เปิดสถิติหญิงไทยถูกละเมิดทางเพศ-กระทำรุนแรง มากกว่า 7 คน/วัน

กรุงเทพฯ  8 มี.ค. – สสส.พบหญิงไทยถูกละเมิดทางเพศ-กระทำความรุนแรง มากกว่า 7 คน/วัน เข้ารับการบำบัดรักษา-แจ้งความร้องทุกข์ 30,000 คน/ปี สูงติดอันดับโลก ขณะที่ผู้หญิงจังหวัดชายแดนใต้ ต้องเผชิญการถูกลิดรอนจำกัดสิทธิ-กีดกันการมีส่วนร่วม-ถูกมองเป็นเพียงไม้ประดับ ไร้ปากเสียง ไม่มีอำนาจตัดสินใจ 


นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผู้หญิงทุกสังคมต้องเผชิญปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงทางเพศต่อเนื่อง ประเทศไทยมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก พบผู้หญิงถูกละเมิดทางเพศ ถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่น้อยกว่า 7 คน/วัน และมีสถิติผู้หญิงที่เข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ประมาณปีละ 30,000 คน ขณะที่รายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พบกว่าร้อยละ 87 ของคดีการถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยถูกรายงาน และจากการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิง และบุคคลในครอบครัวของไทยระดับประเทศ พบความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.6 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 42.2 ในปี 2563 โดยประเภทความรุนแรงสูงสุด คือ ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 32.3 รองลงมา คือ ความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 9.9 และความรุนแรงทางเพศร้อยละ 4.5

“เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม สสส. หวังว่านอกเหนือจากการส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาคของสตรีแล้ว ทุกภาคส่วนควรร่วมกันลด และขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ความรุนแรงในครอบครัว การข่มขืน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ของสหประชาชาติ ที่ระบุให้การขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ทั้งในที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว เป็นเป้าหมายที่ประเทศต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญและทำให้บรรลุเป้าหมาย และจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ต้องเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ ตกงาน มีภาระหนี้สิน ทำให้เกิดความเครียดสะสม และความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น สสส. ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย จึงเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่แสดงความเห็นร่วมหาทางออกจากปัญหาดังกล่าวร่วมกัน โดยประกาศรับสมัครเยาวชนรุ่นใหม่ และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในช่วงปลายเดือนมีนาคม – เมษายน 2565 สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.นับเราด้วยคน.com” นางภรณี กล่าว 


น.ส.วรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ในฐานะแกนนำกลุ่มลูกเหรียง กล่าวว่า เคยเป็นเหยื่อความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ ต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัว 4 คนจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว อีกทั้งยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง โดยผู้หญิงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ต้องเผชิญ 3 ปัญหา ได้แก่ 1.การถูกลิดรอนสิทธิ ถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมระดับกลไกของรัฐ หรือระดับการเมืองท้องถิ่น ในการช่วยตัดสินใจ ช่วยแก้ปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ถูกมองว่าควรเป็นเรื่องของผู้ชาย 2.สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ความรุนแรงในครอบครัวสูง การหย่าร้างเพิ่มขึ้น กรณีเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องในครอบครัว คนนอกไม่ควรยุ่ง ขณะที่มีผู้หญิงจำนวนมากกล้าหาญไปขอความยุติธรรมจากหน่วยงาน แต่จะถูกบอกว่าให้อดทน และ 3.การไม่ยอมรับให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ ทั้งที่ในพื้นที่ผู้ชายมีจำนวนน้อยลงจากการเสียชีวิตในเหตุการณ์ความไม่สงบ หลบหนีกระบวนการยุติธรรม หรือเจอคดียาเสพติดทำให้สัดส่วนจำนวนผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย แต่ในระดับการตัดสินใจหรือกลไกต่าง ๆ กลับให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมเพียงร้อยละ 0.05 สะท้อนการให้โอกาสที่น้อยมาก

“พวกเราจึงจัดตั้งกลุ่มผู้หญิงที่ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือสำหรับผู้หญิงที่ต้องการเข้าถึงความยุติธรรม เพราะเราไม่อยากเป็นแค่องค์ประกอบ ที่ผ่านมาคนชอบบอกว่าก็มีตัวแทนผู้หญิงแล้ว แต่ในความจริงเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เราต้องการมีตัวแทนผู้หญิงในสัดส่วนที่มากขึ้นเพื่อที่จะตัดสินใจร่วมกันได้ โดยเคารพความเป็นมนุษย์เท่ากัน ไม่ใช่เป็นเพียงไม้ประดับ ไม่ได้เป็นตัวจริง การทำงานเป็นผู้นำสตรีในพื้นที่เป็นสิ่งที่ยาก กว่าจะพิสูจน์ตัวเองให้เป็นที่ยอมรับได้ ผู้ชายทำงานเพียง 10 ผู้หญิงต้องทำงาน 100-200 จึงทำให้ยอมรับได้โดยไม่มีข้อกังขา ส่วนตัวต้องเผชิญกับการที่ผู้ชายไม่ยอมรับให้เป็นผู้นำ กว่าจะทำให้ยอมรับได้ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี และกว่าจะทำให้ผู้หญิงในพื้นที่มั่นใจในตัวเอง กล้าออกมาส่งเสียง ต้องเข้าไปทำงานร่วมกับเขา 4-5 ปี ซึ่งปัญหาอุปสรรคยังเป็นเรื่องการยึดมั่นในความเชื่อว่า ผู้นำต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น จึงเป็นประเด็นที่จะต้องทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงอีกมาก” น.ส.วรรณกนก กล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”