ถก ญัตติด่วน เสนอจัดทำประชามติ แก้ รธน.ทั้งฉบับ

รัฐสภา 15 ก.ย.- สภาฯ ถกญัตติด่วน ให้สภาฯ ส่งเรื่องให้ ครม.จัดทำประชามติแก้ รธน.ทั้งฉบับ พร้อมวันเลือกตั้ง ส.ส.เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยเต็มใบ สุดท้ายวุ่น องค์ประชุมไม่ครบ 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม โดยนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่องขอให้สภาฯพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ตามที่สภาฯ มีมติในการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องเสนอญัตติด่วน เพราะการสอบถามประชามติไปยังประชาชนเป็นผลประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน และที่ต้องเป็นเรื่องด่วนเพราะขณะนี้สถานการณ์การเมืองจะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ไม่ทราบได้  และการจัดทำประชามติ ตาม พ.ร.บ.ประชามติ  มาตรา 9 (4) ยังมีอีกหลายขั้นตอน เมื่อผ่านสภาฯ แล้วต้องไปผ่านวุฒิสภา และต้องเสนอ ครม.   หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อให้ประชาชนทำประชามติพร้อมกับวันลือกตั้ง จึงเป็นญัติด่วนที่ต้องพิจารณาก่อนปิดสมัยประชุม

ทำให้นายอรรถยากร   ศิริลัทธยากร  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ   ในฐานะเลขาวิปรัฐบาล  ลุกขึ้นค้าน โดยขอให้นำวาระรับทราบที่อยู่ในวาระแล้วขึ้นมาพิจารณาก่อน จำนวน 3-4 เรื่อง และให้ใช้เวลาแต่ละเรื่องไม่นาน เพราะมีหน่วยงานรอชี้แจงมาพร้อมแล้  จากนั้นให้นำญัตติด่วนวาจาดังกล่าวเข้ามาพิจารณา


แต่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปฝ่ายค้าน   ยืนยันให้พิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจาก่อน เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน  จากนั้นจึงพิจารณาวาระรับทราบรายงานจนจบได้   และญัตติด่วนด้วยวาจานี้ พรรคเพื่อไทยก็จะเสนอประกบด้วย  เพราะเป็นเรื่องที่เข้าใกล้กระบวนการเลือกตั้ง  และมีความจำเป็นจะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ ไม่ว่าสภาฯจะมีมติไปทิศทางใดก็ตาม   และการพิจารณาคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เพราะขั้นตอนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประชามติ

ในที่สุดนายสุชาติ  จึงวินิจฉัยว่า ญัตติด่วนด้วยวาจาดังกล่าวได้เข้าสู่วาระแล้ว จึงขอให้ที่ประชุมดำเนินการไปตามที่มีผู้เสนอญัตติด่วนก่อน

จากนั้นนายณัฐพงษ์ ผู้เสนอญัตติ แถลงสาระสำคัญของญัตติว่า พ.ร.บ.ประชามติ จะต้องมีการระบุอย่างชัดเจนเรื่องคำถามและคำตอบ รวมถึงสาระสำคัญประกอบการจัดทำประชามติ เพื่อให้ประชาชนสามารถออกเสียงประชามติได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนมากที่สุด  เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจาร์อย่างกว้างขวาง  และเป็นต้นตอของความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจาการรัฐประหาร  มีกระบวนการรับรองโดยอาศัยการทำประชามติที่ไม่เสรี   และไม่เป็นธรรมตามมาตรฐานสากล มีเนื้อหาบางส่วนที่มีความถดถอยทางประชาธิปไตย    จึงมีการเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ  โดยผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ  หรือ ส.ส.ร.  และจะต้องสอบถามประชาชนผ่านการทำประชามติก่อน   จึงทำให้ที่ผ่านมาไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญได้  ตนจึงต้องเสนอญัตติด่วนในวันนี้  เพื่อขอทำประชามติสอบถามประชาชนว่าจะเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรนูญใหม่ผ่านกลไกของ ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ 


 “คำถามในการจัดทำประชามติ  คือ ท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่าประเทศไทยควรจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญปี 60 โดยส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  ส่วนคำตอบมี 3 ข้อ คือเห็นชอบ ไม่เห็นชอบและไม่แสดงความเห็น ทั้งนี้เชื่อว่าการจัดทำประชามติ จะเป็นทางออกจากวิกฤตการเมืองในปัจจุบันที่สังคมมองว่ามีต้นตอมาจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน   การจัดทำประชามติดังกล่าว จะเป็นจุดเริ่มต้นในการรื้อฟื้นข้อเสนอในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่รัฐสภาเคยมีมติเห็นชอบไปแล้วในวาระที่หนึ่ง เป็นการสอบถามอย่างตรงไปตรงมาจากประชาชน  ว่าจะต้องมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่  และหากเป็นไปได้ภายใต้สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน  เราต้องเรีบเร่งดำเนินการจัดทำประชามติพร้อมกับวันเลือกตั้ง และเป็นการประหยัดภาษีประชาชนในการจัดทำด้วย ”นายณัฐพงษ์ กล่าว

นายจุลพันธ์  ผู้เสนอญัตติของพรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นที่ถกเถียงถึงที่มา กระบวนการ และการลงประชามติ วันนี้เราต้องการหยุดความสับสน จึงต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่   และเรากำลังจะเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้งในเวลาไม่นาน เพียงแค่เวลาไม่เกิน 6 เดือน  ไม่ว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะเกิดอะไรขึ้น  กระบวนการเลือกตั้งต้องเกิดแน่นอน  เพราะครบวาระสภาฯ 4 ปี เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และใช้โอกาสไปในคราวเดียวกัน  เราจึงเสนอให้มีการทำประชามติไปพร้อมกับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเดินหน้าสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยตัวแทนของประชาชน เพื่อที่จะมีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยเต็มใบ

จากนั้นเป็นการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของสมาชิก ซึ่งที่ประชุมแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันให้มีการจัดทำประชามติ  เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เพราะเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 60 เป็นอุปสรรคในการดำเนินการต่างๆ   และให้ทำวันเดียวกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น เพื่อประหยัดงบประมาณและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน จึงเห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว

ทั้งนี้ที่ ประชุมลงมติเห็นชอบกับญัตติทั้ง 2 ฉบับ แต่ที่ประชุมต้องรอสมาชิกเข้ามาลงคะแนนเป็นเวลานาน  โดยมีการอ้างว่าการประชุมวันพฤหัสบดี ส่วนใหญ่จะไม่มีการลงมติ  เพราะเป็นวาระรับทราบรายงาน   สมาชิกจึงออกไปข้างนอก

โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม   แจ้งว่าขณะนี้รอสมาชิกมาเป็นเวลา 31 นาทีแล้ว  ยังเหลือองค์ประชุมอีก 5 คน   จึงรอจนเวลา 40 นาที องค์ประชุมจึงครบคือ 242 เสียง จากนั้นสมาชิกลงมติ  โดยมีผู้ลงมติ 230 เสียง ซึ่งถือว่าผู้ลงมติไม่ครบองค์ประชุม แมว่าคะแนนลงมติ จะมีผู้เห็นด้วย 215 ไม่เป็นด้วย 6 ไม่ลงคะแนน 6   นายศุภชัย จึงแจ้งว่า ถือว่าเสียงข้างมากเห็นด้วยกับทั้ง 2 ญัตติ  แต่นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ตนเจ็บปวดที่องค์ประชุมไม่ครบต้องยอมรับ คือ กระบวนการไม่ครบ  จะทำให้ความชอบสิ่งที่ลงมติเป็นปัญหาให้วุฒิสภาอ้างได้ว่า องค์ประชุมมีปัญหา  เมื่อไปถึง ครม.จะมีปัญหาอีก ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ   เมื่อลงมติไม่ครบก็ปิดประชุม และญัตติไม่ตก ยกไปครั้งหน้าได้   เมื่อเปิดประชุมเดือนพฤศจิกายน ก็ว่ากันใหม่ หากเดินหน้าต่อตัวญัตติจะมีปัญหาที่หลัง

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้ถกเถียงในประเด็นที่ว่าญัตติผ่าน แต่องค์ประชุมไม่ครบ อาจทำให้ผู้ที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญหยิบยกมาโจมตีได้    ทั้งนายจุลพันธ์ และนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย เห็นตรงกันว่า   หากสรุปว่าญัตติผ่านแล้ว แต่องค์ประชุมไม่ครบ จะทำให้สูญเปล่า และมีปัญหาข้อกฎหมายที่ค้างคา   นำไปสู่การร้องศาลรัฐธรรมนูญ   พร้อมกับพยายามเสนอให้ว่า เมื่อองค์ไม่ครบ ควรปิดประชุมและเลื่อนการลงมติในครั้งถัดไป เพราะตัวญัตติยังมีความชอบ ไม่อยากให้ผ่านไปแล้ว มีปัญหาทีหลัง ในที่สุดนายศุภชัย   ชี้แจงว่าการลงมติดังกล่าว ถือว่าเห็นด้วยกับการลงมติ ส่วนกรณีครบองค์ประชุมนั้น  ถือว่าไม่ครบต้องเป็นเรื่องที่ว่ากันไปตามระบบ ข้อกฎหมายและข้อบังคับ และสั่งปิดการประชุมในเวลา 15.55 น..-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ