กทม. ร่วมมือเครือข่าย รพ. รองรับสิทธิบัตรทอง

กทม. 26 ก.ย. – กทม. สร้างความร่วมมือเครือข่าย รพ. นำเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมรองรับประชาชนที่ถูกยกเลิกสิทธิบัตรทอง รพ. 9 แห่ง


ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรณีประเด็นที่ทาง สปสช. ยกเลิกบัตรทองกับโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 9 แห่ง ซึ่งจะทำให้มีประชาชนประมาณ 220,000 คน ที่ทาง สปสช. ต้องจัดหาหน่วยบริการปฐมภูมิในการรองรับ และประมาณ 690,000 คน ที่จะต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ซึ่งการยกเลิกสิทธิจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ม.ค.66 แต่ในช่วงระหว่าง 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. 65 ทางสปสช. จะช่วยสิทธิบัตรทองไปก่อน โดยใน 3 เดือนนี้ที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านผู้ใช้สิทธิบัตรทองยังสามารถใช้บริการใน 9 โรงพยาบาลที่ยกเลิกได้อยู่ ซึ่งในส่วนของกทม. ก็ได้ดำเนินการพร้อมรับผู้ป่วยนอก จำนวน 220,000 คน ซึ่งสามารถเข้ารับบริการที่สถานบริการใกล้บ้าน ณ หน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่ง คือหน่วยบริการสาธารณสุข ทั้ง 69 แห่ง และศูนย์บริการสาขา 73 แห่ง รวมทั้งคลินิกอบอุ่นประมาณ 213 แห่ง ซึ่งสปสช.ดูแลอยู่

โดยมีผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทองในโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง อยู่จริงๆ ประมาณ 20,000 คน จาก 220,000 คนของผู้มีสิทธิ และมีผู้ใช้บริการเป็นประจำกับศูนย์ปฐมภูมิ ประมาณ 5,000 คน ดังนั้นจะมีประมาณ 20,000 คนที่ใช้สิทธิในโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้ที่มีสิทธิบัตรทองสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา คลินิกชุมชนอบอุ่น จะรองรับจำนวนผู้มีสิทธิได้ทั้งหมด โดยที่ทาง สปสช. ได้วางแผนเพิ่มเติม ซึ่งในวันที่ 1 ต.ค. สปสช. จะเพิ่มคลินิกอบอุ่นให้มากขึ้น โดยมีการนำคลินิกเวชกรรมบางประเภทมาเป็นคลินิกที่ทาง สปสช. ให้สิทธิครอบคลุมไปถึง รวมทั้งร้านขายยาด้วย ขณะนี้มีร้านขายยาที่อยู่ในการกำกับและพยายามให้กับสิทธิบัตรทองประมาณ 300 แห่ง ทั้งหมดนี้ถ้าทำได้ ทั้งร้านขายยา ทั้งคลินิกอบอุ่น คลินิกเวชกรรมบางประเภท ศูนย์บริการสาธารณสุขหลัก และศูนย์สาธารณสุขสาขาของ กทม. รวม ๆ แล้ว จะมีหน่วยปฐมภูมิประมาณ 700 หน่วย ที่ประชาชนสามารถไปใช้บริการได้ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 3 เดือนนี้ ผู้ที่ถือสิทธิบัตรทองที่ถูกยกเลิกนี้ ถือว่าเป็นสิทธิว่างที่สามารถไปที่โรงพยาบาลใดก็ได้ ศูนย์บริการปฐมภูมิใดก็ได้ที่ให้บริการสิทธิบัตรทอง เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวล ถ้าหากไปใช้บริการที่ไหนแล้วใกล้บ้าน รู้สึกชอบ ขอให้ลงทะเบียนที่นั่น ซึ่ง กทม. ยังรองรับได้อยู่


ขณะนี้ กทม.กำลังใช้ระบบ Telemedicine ระบบ Teleconsult ในศูนย์บริการสาธารณสุข โดยปัจจุบันมี Sandbox อยู่ 2 แห่ง ได้แก่ Sandbox ดุสิต Model และ Sandbox ราชพิพัฒน์ Model ซึ่งจะมีแพทย์ที่เป็นกำลังหลักในโรงพยาบาลให้คำปรึกษาในระบบ Telemedicine ระบบ Teleconsult ด้วย และจะมีการขยายไปที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา และพยายามคลินิกอบอุ่น และร้านขายยาให้ได้ตามที่ สปสช. กำลังขยายอยู่ ซึ่งน่าจะทำให้ประชาชนมีความอุ่นใจและเชื่อมั่นในระบบการให้บริการปฐมภูมิได้

ในส่วน 690,000 คน ที่ต้องหาระบบส่งต่อนั้น แบ่งเป็น โรงพยาบาลในสังกัดกทม. 12 โรงพยาบาล ตอนนี้มีอัตราเดิมที่ให้สิทธิบัตรทอง จำนวน 30% ของเตียงทั้งหมด ซึ่งทาง กทม.จะโควตาที่ให้สิทธิกับบัตรทอง ถ้าสามารถขยายได้ 2 เท่า เป็น 60% จะครอบคลุมประชากรทั้งหมดนี้ แต่ทั้งนี้ก็เข้าใจว่าโรงพยาบาลสังกัดกทม. โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่อยู่กลางใจเมืองและมีความหนาแน่น อัตราการครองเตียงค่อนข้างตึง อาจจะทำให้ขยายได้ไม่ถึง 2 เท่า

“สิ่งที่ทาง สปสช. กับ กทม. ทำร่วมกัน คือ นอกจากขยายจำนวนเตียงในโรงพยาบาลสังกัดกทม. แล้ว ยังร่วมมือกับเครือข่ายโรงพยาบาลอื่น เช่น โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลของเอกชนบางแห่ง โรงพยาบาล UHosNet เป็นต้น ซึ่งจะช่วยขยายเตียงของสิทธิบัตรทอง เมื่อเกิดความร่วมมือกัน นอกจากจะมีเตียงพอที่จะรองรับแล้ว ยังรวมถึงการมีโรงพยาบาลใกล้บ้านมากขึ้น การได้ความร่วมมือของเครือข่ายโรงพยาบาลในทุก ๆ สังกัดมารวมกัน จะช่วยให้สามารถดูแลประชาชนทั้งหมดได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ได้” รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าว


ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเสริมว่า จริงๆ แล้ว ได้ให้นโยบายไปกับรองผู้ว่าฯ ทวิดา ว่า ต้องนำเอาวิกฤติมาเป็นโอกาส ซึ่งจังหวะในการเปลี่ยนถ่ายและต้องรับปฐมภูมิเพิ่มเป็นจังหวะที่ดี ที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับระบบปฐมภูมิของโรงพยาบาลกทม. หรือศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ทำให้มีการทบทวนและเพิ่มศักยภาพของศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งจริงๆ แล้ว การทำศูนย์ปฐมภูมิเป็นหัวใจของกทม. อยู่แล้ว ซึ่งกทม.เป็นเจ้าภาพหลัก และการมีเครือข่ายชุมชน คลิกนิกอบอุ่นที่เข้มแข็งขึ้น การเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาลต่างๆ การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่จะทำให้เราเข้มแข็งขึ้นในระยะยาว เหตุการณ์นี้ทำให้กทม. กับ สปสช. ทำงานอย่างใกล้ชิด เป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งต่อกัน ในระยะยาวจะทำให้กกทม. มีการบริการที่ดีขึ้นและสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนกลับคืนมา.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า