fbpx

เตรียมตรวจ “พลายเอกชัย” เข้าลักษณะ 7 ประการช้างสำคัญหรือไม่

กรุงเทพฯ 22 ส.ค.- ปลัดกระทรวง ทส. เผยกรมอุทยานฯ เป็นคณะทำงานร่วมตรวจรูปพรรณ “พลายเอกชัย” ว่าเข้าลักษณะเป็นช้างสำคัญหรือไม่ โดยคณะทำงานจะเดินทางไปยัง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ซึ่งเป็นที่ที่เจ้าของนำช้างมาอาศัยอยู่ เพื่อตรวจลักษณะ 7 ประการ


นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเชิญให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่งผู้แทนร่วมเป็นคณะทำงานตรวจสอบลักษณะช้างสำคัญเบื้องต้น ตามที่นายธนบดี พรหมสุข ประธานกรรมการศูนย์อนุรักษ์ช้าง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ในนามของบริษัท ช้างทองคำ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นเจ้าของ “พลายเอกชัย” ชื่อเดิม “พลายบุญยง” แจ้งนายอำเภอวาปีปทุม เพื่อให้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบว่า พลายเอกชัยเป็นช้างสำคัญหรือไม่ โดยกรมการปกครองทำหนังสือแจ้งเจ้าของพลายเอกชัยแล้วว่า คณะทำงานตรวจสอบลักษณะช้างสำคัญเบื้องต้นจะเดินทางไปยังบ้านเลขที่ 50 บ้านประสบสุข หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่นำช้างมาอาศัยอยู่ ในวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 น. จึงขอให้เจ้าของจัดเตรียมช้าง พร้อมควาญช้างผู้ดูแล เอกสารที่เกี่ยวข้องกับช้าง และเอกสารกรรมสิทธิ์ สำหรับให้คณะทำงานฯ ตรวจสอบ

เมื่อวานนี้ (21 ส.ค.) นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานตรวจสอบลักษณะช้างสำคัญเบื้องต้น ออกหนังสือด่วนที่สุดถึงนายธนบดี พรหมสุข อ้างถึงหนังสือสำนักงานบริษัท ช้างทองคำ (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2561 ที่นายธนบดีแจ้งนายอำเภอวาปีปทุม เพื่อให้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบช้างพลายบุญยงว่า เป็นช้างสำคัญตามขั้นตอนและระเบียบของทางราชการ ในการนี้ กรมการปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การตรวจสอบช้างดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบของทางราชการ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบลักษณะช้างสำคัญเบื้องต้น โดยคณะทำงานฯ จะเข้าไปตรวจสอบในวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคมนี้


สำหรับคณะทำงานตรวจสอบลักษณะช้างสำคัญเบื้องต้นมี 13 คน ซึ่งอธิบดีกรมการปกครองเป็นประธาน มีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นายอำเภอแก่งคอย เป็นคณะทำงาน นอกจากนี้ยังมีนายสมโรจน์ คูกิตติเกษม และนางพัชรพร คูกิตติเกษม ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของ “พลายศักดิ์สุรินทร์” ร่วมเป็นคณะทำงาน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญคชศาสตร์ ตลอดจนมีนายสัตวแพทย์ สิทธิเดช มหาสาวังกุล ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวแพทย์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ผู้ดูแล “พลายศักดิ์สุรินทร์” ในระหว่างขนย้ายกลับประเทศไทย รวมถึงสัตวแพทย์หญิง กิตติยาภรณ์ เอี่ยมสะอาด สัตวแพทย์ของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นคณะทำงานด้วย

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย แถลงว่า ช้าง “พลายเอกชัย” ยังไม่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ชำนาญคชลักษณ์ โดยระบุว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกรณีศูนย์อนุรักษ์ช้างในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีช้างเชือกหนึ่งชื่อ “พลายบุญยง” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “พลายเอกชัย” โดยผู้ครอบครองช้างได้สังเกตเห็นลักษณะพิเศษแตกต่างจากช้างเชือกอื่น ๆ คือ มีคุณลักษณะเป็นช้างสำคัญ หรือช้างเผือก ตามตำราคชลักษณ์ และได้แจ้งไปยังนายอำเภอวาปีปทุม ในฐานะนายทะเบียนท้องที่ที่ช้างอยู่ ซึ่งนายอำเภอวาปีปทุมได้เข้าทำการตรวจสอบพบว่า มีเอกสารแสดงรูปพรรณช้าง และสุขภาพช้างเบื้องต้นมีสุขภาพดี กินอาหารและน้ำได้ตามปกติ ไม่พบลักษณะภายนอกที่ผิดปกติ และได้รายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เพื่อรายงานมายังกระทรวงมหาดไทย

ทั้งนี้ ช้างเชือกดังกล่าวยังไม่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ชำนาญคชลักษณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้ครอบครองช้างต้องไม่ให้ข่าวที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของสาธารณชน รวมทั้งต้องไม่เคลื่อนย้ายช้างออกนอกพื้นที่จังหวัดที่จะเป็นการทรมานช้าง อันอาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายช้างสำคัญ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องของการพิสูจน์ลักษณะช้าง รวมถึงการเคลื่อนย้ายช้าง เพื่อไม่เป็นการทรมานช้าง


สำหรับคำว่า “ช้างสำคัญ” ตามพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464 หมายถึง ช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว และอัณฑโคตร์ขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ ซึ่งผู้ใดที่มีช้างสำคัญ หรือช้างสีปลาด หรือช้างเนียม ต้องนำขึ้นถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และช้างดังกล่าวจะเป็นสมบัติของแผ่นดิน โดยมีขั้นตอนการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย 7 ขั้นตอน คือ 1) เจ้าของช้างต้องทำหนังสือไปยังนายอำเภอ ว่าสงสัยว่าช้างของตนเองอาจเป็นช้างสำคัญ (ช้างที่เลี้ยงไว้หรือเป็นช้างป่า) ซึ่งมีลักษณะเป็นมงคลตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย 2) นายอำเภอรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อมีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย 3) กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือแจ้งสำนักพระราชวัง เพื่อขอผู้ชำนาญคชลักษณ์ไปตรวจรูปพรรณช้าง และรายงานเลขาธิการพระราชวัง 4) การตรวจคชลักษณ์เป็นหน้าที่ของผู้ชำนาญคชลักษณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเท่านั้น 5) เลขาธิการพระราชวังกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยและแจ้งมายังกระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการต่อไป 6) สำนักพระราชวังและกระทรวงมหาดไทย พิจารณาร่วมกันในการกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวาย และพระราชพิธีขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญ และ 7) เมื่อกระทำพระราชพิธีขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญแล้ว จึงจะนำช้างเข้ายืนโรงในโรงช้างต้น

หากประชาชนพบเห็นช้างที่มีลักษณะมงคลขั้นต้น 7 ประการ ที่อาจเข้าข่ายเป็นช้างสำคัญหรือช้างเผือก คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว และอัณฑโคตร์ขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ สามารถแจ้งไปยังนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ เข้าทำการตรวจสอบเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายลักษณะช้างต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้