เปิดศูนย์ศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม

รพ.นพรัตน์ฯ 25 มี.ค.- อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดงานสถาปนา รพ.นพรัตน์ฯ ครบ 40 ปี พร้อมเปิดศูนย์ศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด เพื่อบริการคน กทม.ตะวันออก ส่วนกรณีดารานอนเสียชีวิตปริศนา ชี้อย่าเพิ่งสรุปควรรอผลชันสูตร


นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเปิดงานวันสถาปนาโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ครบรอบ 40 ปี และเปิดศูนย์ศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด ว่า การเปิดศูนย์ศัลยกรรมหัวใจเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ให้กับโรงบาลฝั่งตะวันออกของกรุงเทพเนื่องจากที่ผ่านมาหากมีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเดิมต้องส่งตัวเข้ารักษาในเมืองทั้งโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถีหรือโรงเรียนแพทย์ แต่จากนี้สามารถดำเนินการสวนหัวใจและผ่าตัดรักษาได้ที่โรงพยาบาลนพรัตน์ฯ  โดยสถิติแต่ละปีมีผู้ป่วยมาขอรับการรักษาด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่โรงพยาบาลนพรัตน์ฯเฉลี่ย 500 ถึง 700 คน พร้อมย้ำชั่วโมงทองของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในรอบ 120 นาทีผู้ป่วยต้องรับยาละลายลิมเลือดหรือดำเนินการสวนหัวใจเพื่อให้ร่างกายกลับมาฟื้นฟูปกติโดยเร็ว

นพ.สมศักดิ์  ยังกล่าวว่า สำหรับกรณีนักแสดงวัยรุ่นชายเสียชีวิตอย่างกระทันหันขณะหลับนั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับไหลตาย หรือ โรคหัวใจหรือไม่  ต้องรอการชันสูตรที่ชัดเจนเสียก่อนโดยโรคหัวใจบางคนเป็นโดยไม่รู้ตัวหรือบางคนรู้ตัวเช่นอดีต โรคเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่เกิดกับ อดีตรัฐมนตรีท่านหนึ่ง (นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ)  ก็เกิดขึ้นขณะหลับเพราะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่ใช่โรคไหลตายอย่างที่หลายคนเข้าใจบางคนมีประวัติการป่วยด้วยโรคหัวใจหรือบางคนไม่มีแต่อาจมีอาการเข้าข่ายเช่นหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ดังนั้นต้องรอความชัดเจน ในส่วนคนที่เป็นโรคหัวใจนอนลำพังและไม่มีคนร่วมสังเกตุ หากมีอาการก็อาจช่วยชีวิตกู้วิกฤติไม่ทัน


นพ.เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กล่าวว่า การเสียชีวิตขณะนอนหลับไม่ได้มีแค่โรคไหลตาย ยังมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) หรือภาวะผนังหัวใจหนา และหัวใจกำเริบเฉียบพลัน โดยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน พบได้ในทุกช่วงอายุแต่พบบ่อยในผู้ใหญ่วัยกลางคน   ที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ และทุกเวลามักจะพบได้บ่อยใน ขณะออกกำลังกาย โดยไม่มีสัญญาณเตือน แตกต่างจากภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart attack) ซึ่งมักจะหมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยทั่วไปจะมีสัญญาณเตือนนำมาก่อนเช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อแตก ใจสั่นหายใจไม่อิ่ม แต่อย่างไรก็ดีการเกิดภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลัน  (Heart attack) อาจนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest)ได้ โรคไหลตาย สามารถรับรู้ได้ด้วยการตรวจยีนส์ หรือตรวจ คลื่นหัวใจก็สามารถแสดงผลออกมาได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

จุดเทียนรำลึก 20 ปี สึนามิ

ค่ำคืนนี้ ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สว่างไสวจากแสงเทียนนับพันเล่มที่ถูกจุดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่รักซึ่งจากไปในเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบ 20 ปีเต็ม

สอบแล้ว 5 ปาก คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์

ผบช.ภ.2 เผย สอบแล้ว 5 ปาก พยานสำคัญ คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์ พร้อมไล่ไทม์ไลน์ เปิดผลชันสูตรเบื้องต้นหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ส่งชิ้นเนื้อ สารคัดหลั่ง เลือด และเศษอาหารในกระเพาะตรวจแล็บ หาสาเหตุที่แท้จริง

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการ ปชช.เดินทางช่วงปีใหม่

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า กำชับ บขส. อำนวยความสะดวกเตรียมพร้อมรถ สั่งเข้มตรวจแอลกอฮอล์-ยาเสพติดพนักงานขับรถ ป้องกันอุบัติเหตุ