ครม.อนุมัติโครงการเราชนะ ลงทะเบียน 29 ม.ค.-12 ก.พ.64

กรุงเทพฯ 19 ม.ค. – ครม. อนุมัติแล้ว “โครงการเราชนะ” เริ่มลงทะเบียน 29 มกราคม-12 กุมภาพันธ์ 2564 ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com แต่จะไม่จ่ายเป็นเงินสด โดยจะจ่ายผ่าน G-Wallet


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าว ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบ Video Conference ที่ทำเนียบรัฐบาล

ครม. ได้อนุมัติโครงการเราชนะ และโครงการคนละครึ่ง เฟส 2 กระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่


สำหรับเงื่อนไขโครงการเราชนะ รัฐบาลจะแจกเงิน 3,500 บาท จำนวน 2 เดือน โดยจะโอนเงินผ่านเป๋าตัง G-Wallet ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด และต้องใช้เงินในเป๋าตัง G-Wallet ให้หมดภายในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ หากใช้ไม่หมดจะไม่สามารถใช้เงินในเป๋าตัง G-Wallet ได้ หลังวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ มีกลุ่มเป้าหมาย 31.1 ล้านคน กรอบวงเงิน 210,000 ล้านบาท จากงบเงินกู้เพื่อเยียวยา โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ในวันที่ 29 มกราคม-12 กุมภาพันธ์ 2564 สำหรับกลุ่มที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูล

นายสุพัฒนพงษ์ ระบุด้วยว่า สาเหตุที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด 2 เดือน รวม 7,000 บาท เพราะไม่อยากให้มีการสัมผัสตัวเงิน การให้เงินสดไม่สามารถกำกับการหมุนเวียนได้ รวมทั้งอยากให้ประชาชนได้สัมผัสสังคมไร้เงินสด นอกจากนี้การใช้เงินสดไม่สามารถควบคุมได้ เพราะอาจจะนำไปใช้ซื้อสุรา เล่นการพนัน และนำไปใช้จ่ายตามร้านค้าขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ตรงกับนโยบายที่ต้องการให้เงินกระจายอยู่ในกลุ่มคนตัวเล็ก ส่วนตัวเชื่อมั่นว่าน่าจะเป็นระบบที่ดีระบบหนึ่ง สำหรับวิธีการจ่ายเงินจะมีการโอนเงินเข้าเป๋าตัง G-Wallet ทุกวันพฤหัสบดี ผู้ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะโอนเข้าครั้งละ 1,000 บาท รวม 7 ครั้ง และผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อเดือน จะโอนให้สัปดาห์ละ 700 บาท รวม 10 ครั้ง จนครบ 7,000 บาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า สำหรับกลุ่มเป้าหมายของมาตรการเราชนะ ได้แก่ อาชีพอิสระ เกษตรกร หาบเร่ แผงลอย รับจ้าง คล้ายกับมาตรการเราไม่ทิ้งกัน หลักการคือ ช่วยคนตัวเล็กที่ได้รับผลกระทบ เงินที่ได้คล้ายแนวคิดกับคนละครึ่งที่ใช้กับคนตัวเล็กด้วยกัน เมื่อซื้อบริการก็ซื้อจากคนตัวเล็ก แม่ค้าหาบเร่ แผงลอย นิติบุคคลก็ยังสงวนสิทธิไม่ให้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดการหมุนเวียน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด สำหรับผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาโครงการเราชนะ กลุ่มเป้าหมายจะกว้างขวางกว่าโครงการคนละครึ่ง โดยจะเป็นผู้อยู่ในอาชีพอิสระ หาบเร่ แผงลอย รับจ้าง เกษตรกร และผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และต้องเข้าหลักเณฑ์ ดังนี้
1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
2.ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33
3.ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ และไม่เป็นข้าราชการ
4.ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
5.เป็นผู้ที่ไม่ได้เงินบำนาญหรือเบี้ยหวัด
6.ไม่เป็นผู้มีอาชีพอิสระแต่มีรายได้ไม่เกินปีละ 3 แสนบาทต่อปี
7.หากมีเงินฝากเกิน 5 แสนบาทรวมทุกบัญชี จะไม่ได้รับสิทธิ โดยจะมีการตรวจสอบผ่านบัญชีธนาคารทุกแห่ง


กลุ่มที่จะได้รับสิทธิอัตโนมัติโดยไม่ต้องลงทะเบียน
1.ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14 ล้านคน
2.ผู้ที่เปิดใช้งานแอปพลิเคชันเป๋าตัง ประมาณ 15.3 ล้านคน ที่จะถูกคัดกรองอีกครั้ง

ส่วนโครงการคนละครึ่ง เฟส 2 จะมีกลุ่มเป้าหมายที่เหลืออีกประมาณ 1.34 ล้านสิทธิ จะเปิดให้ลงทะเบียนได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของเช้าวันพรุ่งนี้ (20 มกราคม 2564) เป็นต้นไป และจะสามารถใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งได้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคมนี้

เราเจาะลงไปดูเฉพาะกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคน ที่จะได้เงินเยียวยา “เราชนะ” 3,500 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาท โดยกระทรวงการคลังโอนเงินเข้าระบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียน www.เราชนะ.com

ย้ำว่ามาตรการเยียวยาการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบ 2 จากที่กระทรวงการคลัง นำเสนอมาตรการเยียวยาภายใต้ชื่อโครงการ “เราชนะ” เพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวน 31.1 ล้านคน

ในจำนวนนี้มีประมาณ 14 ล้านคน ที่ได้รับสิทธิเงินเยียวยา “เราชนะ” คือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีผู้ถือบัตรเกือบ 14 ล้านคน ได้รับสิทธิโอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยไม่ต้องลงทะเบียน www.เราชนะ.com

ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 5 เดือน (มกราคม-พฤษภาคม 2564) กรอบวงเงินทั้งโครงการ “เราชนะ” กระทรวงการคลัง นำมาใช้จำนวนทั้งสิ้น 210,200 ล้านบาท

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลัง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
(รายได้กว่า 30,000 บาท/ปี ได้รับเงินในบัตรฯ 200 บาท/เดือน) จํานวนไม่เกิน 10,127,587 คน คนละ 3,200 บาท รวมจํานวน 31,408.2784 ล้านบาท

2.กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
(รายได้ระหว่าง 30,000-100,000 บาท/ปี ได้รับเงินในบัตรฯ 300 บาท/เดือน) จํานวนไม่เกิน 3,610,436 คน คนละ 3,300 บาท รวมจํานวน 11,914.4388 ล้านบาท

ส่วนรูปแบบการใช้จ่ายเงิน : ไม่สามารถเบิกเป็นเงินสดได้ สามารถนำไปชำระค่าสินค้าผ่านร้านค้าธงฟ้าเท่านั้น

สำหรับโครงการเราชนะ คุณสมบัติ
1.ผู้มีสัญชาติไทย 18 ปีขึ้นไป
2.ไม่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33
3.ไม่เป็นข้าราชการ
4.ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
5.ไม่รับบำนาญหรือเบี้ยหวัดจากราชการ
6.ไม่มีรายได้เกิน 3 แสนบาท
7.เงินฝากทุกบัญชีไม่เกิน 5 แสนบาท
ใช้แพลตฟอร์มมือถือทั้งหมด เพื่อรับโอนเงินจากรัฐบาล เพื่อลดภาระการต่อคิวเหมือนเมื่อเยียวยาครั้งแรก “เราไม่ทิ้งกัน”

กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไม่ต้องลงทะเบียน ได้สิทธิโดยอัตโนมัติ)
กลุมที่ 2 ประชาชนที่มีฐานข้อมูล แอปฯ เป๋าตัง เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน (ไม่ต้องลงทะเบียน ได้สิทธิโดยอัตโนมัติ)
กลุ่มที่ 3 ประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลภาครัฐ

วิธีการรับเงิน
กลุ่มที่ 1 โอนเงินให้สัปดาห์ละครั้งเริ่มวันที่ 5 ก.พ. จนกว่าจะครบ 7,000 บาท
กลุ่มที่ 2 จ่ายเงินรายสัปดาห์ละ 1,000 บาท 18 ก.พ. โอนเงินครั้งแรก
กลุ่มที่ 3 เปิดให้ลงทะเบียน 8 ก.พ. โอนเงินให้วันพฤหัสบดีทุกสัปดาห์ โอนเงินงวดแรก 18 ก.พ.
ระยะเวลาการใช้เงินได้ถึง 31 พฤษภาคม 2564 หากใช้สิทธิไม่หมดไม่มีสิทธิใช้เงินต่อ

“เราชนะ” หนึ่งในโครงการที่เป็นมาตรการจากรัฐบาล เพื่อเยียวยาประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่หนึ่งในเงื่อนไขของมาตรการนี้ ระบุว่าผู้ที่อยู่ในระบบ “ประกันสังคม” มาตรา 33 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 11 ล้านคน จะไม่ได้รับสิทธิในมาตรการนี้
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มีอะไรบ้าง
1.แรงงานอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 60 ปี ที่มีนายจ้าง
2.อยู่ในระบบบริษัท (พนักงานประจำ)
3.มีการส่งเงินประกันสังคมทุกเดือนในจำนวน 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท

โดยคนมีอยู่ในมาตรา 33 จะมีมาตรการเยียวยา “ประกันสังคม” ดังนี้
1.รับสิทธิการลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่จากร้อยละ 5 ตลอด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม- มีนาคม 2564
2.กรณีว่างงาน
2.1 ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน
2.2 ว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน
2.3 ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ได้รับเงินเยียวยา 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน