วิเคราะห์สาเหตุโครงสร้างถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวไต้หวัน

3 เม.ย.- นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์สาเหตุโครงสร้างถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวไต้หวัน


จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.4 เกิดขึ้นนอกชายฝั่งตะวันออก ห่างออกไปทางทิศใต้ของเมืองหัวเหลียนประมาณ 20 กิโลเมตร ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ตามข้อมูลจากหน่วยงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) สาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดจากรอยเลื่อนย้อน (Reverse faulting) เกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ ที่ระดับความลึก 34.8 กม. อยู่ในบริเวณวงแหวนไฟ ซึ่งเป็นพื้นที่มีการเกิดแผ่นดินไหวชุกชุมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

การเกิดรอยเลื่อนย้อนดังกล่าวทำให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลก จึงทำให้เกิดสึนามิซัดเขาหาชายฝั่งตามมา ขณะนี้ตรวจพบคลื่นสึนามิสูงประมาณ 30 ซม. ซึ่งยังไม่เป็นอันตรายมาก อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจัดเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ และมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 25 ปี แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ไกลถึงกรุงไทเป และในประเทศจีนด้วย และยังมีอาฟเตอร์ช็อกที่มีขนาดมากกว่า 5 แมกนิจูดเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดดินถล่มในบางพื้นที่อีกด้วย


สำหรับข้อสังเกตการณ์ถล่มของอาคารหลายหลัง ในเมืองหัวเหลียน ศ.ดร.อมร พิมานมาศ อธิบายว่ามีโครงสร้างอาคารพังถล่มหลายหลัง โดยพบรูปแบบบการพังถล่มที่เกิดขึ้นในชั้นล่างของอาคาร ซึ่งทางวิศวกรรมเรียกว่าการวิบัติแบบชั้นอ่อน (Soft storey) โดยเสาชั้นล่างของอาคารจะถูกทำลาย ทำให้อาคารส่วนที่เหลือล้มเอียงทำมุม 45 องศากับพื้นดิน และอาคารที่พังทลายลักษณะนี้ น่าจะเป็นอาคารเก่าที่ยังไม่ได้รับการเสริมกำลัง

อาคารที่มีความเสี่ยง “ชั้นอ่อน” จะมีลักษณะที่ชั้นล่างเปิดโล่ง มักเป็นอาคารพาณิชย์ ที่เปิดโล่งชั้นล่างทางด้านหน้า 1 ด้านเพื่อใช้ทำการค้า ส่วนด้านที่เหลือมีการก่อผนัง จึงทำให้เสาชั้นล่างด้านที่เปิดโล่งเป็นเสาอ่อนแอ จึงพังทลายและทำให้อาคารล้มเอียงลงมา ดังที่เกิดขึ้น

แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นที่ไต้หวัน ไม่ได้ส่งผลกระทบมาที่ประเทศไทย แต่ประเทศไทยก็ยังมีความเสี่ยงแผ่นดินไหวระดับปานกลาง ในหลายพื้นที่ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ตลอดจนถึงกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการเสริมความแข็งแรงให้แก่อาคารเก่า ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การพอกขยายเสาให้ใหญ่ขึ้น หรือการติดตั้งค้ำยันทแยง (Bracing) ซึ่งเป็นวิธีการที่ลดความเสี่ยงการวิบัติจากชั้นอ่อนได้ .411.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เกาะติดทุกโหมดการเดินทางเทศกาลปีใหม่ 2568

เกาะติดทุกโหมดการเดินทางขาออกเทศกาลปีใหม่ 2568 ถนนทุกสาย และระบบขนส่งสาธารณะทุกโหมด มีประชาชนทะลักเดินทางตั้งแต่เย็นวานนี้ (27 ธ.ค.) ภาพรวมเป็นอย่างไร พูดคุยกับนายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม.

หยุดยาววันแรก การจราจรขาออก กทม. มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่น

เริ่มหยุดยาววันแรก การจราจรบนท้องถนนขาออกกรุงเทพฯ มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่นตั้งแต่เมื่อคืน เช้านี้ ถนนมิตรภาพ ช่วง ต.กลางดง อ.ปากช่อง ชะลอเคลื่อนตัวไปได้เรื่อยๆ ส่วนถนนพหลโยธิน ขาเข้าหนองแค รถเริ่มแน่น