สภาเชิญชวนส่งเรื่องสั้น-บทกวีประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า

รัฐสภา 9 ก.พ.- สภาเชิญชวนส่งเรื่องสั้น-บทกวีเข้าประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า เน้นการมีส่วนร่วมส่งเสริมประชาธิปไตย


น.ส.โสมอุษา บูรณะเหตุ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะรองประธานกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2566 พร้อมด้วย รศ.ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และนางชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2557 ในฐานะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2566 นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่ปรึกษาและกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ร่วมเชิญชวนประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2566
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2566 ได้จัดประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งในเรื่องสิทธิ หน้าที่ ความเสมอภาค และความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นพื้นฐานสำคัญของความเป็นประชาธิปไตย ผ่านวรรณกรรม ไทยที่ทรงคุณค่าให้พัฒนาไปพร้อมกับสำนึกความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 22 แล้ว โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท คือ เรื่องสั้นและบทกวี

จึงขอเชิญชวนนักเขียนและประชาชนที่สนใจ ส่งผลงานเข้าประกวด ได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 9 เม.ย. 66 โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โทรศัพท์ 0 2242 5900 ต่อ 5492 – 4 และติดตามข่าวสารการจัดประกวด และการตัดสินได้ที่ เฟซบุ๊ก “รางวัลพานแว่นฟ้า”


สำหรับผู้ที่ชนะการประกวดรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ของทั้ง 2 ประเภท จะได้รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้าของประธานรัฐสภา และเกียรติบัตร รางวัลชนะเลิศ ได้เงินรางวัล จำนวน 60,000 บาท และรองชนะเลิศ ประเภทละ 2 รางวัล ได้เงินรางวัล ๆ ละ จำนวน 40,000 บาท ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชย ซึ่งมีประเภทละ 10 รางวัล จะได้รับเกียรติบัตรของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล ๆ ละ 20,000 บาท โดยผลงานที่ผ่านการพิจารณารอบกลั่นกรอง ทั้งประเภทเรื่องสั้นและบทกวีที่ไม่ได้รับรางวัลทุกผลงานจะได้รับเกียรติบัตรของประธานรัฐสภาด้วย

รศ.ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง กล่าวว่าวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น ต้นฉบับผลงานต้องเป็นภาษาไทย พิมพ์ลงในกระดาษ เอ 4 จำนวนไม่เกิน 8 หน้า พิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวพิมพ์ (16 พอยท์) ในกรณีที่ผู้ส่งผลงานเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ หรือทัณฑสถาน อนุโลมให้เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงได้ (ไม่เกิน 10 หน้า) สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและการตัดสินนั้น ผลงานจะต้องมีเนื้อหาส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย มีชื่อเรื่องของผลงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีกลวิธีนำเสนอที่น่าสนใจ มีอรรถรสชวนอ่าน และมีคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์ มีสำนวนและภาษาถูกต้องเหมาะสม และมีองค์รวมของความเป็นวรรณกรรม ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องตรวจสอบต้นฉบับให้สมบูรณ์ หากส่งผลงานเข้าประกวดแล้วจะไม่สามารถขอแก้ไขหรือยกเลิกผลงานเดิมเพื่อส่งผลงานใหม่ได้ แม้ยังไม่หมดเวลารับผลงานก็ตาม.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง