กรมการแพทย์แจงอาการชักแบบหัวเราะ

กรุงเทพฯ 10 ก.ย. – กรมการแพทย์ เผยอาการชักแบบหัวเราะพบได้ตั้งแต่กำเนิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี มีอาการหัวเราะแบบไม่มีเหตุผล เป็นพักๆ เสียงหัวเราะไม่ได้เกิดจากความขบขัน หรือมีความสุข และอาจจะตามด้วยอาการชักแบบอื่นๆได้ เช่น เหม่อไม่รู้ต้ว เกร็งกระตุกทั้งตัว


นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการชักแบบหัวเราะ หรือ Gelastic seizure เป็นอาการชักชนิดหนึ่ง ซึ่งพบไม่บ่อย เกิดได้ตั้งแต่เด็ก มักจะเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดของสมองส่วนไฮโปธาลามัส ลักษณะคล้ายเนื้องอก เรียกว่า hypothalamic harmatoma อุบัติการณ์ของอาการชักแบบหัวเราะที่เกิดจาก Hypothalamic harmatoma ในการศึกษาต่างประเทศ พบประมาณ 1 ต่อ 2 แสนในประชากรอายุน้อยกว่า 20 ปี

อาการชัก มักจะเริ่มในขวบปีแรก แต่บางรายอาจจะเริ่มอาการในช่วงเด็กโตได้ ลักษณะคือ หัวเราะแบบไม่มีเหตุผล เป็นพักๆ เสียงหัวเราะไม่ได้เกิดจากความขบขัน หรือมีความสุข ในเด็กโตบางครั้งอาจจะสามารถบอกว่ามีสัญญาณเตือนก่อนมีอาการหัวเราะได้ เช่น ความรู้สึกแปลกๆ เป็นต้น อาการชักแบบหัวเราะ มักจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 30-45 วินาที และอาจจะตามด้วยอาการชักแบบอื่นๆได้ เช่น เหม่อไม่รู้ต้ว เกร็งกระตุกทั้งตัว เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม อาการชักแบบหัวเราะ ยังอาจจะพบเกิดจากพยาธิสภาพส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากไฮโปธาลามัสได้เช่นกัน ได้แก่ สมองส่วนหน้า ส่วนขมับ เป็นต้น

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา เปิดเผยว่า เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจจะสับสนกับอาการพฤติกรรมผิดปกติ ในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ สมาธิสั้น หรือ ออทิสติกร่วมด้วย ทำให้การวินิจฉัยล่าช้าได้ สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัย คือ การสังเกตอาการของเด็กจากบุคคลใกล้ชิด หรือ การถ่ายวิดีโออาการดังกล่าวเมื่อมาปรึกษาแพทย์ จะช่วยในการวินิจฉัยได้ การตรวจวินิจฉัยที่สำคัญ คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อวินิจฉัยแยกอาการชักหรือไม่ใช่อาการชัก และการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และเน้นบริเวณ hypothalamus เพื่อหาความผิดปกติของเนื้อสมองบริเวณไฮโปธาลามัส หรือตำแหน่งอื่นๆที่อธิบายอาการชักได้ชัดเจน การรักษาอาการชัก เริ่มต้นด้วยการใช้ยากันชักที่รักษาอาการชักชนิดเฉพาะที่

อย่างไรก็ตาม โรคลมชักที่เกิดจาก hypothalamic harmatoma มักจะคุมชักได้ยาก แม้จะใช้ยากันชักหลายชนิด ดังนั้น การรักษาที่เหมาะสมคือการผ่าตัดเอาเนื้อสมองส่วน harmatoma ออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดสมองในส่วนลึกและผ่าตัดยาก ถือเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน แต่สามารถทำให้โรคลมชักหายขาดได้เมื่อผ่าตัดสำเร็จ นอกจากนี้อาจจะมีการใช้รังสีรักษาเฉพาะที่ แต่ไม่ค่อยพิจารณาทำในเด็ก


ในเด็กที่มี hypothalamic harmatoma อาจพบภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย หรือความผิดปกติของฮอร์โมนอื่นๆ ร่วมด้วย เนื่องจากความผิดปกติของสมองส่วน hypothalamus จะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ดังนั้นการรักษาโรคนี้จึงต้องติดตามภาวะฮอร์โมนที่ผิดปกติร่วมด้วยเสมอ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

กระบะชนต้นไม้

สังเวย 7 ศพ กระบะหักหลบรถรับ-ส่งนักเรียน พุ่งชนต้นไม้

รถกระบะเสียหลักจะชนรถตู้รับ-ส่งนักเรียน คนขับตัดสินใจหักหลบ ทำให้รถพุ่งชนต้นไม้ เสียชีวิต 7 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 4 คน

สลด! รถทัวร์พาผู้โดยสารกลับจากเที่ยวเบตง ชนต้นไม้ ดับ 8 ราย

รถทัวร์พาผู้โดยสารกลับจากเที่ยว อ.เบตง จ.ยะลา เสียหลักไถลลงร่องกลางถนนชนต้นไม้บนถนนสาย 41 อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เบื้องต้นเสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บจำนวนมาก

ตักบาตรปีใหม่

ปชช.ร่วมตักบาตรวันปีใหม่ 2568 เพื่อความเป็นสิริมงคล

ประชาชนร่วมกิจกรรมตักบาตร​ รับปีใหม่ 2568 เนืองแน่น​ “สุดาวรรณ” เผยตัวเลขสวดมนต์ข้ามปี กว่า 12 ล้านคน พร้อมเชิญชวนสักการะพระเขี้ยวแก้ว ถึง 14 ก.พ.นี้

ข่าวแนะนำ

ผบก.น.3 เผยมี 26 คนจีนเข้าคอร์สตำรวจอาสา กว่าครึ่งจ่ายเงินจริง

ผบก.น.3 เผยมีคนจีน 26 คน เข้าคอร์สตำรวจอาสา กว่าครึ่งจ่ายเงินจริง กำลังไล่สอบเส้นเงินเข้ากระเป๋าใคร ส่วนตำรวจที่ไปอบรมน่าจะได้เงินค่าจ้างจริง

ดีเอสไอประชุมนัดแรกร่วม ตร.นครบาล 1 คดี “นพ.บุญ”

ดีเอสไอรับคดี “นพ.บุญ” กับพวกเป็นคดีพิเศษ เปิดประชุมนัดแรกร่วมตำรวจนครบาล 1 แย้มรู้พิกัด “หมอบุญ” ที่หลบหนีแต่ยังไม่ขอเปิดเผย

คนร้ายวางระเบิดตำรวจตั้งด่าน เจ็บ 6 นาย

คนร้ายวางระเบิดตำรวจขณะตั้งด่าน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี บาดเจ็บ 6 นาย เด็ก 3 ขวบ เจ็บ 1 ราย เชื่อสร้างสถานการณ์ ก่อนครบรอบ 21 ปี ไฟใต้