“จรัญ” ชี้กระบวนการพิจารณาหลังส่งคำร้องปมนายกฯ 8 ปี ถึงศาล รธน.ต้องใช้เวลา

สำนักข่าวไทย 21 ส.ค. – อดีตตุลาการศาล รธน. ชี้กระบวนการพิจารณาหลังส่งคำร้องปมนายกฯ 8 ปี ถึงศาล รธน. ต้องใช้เวลา ระบุการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ระหว่างรอวินิจฉัย จะต้องเป็นเหตุผลที่หนักแน่นจริงๆ


นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับสำนักข่าวไทย ถึงกระบวนการหลังประธานสภาฯ ส่งคำร้องตีความวาระนายกฯ 8 ปี ให้ศาลรัฐธรรมนูญ ในวันพรุ่งนี้ (22 ส.ค.) ว่า เจ้าหน้าที่จะรับเรื่องไว้ตรวจสอบความเรียบร้อยเบื้องต้น โดยใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ก่อนทำเรื่องเสนอให้ศาลพิจารณาสั่งรับคำร้องขอ ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาข้ามวัน เพราะศาลอาจจะมอบหมายให้องค์คณะ 1 คน หรือ 2 คน หรือ 3 คนทำ สมมติว่า ศาลสั่งรับคำร้องขอแล้ว โดยหลักก็จะต้องดูว่า ไปกระทบผลได้ผลเสียของใครบ้างหรือไม่ หากกระทบก็ควรให้คนเหล่านั้นได้มีโอกาสคัดค้านโต้แย้งตามหลักการ ฟังความให้ครบทุกฝ่าย ไม่ฟังความด้านเดียว อย่างเรื่องนี้ก็มีคนที่ถูกกระทบสิทธิจากผลของคำร้องนี้ ก็ควรจะให้มีการส่งสำเนาและให้โอกาสการโต้แย้งคัดค้านจากผู้ที่เดือดร้อนก่อน ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 7 วัน ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องดังกล่าวเร่งด่วนแค่ไหน เมื่อได้คำคัดค้านจากผู้ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว ศาลก็อาจจะฟังความเห็นของคนที่เกี่ยวพันกับหลักกฎหมายข้อนี้ เป็นไปได้ที่ศาลอาจจะขอฟังความเห็นจาก กกต. หรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรืออาจจะขอบันทึกเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้จากเลขาธิการรัฐสภา รวมทั้งเอกสารบันทึกการประชุมที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ ซึ่งถ้าศาลขอเช่นนั้น ก็อาจจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะคนที่จะทำความเห็นส่งมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ก็ต้องให้เวลาเขา

นายจรัญ กล่าวต่อว่า จากนั้นจะดูว่า ต้องไต่สวนพยานบุคคลหรือพยานเอกสารหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวเห็นเหมือนกับความเห็นส่วนใหญ่ว่า ไม่น่าจะจำเป็นต้องไต่สวนพยานบุคคล เพราะถ้าไต่สวนพยานบุคคลก็จะยาว ทั้งนี้ หลังจากที่ได้ความเห็นและได้เอกสารมาแล้ว ศาลจะประชุมหารือโต้เถียงออกความคิดเห็นกันอย่างน้อยที่สุด 1-2 ครั้ง ตนคิดว่า 2 ครั้ง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาห่างกันอย่างน้อยครั้งละ 1 สัปดาห์ และหลังจากความคิดเห็นตกผลึก ก็จะนัดประชุมเพื่อลงมติ ก็จะต้องเลือกเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นข้อยุติผูกพันทุกองค์กร เข้าใจว่าต้องเร็ว แต่ก็ต้องแม่น จึงต้องใช้เวลาตัดสินใจให้ดี


ทั้งนี้ เมื่อออกคำวินิจฉัยก็จะรู้ผลในวันนั้นเลย ข่าวก็จะออกได้เลย แต่คำวินิจฉัยเป็นทางการก็จะส่งไปที่ประธานรัฐสภาในภายหลัง ดังนั้น ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร ผู้ร้องจึงได้ขอว่า เมื่อรับคำร้องแล้วขอให้สั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวหยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อน ซึ่งกฎหมายก็เปิดช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งอย่างนั้นได้ แต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติกันว่า ศาลไม่สั่งง่ายๆ เรื่องแบบนี้ และต้องมีเหตุผลอันหนักแน่นจริงๆ ถึงจะสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน โดยเฉพาะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ระดับล่าง แต่ก็มีความเห็นอีกด้านหนึ่งว่า หากให้ปฏิบัติหน้าที่ไปแล้วเกิดไม่มีผลทางกฎหมาย ประเทศจะเดือดร้อนเสียหายหรือไม่ เรื่องนี้จึงยาก และตนก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะไปให้ความเห็นอะไรที่เกี่ยวข้องได้. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” คดี “แบงค์ เลสเตอร์”

ผบช.ภ.2 เผยคดี “แบงค์ เลสเตอร์” แจ้งข้อหา “เอ็ม” กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มอบตัวรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา คุมฝากขังค้านประกันตัว

หยุดยาววันแรก การจราจรขาออก กทม. มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่น

เริ่มหยุดยาววันแรก การจราจรบนท้องถนนขาออกกรุงเทพฯ มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่นตั้งแต่เมื่อคืน เช้านี้ ถนนมิตรภาพ ช่วง ต.กลางดง อ.ปากช่อง ชะลอเคลื่อนตัวไปได้เรื่อยๆ ส่วนถนนพหลโยธิน ขาเข้าหนองแค รถเริ่มแน่น

วันแรก ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน

สถิติวันแรก 10 วันอันตราย ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน​ “เพิ่มพูน” เน้นทุกฝ่ายช่วยกันดูแลความปลอดภัย อำนวยความสะดวก เข้มเรื่องกฎหมาย