คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบมาตรการป้องกันโควิด รองรับการเข้าประเทศ

สธ. 12 ม.ค. – รมว.สาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบมาตรการรองรับการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยผู้เดินทางจากประเทศที่กำหนดให้มีผลตรวจ RT-PCR ขากลับ ต้องมีประกันสุขภาพโควิดวงเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเห็นชอบให้บริการวัคซีนโควิดชาวต่างชาติตามสมัครใจ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 รองรับการเดินทางเข้าประเทศ เพื่อให้การทำงานไร้รอยต่อ


นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายอนุทิน กล่าวว่า ปัจจุบันไม่มีศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) การควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังกลับมาอยู่ภายใต้อำนาจ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 จึงประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและทันสถานการณ์ ซึ่งตั้งแต่ประเทศไทยได้ผ่อนคลายมาตรการและเปิดรับผู้เดินทางจากทั่วโลก มีการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ สายการบินมีคนเดินทางมากขึ้น 80%
ทำให้ธุรกิจต่างๆ กลับมาพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดที่จีนมีการเปิดประเทศเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2566 ก็ได้มีการหารือเตรียมพร้อมรองรับให้การเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีน มีความสะดวกและปลอดภัย ทั้งแก่ผู้เดินทางและประชาชนในประเทศ ซึ่งจากตรวจเยี่ยมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากจีนเที่ยวบินแรก ผู้ที่เดินทางมายิ้มแย้มแจ่มใสและมีความสุขที่ได้มาเมืองไทย บรรยากาศของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นมาก แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวกำลังเพิ่มมากขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา สถานการณ์เดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวจากจีนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย


นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมในวันนี้ ได้เห็นชอบใน 3 เรื่อง คือ เรื่องแรก มาตรการรองรับการเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 มี 3 เรื่องย่อย คือ 1.มาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันควบคุมโรค-19 ของประเทศไทยสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ ให้มีการบูรณาการความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยว คมนาคม ต่างประเทศ สาธารณสุขและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมดูแลนักท่องเที่ยวและมาตรการด้านสาธารณสุข เช่น เฝ้าระวังโรคกลุ่มผู้เดินทางที่มีอาการทางเดินหายใจให้ได้รับการตรวจด้วย ATK/PCR ตรวจสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 เพิ่มกลไกการรายงานผ่านเว็บไซต์กรมควบคุมโรค เฝ้าระวังและตรวจสายพันธุ์ในน้ำเสียจากเครื่องบิน 2.แนวทางการทำประกันภัยสำหรับนักท่องเที่ยว เน้นผู้เดินทางจากประเทศที่กำหนดให้ขากลับประเทศต้นทางต้องมีผลตรวจ RT-PCR คือ จีนและอินเดีย โดยต้องมีประกันสุขภาพวงเงินไม่น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมการรักษาโควิด-19 ตลอดช่วงระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทยและบวกเพิ่มอีก 7 วัน กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทย (เงื่อนไขตามที่กำหนด) สำหรับผู้มาประกอบภารกิจ รวมถึงลูกเรือ นักเรียน อาจจะใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพหรือเอกสารแสดงถึงการมีประกันรูปแบบอื่นรับรองแทน โดยเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อจะสุ่มตรวจเอกสารรับรองประกันสุขภาพของผู้เดินทางจากประเทศดังกล่าว หากพบว่าไม่มีเอกสารประกันสุขภาพ ผู้นั้นจะต้องซื้อประกันสุขภาพก่อนเข้าเมือง และ 3.แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว เพื่อป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 เน้นผู้ประกอบการท่องเที่ยวและประชาชนได้รับวัคซีนโควิดครบ 4 เข็ม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการป้องกันการป่วยหนัก

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า เรื่องที่ 2 คือ การให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในชาวต่างชาติ โดยให้มีการจัดระบบและกำหนดแนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด- 19 ตามความสมัครใจ และคิดค่าบริการที่เหมาะสม ภายใต้กลไก Medical hub โดยวัคซีนที่ให้บริการจะเป็นวัคซีนที่รัฐบาลไทยจัดซื้อมาเท่านั้น และมีจุดบริการฉีดวัคซีนสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในระยะนำร่อง แบ่งเป็น กทม. ได้แก่ สถาบันโรคผิวหนัง รพ.นพรัตนราชธานี รพ.เลิดสิน รพ.ราชวิถี ศูนย์การแพทย์บางรัก สถาบันบำราศนราดูร และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, เชียงใหม่ ได้แก่ รพ.ประสาทเชียงใหม่, ชลบุรี ที่ศูนย์พัทยารักษ์, ภูเก็ต หน่วยบริการที่ดำเนินการโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ การบริหารจัดการวัคซีนให้คำนึงถึงปริมาณวัคซีนคงคลังที่จะไม่กระทบกับประชาชนไทยและให้จัดสรรวัคซีนให้แก่ประชาชนไทยเป็นลำดับแรก และ เรื่องที่ 3 คือ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 รองรับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้มีกลไกการจัดการด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด มีการประสานงานมาตรการที่ใช้กับผู้เดินทางอย่างไร้รอยต่อ

“ภาพรวมในวันนี้ ประเทศไทยสามารถผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดี จำนวนผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตลดลง อัตราครองเตียงระดับ 2 และ 3 ยังต่ำกว่า 6% แต่ที่ต้องเร่งรัดคือ การฉีดวัคซีนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ซึ่งที่เสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน ไม่ได้รับเข็มกระตุ้น หรือได้รับเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือน จึงต้องรณรงค์ให้รับวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม กระตุ้นทุก 4 เดือน เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน เพราะหากติดเชื้อจะไม่ป่วยรุนแรงและเสียชีวิต” นายอนุทิน กล่าว. -สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร