ผู้ป่วยโควิดปกปิดข้อมูลผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน – พ.ร.บ.โรคติดต่อ

อสมท 8 เม.ย.-“วิษณุ” เผยผู้ป่วยโควิดปกปิดไทม์ไลน์ ผิดกฎหมาย ทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ยกตัวอย่าง พวกหนีเมียลงอ่างเลยไม่กล้าบอก ไม่ชัวร์กรณี จนท.รัฐ โดนโทษทางวินัยหรือไม่


นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พูดถึงผู้ติดเชื้อโควิด–19 ไม่ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลไทม์ไลน์ จะมีความผิดข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ หรือไม่ ว่า การปกปิดข้อมูลถือว่าผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ แต่จะต้องได้ความที่ชัดเจนก่อนว่าจงใจหรือไม่ เพราะถ้าเพียงแค่ลืมก็ช่วยไม่ได้ ไม่เป็นความผิด เพราะไม่เจตนา หากเปรียบเทียบกับตนเอง ตนเองก็ลืมได้เหมือนกันว่า ในแต่ละวัน ช่วงเวลานั้นเวลานี้ได้พบเจอกับใครบ้าง หรือแม้ว่าอาจจะพบปะกับผู้คน แต่คงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นใครบ้าง คงไม่รู้จักชื่อ และไม่สามารถให้เจ้าหน้าที่เรียกมาตรวจได้ ดังนั้น ต้องดูที่เจตนาเป็นหลัก

นายวิษณุ บอกว่า หากในไทม์ไลน์ที่เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนโรค ระบุว่า ผู้ป่วยไม่ให้ข้อมูลก็สามารถระบุได้ แต่ถือเป็นการกล่าวหาให้กลัวไว้ก่อน แต่เมื่อถึงเวลาจะเอาถึงขั้นผิดฟ้องร้องกันจริง ก็ต้องมีหลักฐาน เพราะการไม่ให้ข้อมูลจะต้องมีหลักฐาน แม้บางครั้งไม่ให้ข้อมูลก็จริง แต่เป็นเพราะลืม ดังนั้น เจ้าหน้าที่ก็ต้องลงไว้ว่าไม่ให้ข้อมูล แต่ถ้าจะไปฟ้องร้อง โดยระบุว่าไม่ให้ข้อมูลนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่หากจะไปฟ้องต้องเป็นการไม่ให้ข้อมูลหรือปกปิด และต้องให้โจทก์พิสูจน์ให้ได้ ดังนั้น ที่สุดแล้วต้องอยู่ที่เจตนาเป็นหลัก เช่น บางคนไปสถานบันเทิง อาบอบนวด แล้วติดโควิด-19 มาก็บอกไทม์ไลน์ทั้งหมด แต่ไม่กล้าบอกว่าไปที่สถานที่นั้นมา ซึ่งการไม่บอกนั้น เพราะอาจจะกลัวภรรยารู้ ถ้าเป็นอย่างนี้สืบเจตนาได้ง่าย อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ต้องการทำลายคู่แข่งของสถานบันเทิงนั้น ก็สามารถเอ่ยชื่อร้านคู่แข่งนั้นได้อย่างนั้นถือว่าผิด เพราะมีเจตนา


นายวิษณุ กล่าวว่า การไม่อยากให้ข้อมูลไทม์ไลน์ต่อเจ้าหน้าที่นั้น ทำไม่ได้ ซึ่งเขาคงคิดว่าถ้าให้แล้วอาจผิด จึงคิดว่าไม่ให้เสียเลยก็อาจจะไม่ผิด ส่วนกรณีที่มีผู้ป่วยบางราย มีอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ต้องโดนด้วยทั้งนั้น ส่วนที่สื่อถามว่าจะมีความผิดทางวินัยอีกกระทงหนึ่งหรือไม่ เอาไว้เป็นเรื่องในอนาคต เพราะการเอาผิดทางวินัยส่วนใหญ่จะอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่ หากไม่ใช่หน้าที่ก็ไม่ใช่วินัย

สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบข้อมูลกับ กรมควบคุมโรค พบว่าผู้ที่ปกปิดข้อมูล อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.กรณีที่บุคคลให้ข้อมูลไม่สอดคล้องกัน หรือมีการปฏิเสธหรือปกปิดข้อมูลซึ่งควรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท รวมถึงอาจมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ตามมาตรา 137 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


2.กรณีสถานที่ซึ่งใช้จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนการห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคและไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด รวมถึงกรณีบุคคลที่ร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนการห้ามทำกิจกรรมหรือมั่วสุมกันในสถานที่แออัด ซึ่งเป็นมาตรการตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

โดยในปัจจุบัน กทม. ยังอยู่ในบังคับพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ 1/2564 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อป้องกันและควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ส่วนกรณีจงใจปิดบังข้อมูลประวัติการเดินทาง พระราชบัญญัติโรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ.2558 ระบุว่า มาตรา 49 ระบุว่า ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ภรรยาหมอบุญมอบตัว

“ภรรยา-ลูก” หมอบุญ อ้างถูกปลอมลายเซ็น ไม่เคยรู้การกระทำใดๆ

ทนายความภรรยา-ลูก หมอบุญ เผยถูกปลอมลายเซ็นเอกสาร ไม่เคยรับรู้การกระทำใดๆ ของหมอบุญ โดยภรรยาได้หย่าร้างกับหมอบุญ ก่อนปี 66

น้ำผุดเชียงดาว

น้ำใต้ดินผุดท่วมอ่วม “บ้านเรือน-พื้นที่เกษตร” อ.เชียงดาว

มวลน้ำมหาศาลผุดขึ้นจากใต้ดิน เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนประชาชน หลายหมู่บ้าน ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำบางจุด ท่วมบ้านเกือบถึงหลังคา พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 400 ไร่

เลือกตั้ง อบจ.

“แสวง” ลงพื้นที่สังเกตการณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี

“เลขาฯ แสวง” ลงพื้นที่ตรวจรับ-มอบอุปกรณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี พร้อมสังเกตการณ์เลือกตั้งพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) วอนประชาชนออกมาใช้สิทธิ 8.00-17.00 น.