ชูผลงานรัฐบาล แก้ปัญหาที่ดินทำกิน

กรุงเทพ 11 มี.ค.- โฆษกรัฐบาล ชูผลงานรัฐบาล แก้ปัญหาที่ดินทำกินประชาชนจริงจังต่อเนื่อง ขับเคลื่อนจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเป็นรูปธรรมหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว รวม 271 พื้นที่ 65 จังหวัด

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินหน้าแก้ปัญหาที่ดินทำกินให้กับประชาชนจริงจังต่อเนื่องส่งผลให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย สามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ทำกินของตนเองได้จำนวนมาก ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายรัฐบาลเพื่อทำให้ประชาชนมีความสุข อยู่รอดปลอดภัย พอเพียงและยั่งยืน ล่าสุดมีภาพรวมผลการดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2566 พื้นที่เป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 1,582 พื้นที่ 71 จังหวัด เนื้อที่ประมาณ 5,888,734-3-80.31 ไร่ จำนวนราษฎรที่จะได้รับการจัดที่ดินประมาณ 500,000 ราย ใน 9 ประเภทที่ดิน ดังนี้


(1) ป่าสงวนแห่งชาติ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 688 พื้นที่ เนื้อที่ 4,070,183-0-16.11 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 684 พื้นที่ เนื้อที่ 3,830,570-0-22.74 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 332 พื้นที่ เนื้อที่ 1,900,954-3-31.66 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 124 พื้นที่
(2) ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 1 พื้นที่เนื้อที่ 1,456-0-20 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
(3) ป่าไม้ถาวร มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 2 พื้นที่ เนื้อที่ 114,757-0-00 ไร่ อยู่ระหว่างการเห็นชอบขอบเขต และการขอความเห็นชอบการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน และจัดทำกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเสนอคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน
(4) ป่าชายเลน มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 618 พื้นที่ เนื้อที่ 26,408-0-94.31 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 525 พื้นที่ เนื้อที่ 17,656-1-42.84 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 71 พื้นที่ เนื้อที่ 15,050-3-16.20 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 82 พื้นที่
(5) ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 80 พื้นที่ เนื้อที่ 85,522-0-16 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 57 พื้นที่ เนื้อที่ 48,583-0-61 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 23 พื้นที่ เนื้อที่ 21,545-1-34 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 29 พื้นที่
(6) ที่ดินสาธารณประโยชน์ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 137 พื้นที่ เนื้อที่ 55,426-2-07.66 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 69 พื้นที่ เนื้อที่ 29,506-0-56.6 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 11 พื้นที่ เนื้อที่ 4,716-0-05 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 17 พื้นที่
(7) ที่ดินราชพัสดุ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 11 พื้นที่ เนื้อที่ 6,904-0-2.90 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 7 พื้นที่ เนื้อที่ 6,865-0-78 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 3 พื้นที่ เนื้อที่ 4,716-0-05 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 3 พื้นที่
(8) นิคมสหกรณ์ (13 นิคม 14 ป่าสงวน) มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 15 พื้นที่ เนื้อที่ 1,520,300-3-20 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 3 พื้นที่ เนื้อที่ 369,304-3-02 ไร่ และอยู่ระหว่างการจัดทำกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
(9) ที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมสร้างตนเอง มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 30 พื้นที่ เนื้อที่ 7,777-1-03 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 26 พื้นที่ เนื้อที่ 5,329-3-35.24 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 22 พื้นที่ เนื้อที่ 4,768-1-61 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 16 พื้นที่

ทั้งนี้ ในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวได้ดำเนินการจัดคนเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว จำนวน 78,540 ราย 97,165 แปลง เนื้อที่ 533,813 ไร่ ใน 355 พื้นที่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว จำนวนรวม 271 พื้นที่ 65 จังหวัดภายใต้กรอบการดำเนินงาน 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นฐานข้อมูล Zoning (2) ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน (3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดทำเมนูอาชีพเชิงบูรณาการ (4) ด้านการส่งเสริมการรวมกลุ่ม (5) ด้านการสนับสนุนเข้าถึงแหล่งทุน และ (6) ด้านการส่งเสริมและจัดทำบัญชีครัวเรือน


“นอกจากนั้น รัฐบาลเตรียมเดินหน้าการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิรูประเทศด้านสังคม กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ 5 (Big Rock) การสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรและคนยากจนที่ได้รับการจัดสรรที่ดินจากรัฐ สามารถนำเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือ/เอกสารให้ใช้ที่ดินที่ได้รับจากรัฐไปใช้เป็นหลักประกันการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการประกอบอาชีพ โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้ดำเนินโครงการจัดทำแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แล้วเสร็จ โดยดำเนินการตามแนวทาง 3 ด้าน ประกอบด้วย การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ การกำหนดแนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินที่รัฐจัดให้กับประชาชน และการจัดให้มีระบบหรือสถาบันที่ให้สินเชื่อระยะกลางและระยะยาวและระบบประกันความเสี่ยงในการอำนวยสินเชื่อ และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป” นายอนุชา กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร