ยันไม่มีธงคว่ำรายงานทำประชามติร่าง รธน.ใหม่

รัฐสภา 20 ก.พ.-ส.ว.ยันไม่มีอคติ ไม่มีธงคว่ำญัตติรายงานทำประชามติยกร่าง รธน.ใหม่ พ่วงเลือกตั้ง ระบุถ้ามีธงคงตีตกตั้งแต่วาะระแรก ไม่พิจารณาให้เสียเวลา ชี้การต้องแยกคูหา – ทำ 3 ครั้ง ใช้งบกว่าหมื่นล้าน


นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาญัตติการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรในญัตติขอให้สภามีมติส่งเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้ออกเสียงประชามติให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ พร้อมรายงานของคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาญัตติขอให้สภามีมติส่งเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้ออกเสียงประชามติให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ กล่าวถึงรายงานดังกล่าวที่วุฒิสภาจะพิจารณาวันพรุ่งนี้ (21ก.พ.) ว่า เป็นเรื่องที่ศึกษาอย่างรอบด้านโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งผู้เสนอญัตติมาให้ข้อมูลอย่างรอบด้านและละเอียด ตรงไปตรงมา

“ทำโดยมีหลักวิชาการอ้างอิง ไม่มีอคติ รวมทั้งนำข้อมูลและที่มาของรัฐธรรมนูญมี 2540 ปี 2550 และปี 2560 มาศึกษาชัดเจนว่ากว่าจะมีสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร.เมื่อปี 2540 ต้องใช้เวลาศึกษาถึง 2 ปี และ ส.ส.ร.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่มาจากการเลือกกันเอง ดังนั้น หากจะมีร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในรายงานไม่ได้ขัดข้อง แต่ที่เสนอมา บอกทำประชามติให้ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดย ส.ส.ร. แต่ไม่มีกรอบที่มาของ ส.ส.ร. จึงยังอ่อนและไม่ชัดเจน ซึ่งหากจะทำจริงต้องทำความเข้าใจ และอธิบายให้ประชาชนเข้าใจก่อนลงประชามติว่า จะมี ส.ส.ร. และกรอบการดำเนินการอย่างไร” นายสมชาย กล่าว


นายสมชาย กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขได้โดยรัฐสภา แต่หากยกร่างใหม่ เท่ากับเป็นการยกเลิกมาตราที่บัญญัติไว้ว่าประเทศไทยเป็นรัฐเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ และหากจะแก้โดยถามประชามติ ต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ประหยัดงบประมาณ อย่างที่หลายคนพูดไว้ เพราะ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.บ.ประชามติไม่ตรงกัน แม้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกับวันทำประชามติ ต้องแยกหน่วยเลือกตั้งให้ชัดเจน เป็น 2 เต็นท์ เจ้าหน้าที่ต้องใช้ 2 ชุดแยกกัน จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 95,000 หน่วย ก็ต้องเพิ่มเท่าตัว ถ้าในการเลือกตั้งใช้งบ 4,500 ล้านบาท ต้องเสียงบทำประชามติ 3,500 ล้านบาท และต้องทำ 3 ครั้ง ใช้งบประมาณ 11,000-12,000 ล้านบาท โดยจะต้องถามครั้งแรกว่า จะให้ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ ครั้งที่2 ต้องแก้มาตรา 256 รูปแบบ ส.ส.ร. จะเป็นอย่างไร และเมื่อยกร่างเสร็จแล้ว ก็ต้องถามประชาชนอีกครั้งว่าเห็นชอบหรือไม่

“รายงานของกรรมาธิการ ไม่ได้ปิดประตู ไม่ได้ห้ามให้ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และถือเป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยการพิจารณาวันพรุ่งนี้ (21 ก.พ.) อยู่ที่ ส.ว. แต่ละคนจะตัดสินใจ ซึ่งเมื่อสอบถาม ส.ว. เบื้องต้นพบมีความเห็น 2 แนวทาง ส่วนหนึ่งอยากให้ส่งให้ ครม.พิจารณา แต่บางส่วนไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม หาก ส.ว.มีมติส่งให้ ครม. ก็ขึ้นอยู่ที่ ครม.ว่าจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไร จะทำหรือไม่ก็ได้เพราะเป็นเพียงรายงานของคณะกรรมาธิการ” นายสมชาย กล่าว

ส่วนที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ผู้เสนอญัตติมองว่า ส.ว. ตั้งธงล่วงหน้านั้น นายสมชาย ยืนยันไม่ได้ตั้งธงตีตก เพราะถ้ามีธงจริงก็ตีตกตั้งแต่วาระแรกแล้ว ไม่เสียเวลามาพิจารณา แต่ตั้งใจว่าต้องการให้บันทึกทั้งงานวิชาการ และกฎหมาย ต้องอ่านให้ดี ไม่มีอคติ.-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

อดีตครูจำใจสร้างห้องขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา

สลด! อดีตครูวัย 64 ปี จำใจจ้างช่างทำห้องคล้ายกรงขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา-พนันออนไลน์ หลังส่งตัวบำบัดกว่า 10 ครั้ง แต่ออกมาก็เหมือนเดิม

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2 โชคดีบาดเจ็บเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ส่งรักษาตัวที่ รพ.เจ้าพระยา

อาม่าแจ้งความ “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธีสูญ 60 ล้าน

อาม่าวัย 77 ปี โร่แจ้งความเอาผิด “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธี-แนะซื้อวัตถุมงคลแล้วไม่ได้รับของ สูญเงินกว่า 60 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” ปรากฏตัวแล้ว บอกไม่สบายใจมี ตร.เฝ้าหน้าบ้าน

ปรากฏตัวแล้ว “ทนายตั้ม” พบตำรวจเหตุมีเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าที่บ้าน พร้อมแจงปมเงิน 39 ล้านบาท ค่าศิลปินจีน ที่แท้เป็นมิจฉาชีพหลอก “เจ๊อ้อย” ปฏิเสธพบคู่กรณี บอกยังไม่พร้อมคุย

เกาะกูด

“ภูมิธรรม” ย้ำจะรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของไทยไว้เท่าชีวิต

“ภูมิธรรม” มอง MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด ก่อนย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เคยยกเลิกในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ย้ำรัฐบาลจะรักษาดินแดน-ผลประโยชน์ทางทะเลของไทยไว้เท่าชีวิต

US election

ทรัมป์-แฮร์ริส หาเสียงวันสุดท้าย ก่อนหย่อนบัตรวันนี้

ขณะนี้เหลือไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 5 พฤศจิกายน ผลสำรวจความเห็นประชาชนต่างชี้ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ และนางคอมมาลา แฮร์ริส