แจงคำวินิจฉัยฟ้องชู้ขัด รธน. หลัง 360 วัน ฟ้องชู้เพศเดียวกันได้

18 มิ.ย. – เลขาผู้ตรวจฯ แจงคำวินิจฉัยศาล รธน. ชี้กฎหมายฟ้องชู้ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะปัญหาไม่เท่าเทียมทางเพศ หญิงฟ้องชู้สามีที่เป็นเพศเดียวกันไม่ได้ แต่หลังจากครบ 360 วัน จะสามารถฟ้องชู้เพศเดียวกันได้แล้ว สอดคล้องกับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1523 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่า ตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้” ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง วรรคสองวรรค สาม และกำหนดบังคับให้คำวินิจฉัยมีผลเมื่อพ้น 360 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยนั้น

พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่น กล่าวชี้แจงในฐานะที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้ยื่นคำร้องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นร้อง เพราะเห็นว่าถ้อยคำในบทบัญญัติดังกล่าวมีปัญหาทำให้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก “ชู้” เพศใดก็ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าภริยาจะสมัครใจหรือไม่ และไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าเป็นการแสดงความสัมพันธ์โดยเปิดเผยหรือไม่ ในขณะที่หากเป็นฝ่ายภรรยา จะฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนจากคนที่มาเป็นชู้กับสามีของตนได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น “ผู้ชายที่มาเป็นชู้กับสามีตนภรรยาฟ้องไม่ได้” อีกทั้งถ้าชู้ของสามีเป็นหญิงยังมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นหญิงที่แสดงความสัมพันธ์ในทางชู้สาวโดยเปิดเผย ถ้าคบกันหลบๆ ซ่อนๆ ไม่เปิดเผยจะไปเรียกค่าทดแทนไม่ได้


ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัย โดยเห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 27 ที่กำหนด บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องเพศจะกระทำมิได้ และส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วกระบวนการหลังจากนี้ จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการแก้ไขข้อกฎหมายตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร เมื่อครบ 360 วัน จะส่งผลให้สามารถฟ้องชู้เพศเดียวกันของสามีได้ ตามคำวินิจฉัยของศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มาตรา 49 ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาวันนี้ ได้ระบุยกเลิก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 ทั้งมาตราแล้ว โดยระบุให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง และจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น


“คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไปในทำนองชู้ หรือจากผู้ซึ่งแสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในทำนองชู้ก็ได้”

ซึ่งเป็นการแก้ไขคำจากผู้ซึ่งล่วงเกินสามี/ภรรยา (ชู้) เป็นผู้ซึ่งล่วงเกินคู่สมรส เพื่อให้ครอบคลุมทุกเพศตามหลักการของกฎหมายสมรสเท่าเทียม .-314-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

บกปภ.ช. แถลงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหว

บกปภ.ช. แถลงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหว สั่งพื้นที่เร่งสำรวจและให้ความช่วยเหลือ หากงบประมาณไม่เพียงพอให้ขอขยายวงเงินทันที ด้านอาคารที่ถล่มได้ส่งทีม USAR Thailand สลับกำลังเพิ่มเติม

นายกฯ กล่าวในวันอีฎิ้ลฟิตริ ฮ.ศ.1446 ส่งความปรารถนาดีชาวไทยมุสลิม

นายกรัฐมนตรี กล่าวในวันอีฎิ้ลฟิตริ ฮ.ศ.1446 ส่งความรัก ความปรารถนาดียังชาวไทยมุสลิมทุกคน ชื่นชมศรัทธาที่เข้มแข็ง ความอดทน อดกลั้น ความมุ่งมั่น เสียสละ

เร่งปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากใต้ซากอาคาร สตง.

ปฏิบัติการค้นหาผู้ติดใต้ซากอาคาร สตง. ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผ่านมาเกือบ 54 ชั่วโมงแล้ว ตอนนี้ยังไม่พบผู้รอดชีวิตเพิ่ม ส่วนยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดเพิ่มเป็น 11 รายแล้ว

สตง.ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยผู้ประสบภัยตึกถล่มจากแผ่นดินไหว

สตง. เร่งตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบ จากกรณีอาคารที่ทำการสำนักงานแห่งใหม่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมยืนยันกระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย