fbpx

รอ ครม.เคาะเปิดสภาฯ สมัยวิสามัญ ถกงบฯ  68 

รัฐสภา  24 เม.ย. –“วันนอร์” รอ ครม.เคาะวันเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญ ถกงบฯ 68 ย้ำเดือน มิ.ย.เหมาะสม เผยร่างแก้ รธน.ยังนำเข้าพิจารณาไม่ได้ เหตุต้องรอทำประชามติก่อน


นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ว่า อยู่ที่รัฐบาลว่าจะนำร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เข้าเมื่อไหร่  ถ้ารัฐบาลต้องการนำงบเข้าวาระแรก ในช่วงปิดสมัยประชุม รัฐบาลก็แจ้งมายังรัฐสภาได้ เพื่อที่จะมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญและมองเป็นเรื่องดี เพราะมีอะไรที่ค้างเร่งด่วนก็จะได้ทำช่วงนั้น  ส่วนจะเป็นวันที่ 5-6 มิ.ย.ตามที่มีกระแสข่าวหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นคนกำหนด เพราะช่วงเดือน พ.ค. สส.อาจจะมีภารกิจต่างๆ หากเป็นเดือนมิ.ย. ก็เหมาะสม เพราะเป็นช่วงเวลาก่อนเปิดสมัยประชุม 1 เดือน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่สามารถขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้

เมื่อถามว่าในการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ นอกจากจะมีเรื่องงบประมาณฯแล้ว ยังมีการนำเรื่องอื่นมาพิจารณาด้วยหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีอะไรบ้าง เพราะเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่สามารถนำมาพิจารณาได้ เนื่องจากรัฐบาลจะต้องไปทำประชามติในรอบแรกก่อน ซึ่งเห็นว่าจะเสร็จประมาณเดือนกรกฎาคม แต่มีกฎหมายอีกหลายฉบับ ที่ค้างคาอยู่ ถ้ารัฐบาลอยากเอาเข้าสมัยประชุมวิสามัญ สภาก็พร้อม ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหากใครเสนอมา สภาก็จะรับไว้พิจารณาส่วนจะบรรจุได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายกฎหมายของสภาฯและฝ่ายที่เกี่ยวข้องตรวจสอบดูว่าจะสามารถบรรจุได้หรือไม่ และต้องดูว่าจะขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมทั้งต้องรอให้ทำประชามติด้วย ส่วนที่เป็นกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการเงิน ก็ต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีให้การรับรองก่อน


สำหรับกรณีที่พรรคก้าวไกลเรียกร้องให้ ประธานสภาฯ เร่งบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ประธานสภาฯ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลสามารถเสนอมาได้ แต่จะบรรจุหรือไม่ ต้องดูอีกทีเพราะรัฐบาลก็มีมติว่าจะทำประชาติก่อน

“ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมา ว่าถ้าเสนอเข้ามาแล้วมีการพิจารณาไปแล้ว หากไปมีความขัดแย้งกับศาลรัฐธรรมนูญ จนมีคนไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกตีตก ก็ทำให้เสียเวลาไปมากกว่าที่รัฐบาลได้ตัดสินใจว่าจะทำประชามติ 3 รอบ อย่างน้อยรอบแรก ก็เพื่อถามประชาชนก่อนว่าจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่  ถ้าอยากจะมีการแก้ไข ก็เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นก็ค่อยเสนอร่างเข้ามาแก้ไข ก็จะทำให้ไม่เสียเวลา ซึ่งถือว่าเป็นไปตามขั้นตอนและปลอดภัย” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว.-314.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน