กทม.เปิดแผนรับมือ 8 จุดเสี่ยงน้ำท่วมถนนสายหลัก

กรุงเทพฯ 11 ก.ค. – กทม.เปิดแผนรับมือ 8 จุดเสี่ยงน้ำท่วมถนนสายหลัก เร่งปรับปรุงระบบระบายน้ำใหม่ เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปีนี้


นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักการระบายน้ำ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามการพัฒนาและปรับปรุงระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงน้ำท่วม บริเวณ 8 จุดเสี่ยงสำคัญ ในพื้นที่ 5 เขต

รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ถือเป็นการส่งการบ้านให้ชาวกรุงฯ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงฝนหนักของปีนี้ว่า กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการปรับปรุงระบบระบายน้ำในถนนสายหลัก เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำอย่างไรบ้าง โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครมีปัญหาน้ำท่วม รวม 737 จุด แบ่งเป็น ปัญหาน้ำท่วมจากน้ำเหนือน้ำหนุน 120 จุด และปัญหาน้ำท่วมจากน้ำฝน 617 จุด


จากการวิเคราะห์ข้อมูลในปี 2565 พื้นที่ กทม.มีปริมาณฝนรวม 2,355.5 มิลลิเมตร มากกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี (พ.ศ.2534-2563) คิดเป็น 40 % โดยเฉพาะเดือนกันยายน ปริมาณฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานครมากถึง 801.5 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ของเดือนกันยายน ถึง 2.48 เท่า ซึ่งมากกว่าศักยภาพของระบบการระบายน้ำ ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมอบนโยบายให้สำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขตร่วมกันถอดบทเรียนจากสถานการณ์น้ำท่วมปีดังกล่าว

สำหรับ 8 จุดที่มาลงพื้นที่ในวันนี้ ถือเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมที่สำคัญ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ปรับปรุงแก้ไขระบบระบายน้ำ พร้อมทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้หลายโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จ สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนของ 8 จุดเสี่ยง ประกอบด้วย 1. บ่อสูบน้ำคูน้ำสารวัตรทหารที่ 11 เขตราชเทวี 2.ถนนพระรามที่ 9 บริเวณแยก อสมท. เขตห้วยขวาง 3.ถนนรัชดาภิเษก ช่วงบริเวณหน้าศาลอาญา เขตจตุจักร 4.ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงวงเวียนบางเขน เขตบางเขน 5.ทำนบกั้นน้ำคลองลำผักชี ข้างตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน
6.ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าอาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) เขตหลักสี่ 7.โครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา 5 ธันวาคม 2550 กับถนนประชาชื่น (ถนนหมายเลข 10) เขตหลักสี่ และ 8. ถนนแจ้งวัฒนะ ซอยแจ้งวัฒนะ 14 บริเวณบึงสีกัน เขตหลักสี่

สำหรับโครงการไฮไลท์วันนี้ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมเดินหน้ารับใช้ชาวกรุงแบบ 100% แล้ว อาทิ แก้มลิง วงเวียนบางเขน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอย 2, 4 (ดำเนินการแล้วเสร็จ) ด้วยขนาดกักเก็บน้ำ 6,000 ลบ.ม. เพื่อเก็บกักและพักน้ำไว้ชั่วคราว ขณะฝนตกหนัก เพราะพื้นที่บริเวณ วงเวียนบางเขนประสบปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อเกิดฝนตกหนัก ที่ถนนพหลโยธิน และ ถนนรามอินทรา นอกจากนี้ยังมีการทำเลนวิ่งรอบบริเวณแก้มลิงเพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้งานเพื่อการออกกำลังกายและการพักผ่อนด้วย


​พื้นที่บริเวณวงเวียนบางเขนประสบปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อเกิดฝนตกหนัก ที่ถนนพหลโยธิน และถนนรามอินทรา เนื่องจากระบบระบายน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำได้ทำ MOU ร่วมกับกรมทางหลวงขออนุญาตใช้พื้นที่ในเขตทางหลวงเพื่อก่อสร้างเป็นแก้มลิง เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าว โดยก่อสร้างแก้มลิงมีขนาดกักเก็บน้ำ 6,000 ลบ.ม. เพื่อเก็บกักและพักน้ำไว้ชั่วคราว ขณะฝนตกหนัก ถนนพหลโยธิน ถนนรามอินทรา และระบายน้ำลงรางอ้อรางแก้ว ลงสู่คลองบางเขนต่อไป

​นอกจากนี้ยังมีการเลนวิ่งรอบบริเวณแก้มลิงเพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้งานเพื่อการออกกำลังกายและการพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ 100%

อีกจุดหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมที่มีมาอย่างยาวนานได้ คือ บ่อสูบน้ำถนนพระรามที่ 9 ตอนลำรางแยก อสมท. ซอยทวีมิตร ซึ่งเป็นซอยเอกชนที่มีระดับต่ำกว่าถนนพระรามที่ 9 เมื่อฝนตกหนักจึงมักประสบปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบาย ส่งผลกระทบกับผู้อาศัยและสัญจรในพื้นที่จำนวนมาก สำนักการระบายน้ำจึงดำเนินการปรับปรุง บ่อสูบน้ำดังกล่าวเป็นบ่อสูบน้ำถาวร เพื่อรองรับระบบระบายน้ำของชุมชนหมู่บ้านในซอยทวีมิตร ซึ่งได้ให้ความร่วมมือพัฒนาระบบระบายน้ำของตนเองมาเชื่อมโยงเข้ากับระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร ถือเป็น “โมเดลต้นแบบ” ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมร่วมกันของกทม.กับเอกชนอีกแห่งหนึ่ง

อีก 2 โครงการที่ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบภายใน ก.ค. 67 คือ บ่อสูบน้ำคูน้ำสารวัตรทหารที่ 11ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้โดยรอบเป็นชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่นสูง และมีสถานที่ราชการและโรงพยาบาลที่สำคัญอยู่จำนวนมาก ท่อระบายน้ำเดิมมีขนาดไม่เพียงพอ จึงเกิดโครงการก่อสร้างท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ด้วยวิธีดัน (Pipe Jacking) และรางระบายน้ำ แม้จะติดอุปสรรคหลายด้าน แต่ขณะนี้เดินทางมาถึง 90% จะแล้วเสร็จเดือน ก.ค. 67
เช่นเดียวกับ การก่อสร้างท่อลอดถนนรัชดาภิเษก และแผนการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การก่อสร้างบ่อสูบน้ำศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ตอนลงคลองบางตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าศูนย์ราชการฯ และงานก่อสร้างถนนหมายเลข 10 และระบบระบายน้ำ รางระบายน้ำ O – Gutter ในโครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา 5 ธันวาคม 2550 กับถนนประชาชื่น ก็จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 67 เช่นกัน

อีกจุดที่พบปัญหาเป็นประจำคือ บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ซอยแจ้งวัฒนะ 14 บริเวณบึงสีกัน โดยได้ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างแก้มลิงบึงสีกัน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซอยแจ้งวัฒนะ 14 (ผลการดำเนินการ 10% กำหนดแล้วเสร็จ ก.พ. 68) (ระบบชั่วคราวแล้วเสร็จ ส.ค. 67)

​ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังในซอยแจ้งวัฒนะ 14 โดยเฉพาะพื้นที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์และพื้นที่หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์ เนื่องจากระบบระบายน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำ เดิมบึงสีกันเป็นพื้นที่เอกชนไม่มีระบบบริหารจัดการน้ำ สำนักการระบายน้ำจึงดำเนินการปรับปรุงแก้มลิงบึงสีกัน เพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำภายในบึงสีกันโดยสามารถบริหารจัดการเป็นแก้มลิงรองรับน้ำส่วนเกินสามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ในแก้มลิงได้ 150,000 ลบ.ม. ช่วยพักน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นที่ไว้ชั่วคราว และระบายน้ำลงคลองบางพูด คลองตาอูฐ ลงสู่คลองเปรมประชากรต่อไป โดยพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 1.63 ตร.กม. คิดเป็นประมาณ 1,200 ครัวเรือน ครอบคลุมซอยแจ้งวัฒนะ 14 พื้นที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ พื้นที่หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์ หมู่บ้านชวนชื่นหมู่บ้านโกลเด้นทาวน์ วิภาวดี –แจ้งวัฒนะ ซอยโกสุมรวมใจ และถนนวัดเวฬุวนารามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง ผลงาน 10% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยระบบชั่วคราวเพื่อการพร้องน้ำและการระบายน้ำออกจากบึงสีกันจะสามารถใช้งานได้ภายในเดือนสิงหาคม 2567 นี้

รองผู้ว่าฯ กทม.ยังเปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำของกรุงเทพมหานคร ปี 67 ภาพรวมขณะนี้กรุงเทพมหานคร ตรวจวัดปริมาณฝนที่สำนักการระบายน้ำได้ 530.5 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ประมาณ 20 % (ค่าเฉลี่ย 30 ปี ของสำนักการระบายน้ำ 670.8 มิลลิเมตร)

​ประกอบกับสถานการณ์ เอนโซ ที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญา ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2567 ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และจะต่อเนื่องไปจนถึงกุมภาพันธ์ 2568 จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งต้องเฝ้าระวังและติดตามการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาโดยเฉพาะเดือน สิงหาคม กันยายนและตุลาคม คาดว่าฝนจะตกเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ กทม.ยังได้พร่องน้ำตามลำคลองต่างๆ และแม้ว่ากทม.จะต้องรับมือกับปริมาณฝน ที่จะมีโอกาสตกหนักมากเป็นหย่อมส่วแต่ก็ต้องพร้อมสำหรับการบริหารจัดการน้ำเหนือที่จะมาด้วย ซึ่งก็มีการพูดคุยประชุมร่วมกันทุกเดือนกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สนทช. ที่เป็นหน่วยงานหลักบริหารจัดการน้ำ

“ทั้ง 8 โครงการที่นำมาส่งการบ้านชาวกรุงฯ ในวันนี้ ทุกโครงการล้วนประสบปัญหาแตกต่างกันไป บ้างต้องเจรจากับหลายฝ่ายที่ต้องใช้เวลาอย่างยาวนาน บ้างต้องจัดการกับสาธารณูปโภคที่ทับซ้อนกัน บางพื้นที่ไม่ใช่ของ กทม.บางโครงการมีการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนจนเกิดเป็นโมเดลการบูรณาการใหม่ ๆ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ หัวใจคือ เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง รูปแบบ วิธีการ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ของระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาให้ชาวกรุงเทพมหานคร ได้อย่างยั่งยืน“ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว.-417-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

คุมตัวโจรมาเลย์ชิงทอง 138 บาท ทำแผนฯ

ตำรวจคุมตัวโจรมาเลย์ชิงทอง 138 บาท ในพื้นที่หาดใหญ่ ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ พบประวัติสุดแสบ ปล้นฆ่าที่มาเลเซียตั้งแต่อายุ 17 ยังหนีมาก่อเหตุซ้ำที่ไทยอีกหลายครั้ง

นายกฯ ขึ้น ฮ. ดูสภาพจราจรเดินทางสงกรานต์

นายกฯ ขึ้น ฮ. บินดูสภาพจราจร ถ.มิตรภาพ-เส้นทางขึ้นเหนือ-ลงใต้ เตรียมพร้อมประชาชนเดินทางกลับบ้านสงกรานต์ พร้อมตรวจคืบหน้าก่อสร้างทางด่วนพระราม 2 มั่นใจเปิดใช้เต็มรูปแบบ ปลายปี 68 ขณะ “สุริยะ” ยันปลอดภัย ไม่มีของตกหล่น สั่งหยุดก่อสร้างตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้แทน สตง.แจงยิบสร้างตึก สตง. ยันเหล็ก-ปูนมีมาตรฐาน

กมธ.ติดตามงบฯ ถกโครงการสร้างตึก สตง.แห่งใหม่ ด้าน ‘ผู้แทน สตง.’ แจงยิบปรับสัญญาถึง 14 มิ.ย.นี้ ทั้งที่การสร้างต้องเสร็จ 31 ธ.ค.66 ยัน เหล็ก-ปูนมีมาตรฐาน ลั่นเดินหน้าสร้างต่อ แต่ปรับรูปแบบไม่สูง-ทับที่ตึกเก่า ใช้งบที่เหลือสร้าง