ขอฟังสมาชิกอภิปรายก่อน

รัฐสภา 18 ก.ค.- วิป 3 ฝ่าย ไม่ได้ข้อสรุปโหวตนายกฯ รอบ 2 เสนอชื่อ “พิธา” ซ้ำได้หรือไม่ รอสมาชิกอภิปราย ยันเสนองดใช้ข้อบังคับไม่ได้ ชี้แก้ ม.272 รอให้เลือกนายกฯ เสร็จก่อน


นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวิป 3 ฝ่าย ว่า ได้หารือถึงการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในการเลือกนายกรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) จะเริ่มขึ้นในเวลา 09:30 น. เพื่อให้กระบวนการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 โดยเร็ว เพราะประเทศชาติรอนายกฯคนใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในบ้านเมือง

“ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายได้หารือ เรื่องกระบวนการว่า จะเป็นญัตติของการประชุมรัฐสภาในข้อที่ 41 หรือไม่ โดย ข้อบังคับดังกล่าว กำหนดว่าญัตติที่ตกไปแล้วไม่สามารถนำมาเสนอใหม่ได้ ภายในสมัยประชุมเดียวกัน ยกเว้นสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ประธานรัฐสภาสามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้  แต่ก็มีอีกความเห็นหนึ่งมองว่า การเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ญัตติทั่วไป เพราะข้อบังคับของการเลือกนายกรัฐมนตรีแยกออกมาในหมวด 9 ตั้งแต่มาตรา 136 ถึง มาตรา 139 ก็ไม่ได้บังคับไว้ รัฐธรรมนูญมาตรา 272 ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าไม่ให้เสนอชื่อซ้ำ จึงไม่ควรใช้บังคับข้อที่ 41 เพราะไม่ใช่ญัตติทั่วไป แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน ต้องฟังเสียงสมาชิกรัฐสภาในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) ก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมวิปวันนี้ (18 ก.ค.) จะต้องไปทำความเข้าใจกับสมาชิกของตนเอง เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการประชุม” ประธานรัฐสภา กล่าว


ส่วนวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) จะต้องลงมติเรื่อง กระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี รอบ2 จะสามารถเสนอรายชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าเป็นญัตติหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ประธาน จะชี้ขาดได้เมื่อได้ฟังการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะวินิจฉัยหรือจะให้สมาชิกลงมติก็ต้องดูสถานการณ์พรุ่งนี้ (19 ก.ค.) ว่า จะใช้ข้อบังคับข้อที่ 41หรือไม่ หรือจะใช้ข้อบังคับหมวด 9 ต้องฟังการอธิปรายก่อน และเข้าใจว่าคงไม่ใช้เวลายืดเยื้อในการอภิปราย ซึ่งวางกรอบเวลาเอาไว้คร่าว ๆไม่เกิน 2 ชั่วโมง

เมื่อถามถึง การงดเว้นข้อบังคับจะเป็นหนึ่งในแนวทางสำหรับการเลือกนายกรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้(19 ก.ค.) หรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า จะงดเว้นข้อบังคับได้ก็ต้องมีการเสนอเข้ามา ในที่ประชุมก่อน และที่ประชุมต้องมีมติเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง จึงจะงดเว้นได้ แต่ในที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายวันนี้ (18 ก.ค.) ไม่มีใครพูดถึง เรื่องนี้เพราะถ้ามีการยกเว้นข้อบังคับก็ไม่รู้จะไปใช้ข้อบังคับตรงไหน เพราะการเดินหน้าเลือกนายกรัฐมนตรีมีไม่กี่ประเด็นเท่านั้น และประเด็นสำคัญ คือต้องมีการเลือกนายกให้ได้ จึงคิดว่าคงไม่มีใครเสนอให้ยกเว้นข้อบังคับ

เมื่อถามว่า หากสมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นญัตติ จะสามารถเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯคนอื่นต่อได้เลยหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ข้อบังคับไม่ได้ห้ามเอาไว้


ส่วนการบรรจุวาระ การแก้ไข รัฐธรรมนูญมาตรา 272 จะดำเนินการหลังเลือกนายกรัฐมนตรีลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเลยหรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของเจ้าหน้าที่สภาฯ ยังไม่ได้บรรจุระเบียบวาระ คงต้องรอให้วาระการเลือกนายกฯ เสร็จสิ้นก่อน.-สำนักข่าวไทย      

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง