ครม.เห็นชอบ พ.ร.ก. ใหม่ 3.5 แสนล้านบาท อุ้มธุรกิจกระทบโควิด-19

 

กรุงเทพฯ 23 มี.ค. – ครม.ไฟเขียว พ.ร.ก. ใหม่ 3.5 แสนล้านบาท อุ้มธุรกิจกระทบโควิด-19 ทั้งปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ และตั้งโกดังพักหนี้

นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เริ่มต้นในปี 2563 ยังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยตลอดช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐได้เร่งออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ผ่านมาตรการเสริมสภาพคล่องและลดต้นทุนทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถประคับประคองธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการตราพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan) ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 19 เมษายน 2564


ทั้งนี้ สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังคงมีความรุนแรง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และยืดเยื้อยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ภาคธุรกิจมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจในการเข้าถึงสภาพคล่องและแหล่งทุน ปัจจัยดังกล่าวประกอบกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทำให้ความรุนแรงของผลกระทบและความสามารถในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาคส่วนต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป โดยผู้ประกอบธุรกิจในบางอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงและคาดว่าอาจต้องใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว เช่น กรณีผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งผลสำรวจของผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization : UNWTO) เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 พบว่า ร้อยละ 42 ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะกลับมาสู่ระดับเดียวกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562 อย่างเร็วที่สุดในปี 2567 เป็นต้น ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือผ่านมาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มนี้ได้อย่างตรงจุดและเพียงพอ เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มดังกล่าวยังไม่สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพแต่ยังคงมีภาระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนสถานะเป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans : NPLs) เลิกกิจการถาวร ขายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือถูกยึดทรัพย์สินดังกล่าวและขายทอดตลาดในราคาต่ำกว่าสภาพความเป็นจริง (Fire Sale)

ภาครัฐจึงมีความจำเป็นความจำเป็นเร่งด่วนต้องออกมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มเติมที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอเพื่อให้ภาครัฐสามารถปรับปรุงเงื่อนไขการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจใด้อย่างทันการณ์ เหมาะสม และเพียงพอกับสภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่การระบาดของโควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอนสูงได้ ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ ซึ่งการดำเนินดังกล่าวจะเป็นการป้องกันมิให้ปัญหาการขาดสภาพคล่องและปัญหาผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจลุกลาม ผ่านกลไกการจ้างงานและห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อันจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งยากต่อการแก้ไขในภายหลัง และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมีความจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อให้หน่วยงานที่ข้องสามารถดำเนินมาตรการได้และให้การดำเนินมาตรการบรรลุวัตถุประสงค์ คณะรัฐมนตรีในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 จึงได้เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อนดำเนินการตามกระบวนการตรากฎหมายต่อไป โดยมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจสามารถสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้


การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบไปด้วย 2 มาตรการ ได้แก่

  1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท

มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูกำหนดกลไกการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่มีพื้นฐานดีแต่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ให้เข้าถึงสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสมผ่านกลไกการลดความเสี่ยงด้านเครดิตของภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มดังกล่าวสามารถประคับประคองธุรกิจและรักษาการจ้างงาน รวมทั้งปรับปรุงธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท สามารถขอสินเชื่อได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 หรือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท และสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งแห่งใด ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยสถาบันการเงินจะคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรกของสัญญา และเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรกที่สถาบันการเงินได้รับแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูกำหนดให้มีกลไกค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจ ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี ภาระชดเชยค้ำประกันสูงสุดร้อยละ 40 ของวงเงินสินเชื่อภายใต้โครงการ ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3.5 ต่อปี ตลอดสัญญาได้


นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยจะลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดจำนองหลักทรัพย์ค้ำประกันจากการดำเนินการตามมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เหลือร้อยละ 0.01 เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ

2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิซื้อทรัพย์สินนั้นคืนในภายหลัง (มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 100,000 ล้านบาท

มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้กำหนดกลไกในการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพ แต่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการฟื้นตัว โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับภาระต้นทุนทางการเงินเป็นการชั่วคราวและไม่ถูกบังคับให้ขายทรัพย์สินหลักประกันในราคาต่ำกว่าสภาพความเป็นจริง (Fire Sale) ให้แก่กลุ่มทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีโอกาสกลับมาดำเนินธุรกิจโดยใช้ทรัพย์สินหลักประกันเดิมได้หลังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง โดยให้สถาบันการเงินรับโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินหลักประกันที่โอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจที่มีเงินกู้ที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน และมีข้อตกลงให้สิทธิซื้อทรัพย์สินหลักประกันนั้นกลับคืนในภายหลังตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนด ซึ่งรวมถึงราคาที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินหลักประกันซื้อทรัพย์สินนั้นคืนจากสถาบันการเงิน โดย ธปท. จะสนับสนุนแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำให้สถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถขายทรัพย์สินคืนให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินรายเดิมในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป นอกจากนี้ สถาบันการเงินสามารถให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินเช่าทรัพย์สินนั้นเพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงระยะเวลามาตรการได้อีกด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะยกเว้นภาระภาษีอากรที่เกิดขึ้นจากการตีโอนทรัพย์ตามมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้สำหรับสถาบันการเงินผู้ให้กู้ และผู้ประกอบธุรกิจผู้กู้หรือเจ้าของทรัพย์สินหลักประกัน นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยจะลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนจากผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินหลักประกันให้สถาบันการเงิน และจะลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินหลักประกันในกรณีที่ซื้อทรัพย์สินนั้นคืนจากสถาบันการเงินเพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ

โดยทั้ง 2 มาตรการมีระยะเวลาการดำเนินการ 2 ปี โดยคณะรัฐมนตรีสามารถขยายระยะเวลามาตรการออกไปได้อีก 1 ปี ในกรณีที่มีความจำเป็นและมีวงเงินเหลืออยู่ และคณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติให้เกลี่ยวงเงินระหว่างมาตรการได้

กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่าการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวันนี้ จะสามารถยกระดับการช่วยเหลือฟื้นฟูให้ครอบคลุมผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 ทุกกลุ่มได้อย่างตรงจุดและเพียงพอ รวมถึงมีความยืดหยุ่นทำให้ภาครัฐสามารถปรับปรุงเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยกฎหมาย จะเป็นกลไกหลักของภาครัฐในการรักษาการจ้างงาน ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ สามารถป้องกันปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจในระบบสถาบันการเงินได้ นอกจากนี้ ยังถือเป็นแนวทางสำคัญในการบรรเทาความเดือดร้อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่ไปกับรักษาเสถียรภาพระบบการเงินและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“บิ๊กเต่า” นำค้นวัดไร่ขิง 3 จุด เผยอดีตเจ้าคุณแย้มสารภาพไม่หมด

นครปฐม 16 พ.ค.-“บิ๊กเต่า” นำกำลังตำรวจกองปราบบุกค้นวัดไร่ขิง 3 จุด หาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอี่ยวคดียักยอกเงินวัด 300 ล้าน พร้อมนำหมายค้นบ้านประชาชน 1 จุด ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่วัด เผยอดีตเจ้าคุณแย้มสารภาพไม่หมด เวลา 07.00 น. พลตำรวจตรีจรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ป.ป.ช. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. ตรวจค้นภายในวัดไร่ขิงพระอารามหลวง มีทั้งหมด 3 จุด และบริเวณโดยรอบอีก 1 จุด ซึ่งจุดแรกในวัดไร่ขิงคือกุฏิของพระธรรมวชิรานุวัตร หรือเจ้าคุณแย้ม อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงและเจ้าคณะภาค 14 โดยมีผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงเป็นผู้ที่นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นภายในกุฎิ พร้อมสังเกตการณ์ ทันทีที่เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการถึงบริเวณหน้ากุฎิเจ้าอาวาส ได้ให้ตำรวจอ่านหมายค้น เพื่อเข้าตรวจสอบและยึดสิ่งของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการกระทำความผิด ทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ประกอบหลักฐานการสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องในการพิจารณาความผิด ขณะที่พลตำรวจตรีจรูญเกียรติ ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากการอ่านหมายค้น ว่า วันนี้เป็นการตรวจค้นเกี่ยวกับเส้นเงินที่ไหลไปตามบัญชีต่างๆ มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ต้องมีการเรียกสอบรายบุคคลพร้อมกับการตรวจค้น โดยหลักๆ ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเส้นเงินที่เกี่ยวข้องกับเว็บพนันออนไลน์ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ […]

2 ผู้ต้องหามอบตัว คดีเผานั่งยาง 3 ศพ ในสวนปาล์ม

ตรัง 16 พ.ค. – หัวหน้าแก๊ง พร้อมลูกน้องอีก 1 คน ก่อเหตุเผานั่งยาง 3 ศพในสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง ติดต่อขอมอบตัว หวั่นถูกวิสามัญ หลังเจ้าหน้าที่ระดมกำลังไล่ล่า เช้านี้ ตำรวจ สภ.โคกนา เจ้าของพื้นที่คดีเผานั่งยาง 3 ศพ ในสวนปาล์มน้ำมัน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ได้รับการประสานจากอดีตสมาชิกสภาจังหวัด ในพื้นที่อำเภอสิเกาว่า จะนำตัว 2 ผู้ต้องหาเข้ามอบตัว คือ นายศุภกรณ์ หรือบิน อายุ 37 ปี ชาวตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นหัวหน้าแก๊ง และนายจรณชัย หรือแต้ม อายุ 32 ปี ชาวหมู่ 7 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เนื่องจากผู้ต้องหาทั้งสองคน กังวลเรื่องความปลอดภัย หากหลบหนีต่อไป เกรงถูกวิสามัญฆาตกรรม หลังเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน ระดมปิดล้อมบ้านเขาหลัก […]

ลงนามถอดถอน “เจ้าคุณแย้ม” จากทุกตำแหน่ง

15 พ.ค.- เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ลงนามถอดถอน “เจ้าคุณแย้ม” จากหน้าที่ทุกตำแหน่ง เหตุถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวข้องกับคดีอาญา สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ลงนามในหนังสือ คำสั่งถอดถอนพระสังมาธิการ พระธรรมวชิรานุวัตร พักจากตำแหน่งหน้าที่ทุกตำแหน่ง ทั้งเจ้าคณะภาค 14 และ เจ้าอาวาสวัดไร่ชิงพระอารามหลวง หลังจากทราบเรื่องว่าถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวข้องกับคดีอาญา จึงได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 56 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2553) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังมาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคุณะสูงณ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเดิมโดยพระราชบัญญัติคณะสงน์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ให้เหตุผลว่า ถ้าจะให้คงอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ในระหว่างการสอบสวนจะเป็นการเสียหายแก่การคณะสงฆ์ .-สำนักข่าวไทย

เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงยอมสึก คำให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี

15 พ.ค.- เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงยอมลาสิกขาด้วยตัวเอง หลังถูกเค้นสอบนานกว่า 8 ชม. เบื้องต้นยอมให้การแล้ว คำให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี ช่วงหนึ่งของการสอบปากคำ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้อุ้มพระพุทธรูป ปางสมาธิองค์สีดำ ถือเข้าไปไปยังห้องสอบสวนที่สอบปากคำพระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม เจ้าคณะภาค 14 สังเกตพบว่ามีการนำพระพุทธรูปวางไว้บนโต๊ะบริเวณด้านหน้าของ พระธรรมวชิรานุวัตร โดยมีรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่า พระธรรมวชิรานุวัตร ยอมทำพิธีลาสิกขาบทด้วยตัวเอง แต่ยังไม่เริ่มพิธีเนื่องจากรอชุดเสื้อผ้าเปลี่ยนหลังทำพิธีลาสิกขาบทแล้วเสร็จ ส่วนการสอบปากคำ เบื้องต้นทางพระธรรมวชิรานุวัตร ยอมให้การกับพนักงานสอบสวนแล้ว และให้การไปในทิศทางที่ดี ซึ่งปรากฏว่าทางพระธรรมวชิรานุวัตร ได้โอนเงินไปให้กับผู้ต้องหาที่ 2 เป็นจำนวนเงินหลักร้อยล้านบาท ในช่วงปี 2564 ซึ่งข้อมูลนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการสอบปากคำหาข้อเท็จจริง ว่ามีการทำธุรกรรมด้วยสาเหตุใด แต่พบบางส่วนเข้าไปพัวพันกับเว็บการพนัน .-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ศาลไม่ให้ประกันผู้ต้องหาคดีตึก สตง.ถล่ม ส่งคุมขังเรือนจำ

16 พ.ค.- ศาลไม่ให้ประกัน “เปรมชัย” และผู้ต้องหาคดีตึก สตง.ถล่ม คุมตัวทั้งหมดเข้าเรือนจำ ชี้คดีมีความเสียหายใหญ่หลวง น่าสะพรึงกลัว กระทบสังคม ญาติและทนายความของผู้ต้องหาทั้งหมดได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฝากขัง ศาลได้ไต่สวนพนักงานสอบสวน ผู้ร้อง และผู้ต้องหา แล้วมีคำสั่งเมื่อเวลา 20.00 น. ว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาเกี่ยวข้องกับคดีนี้จนเกิดความเสียหายใหญ่หลวงน่าสะพรึงกลัว กระทบต่อสังคมอย่างยิ่ง ทั้งพนักงานสอบสวนและผู้เสียหายคัดค้านการปล่อยชั่วคราว เกรงจะหลบหนียากแก่การติดตามตัว ทั้งคดีต้องสอบสวนพยานอีก 15 ปาก กรณีมีเหตุผลอันสมควรจะรอผลการสอบสวนให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วค่อยพิจารณามีคำสั่งโดยละเอียดรอบคอบต่อไป ในชั้นนี้จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา ยกคำร้อง ต่อมาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งหมดไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพต่อไป.-สำนักข่าวไทย

จับครบทีม 4 คนร้ายฆ่าเผานั่งยาง 3 ศพ-ฆ่าฝังดิน 1 ศพ

ตรัง 16 พ.ค. – ปิดคดีฆ่าเผานั่งยาง 3 ศพ และฆ่าฝังดิน 1 ศพ ในสวนปาล์ม จ.ตรัง ตำรวจจับครบแล้ว 4 คน โดย 2 คนสุดท้ายเพิ่งนำตัวลงมาจากเขา คนร้ายที่ก่อเหตุเผานั่งยาง 3 ศพ และฆ่าฝังดิน 1 ศพ ในสวนปาล์มน้ำมัน ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง ทนแรงกดดันจากเจ้าหน้าที่ไม่ไหว ล่าสุดยอมให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว เพราะกลัวจะถูกวิสามัญ โดย 2 คนแรกคือ นายศุภกรณ์ หรือ บิน หัวหน้าแก๊ง กับนายจรณชัย หรือ แต้ม ตำรวจควบคุมตัวได้ช่วงเช้ามืดวันนี้ ส่วนอีก 2 คนคือ นายปิยศักดิ์ หรือ แจ็ค และนายรพีพันธ์ หรือ เทือก ตำรวจเข้าควบคุมตัวได้ช่วงเย็นที่ผ่านมา ขณะที่หนีไปกบดานอยู่ในป่าบ้านถ้ำน้ำผุด อ.เมืองตรัง ซึ่งคือบ้านเกิดของนายแจ็ค […]

เปิดสัมพันธ์ลับ “ทิดแย้ม-สีกา”

16 พ.ค. – เปิดความสัมพันธ์ลับระหว่าง “ทิดแย้ม-สีกา” เริ่มตั้งแต่สีกายังเรียนหนังสือในโรงเรียนวัดไร่ขิง อดีตเจ้าอาวาสให้ความเมตตา จึงเอ่ยปากยืมเงิน 40 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนตั้งแต่ปี 2564 ความสัมพันธ์ระหว่างนายแย้ม อินทร์กรุงเก่า หรืออดีตพระธรรมวชิรานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง และเจ้าคณะภาค 14 หรือ ทิดแย้ม กับสีกา คือ น.ส.อรัญญาวรรณ ซึ่งได้ข้อมูลจากการสอบปากคำทั้ง 2 คน ตลอดคืน รวมถึงหลักฐานสำคัญในโทรศัพม์มือถือของทั้ง 2 คน ทำให้พบว่าความสัมพันธ์นี้ถึงขั้นลึกซึ้ง น.ส.อรัญญาวรรณ รับสารภาพว่ารู้จักกับทิดแย้มมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดไร่ขิง โดยอดีตเจ้าอาวาสขณะนั้นให้ความเมตตา จึงลองเอ่ยปากขอยืมเงิน 40 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนตั้งแต่ปี 2564 สอดคล้องกับที่ทิดแย้มให้การว่าได้โอนเงินไปให้กับ น.ส.อรัญญาวรรณ เป็นจำนวนเงินหลักร้อยล้านบาท ช่วงปี 2564 นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังพบหลักฐานสำคัญคือ คลิปการสนทนาระหว่างทิดแย้ม และ น.ส.อรัญญาวรรณ ที่มีการพูดคุยถึงเรื่องการทวงเงินเพราะครบดีล ถึง 4 ครั้ง ครั้งละ 5 […]

เตรียมฝากขัง “อดีตเจ้าคุณแย้ม” พรุ่งนี้ ค้านประกันตัว

นครปฐม 16 พ.ค. – ตำรวจเตรียมคุมตัว “อดีตเจ้าคุณแย้ม” ขออำนาจศาลฝากขัง พรุ่งนี้ (17 พ.ค.) พร้อมคัดค้านการประกันตัว หลังถูกกล่าวหายักยอกเงินวัดไปเล่นพนันออนไลน์ ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่เวลา 06.30 น. นำโดย พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. นำหมายศาลเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 4 จุด ประกอบด้วย ในวัดไร่ขิง 3 จุด และนอกวัดไร่ขิง 1 จุด เพื่อขยายผลค้นหาพยานหลักฐานในคดีที่พระธรรมวชิรานุวัตร หรืออดีตเจ้าคุณแย้ม อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง และเจ้าคณะภาค 14 ถูกกล่าวหาว่าทุจริตยักยอกเงินวัดไร่ขิง กว่า 300 ล้านบาท ไปเล่นการพนันออนไลน์ พื้นที่เป้าหมายสำคัญจุดแรกคือ กุฏิของอดีตเจ้าคุณแย้ม โดยเจ้าหน้าที่ได้อ่านหมายค้น มีผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง เป็นผู้รับหมายและนำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้น เบื้องต้นมีการยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ รวมถึงเอกสารรายรับ-รายจ่าย 10 ลัง เกือบ […]