แพทย์ชี้ผู้ป่วยอีสุกอีใสระวังโรคแทรกซ้อน

กรุงเทพฯ 29 ส.ค. – กรมการแพทย์เผยโรคอีสุกอีใส มีไข้ ผื่นตุ่มน้ำใสผิวหนัง มักพบลำตัวและใบหน้ามากกว่าบริเวณแขนขา บางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจและระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย พบบ่อยในเด็ก บางครั้งมีภาวะแทรกซ้อน อันตรายถึงชีวิต


นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สาเหตุของโรคอีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าไวรัสวาริเซลลา (varicella virus)  เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด โรคอีสุกอีใสจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวคล้ายไข้หวัดและผื่นตุ่มน้ำใสที่ผิวหนัง ไข้จะสูงหรือน้อยและตุ่มจะมีจำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอายุ เด็กจะมีเพียงไข้ต่ำ ๆ และมีตุ่มจำนวนน้อย ขณะที่เด็กโตและผู้ใหญ่ มักมีไข้สูงและตุ่มจำนวนมาก

สำหรับผื่นในโรคอีสุกอีใส มีลักษณะเฉพาะ คือ ผื่นจะเริ่มจากตุ่มแดงกลายเป็นตุ่มใส และแตกออกเป็นสะเก็ด เมื่อผื่นขึ้นแล้ว 2-3 วัน จะเห็นตุ่มหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ส่วนใหญ่ผื่นจะขึ้นที่ลำตัวและใบหน้ามากกว่าแขนขา เด็กที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสจะมีอาการไม่รุนแรง และพบภาวะแทรกซ้อนทางปอด และทางสมองน้อยกว่าผู้ป่วยเด็กโตอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 13 ปี และผู้ใหญ่ แต่พบการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนังได้บ่อย ทำให้เกิดแผลเป็นที่ผิวหนังและอาจถึงขึ้นทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดตามมา โรคอีสุกอีกใสสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ง่ายมาก เพราะเชื้ออยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานและผู้ป่วยอีสุกอีใสสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังคนอื่นได้หลายวัน ตั้งแต่ 1-2 วัน ก่อนมีไข้และผื่น จนถึงเมื่อตุ่มสุดท้ายตกสะเก็ด หรือประมาณ 7 วัน หลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการ


นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่หายเองได้ อาจจะมีไข้เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อย ๆ หายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีไข้สูงใช้ยา เพื่อลดไข้ได้ ไม่ควรใช้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดอาการทางสมองและตับ ทำให้ถึงตายได้ ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฟอกผิวหนังให้สะอาด ควรตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะเกา เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ ในรายที่คันมาก ๆ อาจให้ยาแก้คันช่วยลดอาการคัน การป้องกันโรคอีสุกอีใสเป็นเรื่องยาก เพราะผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสอีสุกอีใสให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ช่วงออกอาการไข้ไปจนถึงช่วงแผลแห้งตกสะเก็ด ดังนั้น ทางป้องกัน คือ ถ้าบุตรหลานป่วยเป็นอีสุกอีใสต้องงดไปโรงเรียน ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้คนอื่น และการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกสำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

แทงหนุ่มวิศวะ

จับได้แล้ว! เยาวชน 16 ปีมือแทงหนุ่มวิศวะดับชิงเสื้อช็อป

รวบ 3 โจ๋แทงหนุ่มวิศวะปี 4 ดับสลดขโมยเสื้อช็อป พร้อมยึดของกลางที่ใช้ก่อเหตุ มือแทงสารภาพอ้างอารมณ์ชั่ววูบ อยากขอโทษครอบครัวผู้ตาย บอกจะบวชให้หลังออกคุก

สธ.มอบฟันเทียม 45,000 ราย เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

13 เมษายน วันผู้สูงอายุแห่งชาติ สธ.เปิดโครงการ “รอยยิ้มใหม่ผู้สูงวัย 2568” มอบฟันเทียม 45,000 ราย ส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัยรุ่นรุมแทง นศ.วิศวะดับ ปล้นเสื้อช็อป-มือถือ

ตำรวจไล่เช็กวงจรปิดตามล่าแก๊งโจ๋นับสิบ หลังก่อเหตุสลด! รุมแทงนักศึกษาวิศวะเสียชีวิต ขณะขี่จักรยานยนต์กลับบ้าน ก่อนปล้นเอาเสื้อช็อปและมือถือหลบหนี

ค้นที่พักไฮโซเก๊ พบรูปภาพ-ชุดขาวประดับเครื่องหมายจัดเต็ม

ตำรวจกองปราบปรามขยายผลเพิ่ม ออกหมายจับไฮโซเก๊ อายัดตัวจากเรือนจำตรวจค้นที่พัก พบรูปภาพและชุดขาวประดับเครื่องหมายต่างๆ จัดเต็ม

ข่าวแนะนำ

กลับสงกรานต์สายเอเชีย

ทยอยกลับสงกรานต์ สายเอเชียรถเยอะ แต่เคลื่อนตัวได้ดี

วันหยุดสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ช่วงเช้าวันนี้ถนนสายเอเชียขาเข้า ผ่านอยุธยา-ชัยนาท รถเยอะเคลื่อนตัวได้ดี

เจ้าหน้าที่ลำคลอง​งู

“เฉลิม​ชัย” ย้ำดูแลครอบครัวเจ้าหน้าที่ ​อช.​ลำคลอง​งู เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่​

อธิบดี​กรมอุทยานฯ​ ยืนยันให้ความช่วยเหลือครอบครัวเจ้าหน้าที่อุทยาน​แห่งชาติ​ลำคลอง​งูเต็มที่ หลังเสียชีวิตขณะงมหามือถือให้นักท่องเที่ยว ที่ทำตกน้ำในถ้ำเสาหิน