกเลี่ยงวิดีโอสั้น ไม่ให้เข้ามาอยู่ในชั้นเรียน
ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานให้ลดการดูวิดีโอสั้น และปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะวิดีโอสั้นเท่านั้น รวมถึง Post Status Instagram ภาพถ่าย Social Media ที่มาในรูปของภาพและตัวหนังสือ สิ่งเหล่านี้ก็ทำลายสมองเหมือนกัน เพราะมาเร็วและไปเร็ว (เพียงแค่คลิกนิ้วผ่านเท่านั้น) เนื้อหาก็สะเปะสะปะ ทำให้วิธีการเรียนรู้ของเด็กถูกทำลาย
ลองคิดดู ถ้าเด็กดูแต่วิดีโอสั้นเป็นหลัก โดยไม่รู้ที่มาที่ไป จะทำให้การเชื่อมโยงผลลัพธ์ไม่สมบูรณ์ เกิดภาวะข้อมูลล้นแต่นำไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนไทยที่ว่า “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด”
หนทางสร้างสุขของทุกคน ลดการเสพสื่อที่ไม่เป็นประโยชน์ เลือกรับข้อมูลที่มีคุณค่าและเหมาะสม
สัมภาษณ์โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง
เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : BRAIN ROT คำแห่งปี 2024 สะท้อนปัญหาใหญ่ในยุคปัจจุบัน !
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter